ทะเบียนสมรส กอดไว้ให้เเน่น VS รู้อย่างนี้คงไม่จด

ทะเบียนสมรส กอดไว้ให้เเน่น VS รู้อย่างนี้คงไม่จด เพราะทะเบียนสมรสสำคัญกับหลายๆ อย่าง ทั้งการการันตี สิทธิที่ควรจะได้ เเละรวมไปถึงการปกป้องทั้งสองฝ่ายด้วย

ทะเบียนสมรส กอดไว้ให้เเน่น VS รู้อย่างนี้คงไม่จด ทะเบียนสมรส กอดไว้ให้เเน่น VS รู้อย่างