ไขรหัสนมแม่ สารอาหารเพื่อพัฒนาสมอง

นมแม่คือสุดยอดสารอาหารสำหรับทารก องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟแนะนำให้แม่ให้นมบุตรเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญกว่า 200 ชนิดต่อการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกัน อนุมูลอิสระที่จำเป็นสำหรับทารก และพัฒนาการทางสมองซึ่งส่งผลต่อความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ โดยเฉพาะสำหรับเด็กในช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 3 ขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาถึง 80%

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารในนมแม่ พระเอกของการพัฒนาสมอง     

รศ.นพ.สรายุทธ สุภาพรรณชาติ หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า “นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นทั้งต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางด้านสมองของลูก เช่น ดีเอชเอ (DHA) และ เออาร์เอ (ARA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายทารกจำเป็นต้องได้รับจากอาหารโดยตรง เพราะในช่วงวัยทารก ร่างกายสร้างสารอาหารเหล่านี้ได้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ การได้รับดีเอชเอและเออาร์เอในปริมาณที่เหมาะสมจะเพิ่มการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างแสนล้านเซลล์สมองของลูก และยังช่วยพัฒนาจอประสาทตาและการมองเห็นของลูกอีกด้วย[1]

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เมื่อกรดไขมันทุกชนิดรวมทั้งดีเอชเอ และเออาร์เอเหล่านี้ถูกผลิตออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ เรียกว่า MFGM (Milk Fat Globule Membrane) ซึ่งนับเป็นสารอาหารสมอง ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด[2] ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท และยังช่วยในกระบวนการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งเซลล์สมองมีการเชื่อมต่อมากขึ้นและเร็วขึ้นเท่าไร การพัฒนาสมองของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ การค้นพบล่าสุดของสารอาหารสมองอย่าง MFGM ในนมแม่ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสนใจและให้ความสำคัญ เพราะสมองของเด็กพัฒนาสูงสุดในช่วง 3 ขวบปีแรก เพราะถ้าลูกได้สารอาหารสำคัญครบถ้วนในการพัฒนาสมองในช่วงที่สำคัญอย่างมากนี้ สมองของลูกจะเติบโตและทำงานได้เต็มที่ทั้งระบบ”

อีกหนึ่งการค้นพบสารอาหารสมองในน้ำนมแม่

ล่าสุด ศาสตราจารย์ เจฟฟรีย์ เคลกฮอร์น ผู้อำนวยการสถาบัน Institute of Health & Biomedical Innovation for Child Health Research Centre of Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย เปิดเผยว่า เทคโนโลยีล่าสุด ทำให้เราสามารถเติมนวัตกรรมสารอาหาร MFGM ในผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กได้ โดยจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า เมื่อองค์ประกอบหลักใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA จะช่วยเสริมการเชื่อมต่อเซลล์สมองเพิ่มขึ้น[3] ให้สมองทำงานเต็มที่ทั้งระบบ โดยงานวิจัยชี้ว่าทารกที่ดื่มนมที่เสริม MFGM จะพัฒนาทางด้านสติปัญญา และสมองใกล้เคียงกับเด็กที่ดื่มนมแม่ ดีกว่าทารกที่ดื่มนมสูตรปกติที่เพิ่มดีเอชเอเพียงอย่างเดียวถึง 4 จุด*[4] ทั้งนี้หลากหลายผู้เชี่ยวชาญระดับโลกให้การยอมรับและตื่นตัวกับการเติม MFGM ในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกและเด็ก

รศ.ดร.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร ภาควิชาสูตินรีศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังให้ความเห็นว่า นมผสมที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง MFGM ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะมีงานวิจัยที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีว่าช่วยส่งเสริมเรื่องของสติปัญญา โดยกล่าวว่า “ปกติหลังคลอด ทีมแพทย์และพยาบาลจะให้ความรู้เกี่ยวกับการให้นมแม่และช่วยส่งเสริมคุณแม่ให้สามารถให้นมลูกได้สำเร็จ เพราะเป็นที่ทราบกันดี ว่า นมแม่ดีที่สุด แต่ปัญหาของคุณแม่หลังคลอดบางท่านพบว่า คุณแม่อาจมีน้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้ จากสาเหตุต่างๆ หรืออาจมีข้อห้ามในการให้นมแม่ เช่น การติดเชื้อบางชนิด หรือการใช้ยาบางอย่าง เป็นต้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้นมผสมเพิ่มเติม ดังนั้นการเลือกให้ลูกได้รับนมผสมที่มีส่วนผสมของ MFGM ก็เป็นทางเลือกทางหนึ่งของคุณแม่ ที่จะช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเหมาะสมและอาจช่วยสร้างเสริมในเรื่องพัฒนาการตามวัยของเด็กได้”

สารอาหารสำคัญ การเลี้ยงดูก็สำคัญเช่นกัน

ด้าน รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในน้ำนมแม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และสมองก็ประกอบด้วยไขมันถึง 60 % ดังนั้นเยื้อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบในนมแม่อย่าง MFGM จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองของลูก นอกจากนี้ งานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่าเด็กที่ได้รับนมที่เสริม MFGM และ DHA จะมีการพัฒนาความฉลาดได้อย่างเต็มระบบนอกเหนือจากด้านสติปัญญา นั่นคือ ความฉลาดทางอารมณ์ซึ่งแสดงออกมาทางด้านพฤติกรรมอีกด้วย เช่นมี สมาธิจอจ่อมากขึ้น ไม่ก้าวร้าว และมีอารมณ์ดี ไม่ห่วงกังวลกับการเข้าสังคม[5] บทบาทของโภชนาการช่วยส่งผลให้การเชื่อมต่อเซลล์สมองมีประสิทธิภาพ เมื่อสมองทำงานได้ดี เด็กมีสมาธิจดจำ ประมวลข้อมูลต่างๆได้ดี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสู่การพัฒนาที่ดีในแง่ทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กในอนาคต เราต้องยอมรับว่า ในสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เด็กที่ทั้งคิดเก่ง และคิดดี มีความก้าวล้ำทั้งความคิดและอารมณ์จะปรับตัวตามสภาพแวดล้อมได้ดี โดยมีคุณพ่อคุณแม่สนับสนุนอย่างเหมาะสมทั้งด้านโภชนาการและการเลี้ยงดู รวมทั้งการปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิต และก้าวไปได้ไกลกว่าในโลกอนาคต”

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิงข้อมูล

[1] Drover J, Hoffman D, Castaneda Y, Morale S, Birch E. Three Randomized Controlled Trials of Early Long-Chain Polyunsaturated Fatty Acid Supplementation on Means-End Problem Solving in 9-Month-Olds. Child Development. 2009; 80( 5);  1376–1384. Birch E, Carlson S, Hoffman D, et al. The DIAMOND (DHA Intake and Measurement of Neural Development) Study: a double-masked, randomized controlled trial of the maturation of infant visual acuity as a function of the dietary level of docosahexanoic acid. Am J Clin Nutr. 2010;91:848-859.

[2]Liao, Y. et al. J. Proteome Res., 2011, 10 (8), pp 3530–3541.

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

*Based on cognitive scores in infants (Timby N et al. 2014) and behavior regulation in children (Veereman-Wauters G et al. 2012)

[3] จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ (in vitro) ที่ 21 วัน โดยใช้องค์ประกอบที่มีใน MFGM (NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition).

[4] Timby N, Domellof E, Hernell O, Lonnerdal B, Magnus Domellof M. Neurodevelopment, nutrition, and growth until 12 mo of age in infants fed a low-energy, low-protein formula supplemented with bovine milk fat globule membranes: a randomized controlled trial. Am J Clin Nutr. 2014;99:860-868, Bayley Scales of Infant and Toddler Development (3rd Edition)

[5] Veereman-Wauters  G, Staelens S, Rombaut R, Dewettinck K, Deboutte D, Brummer R, Boone M, Ruyet P. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team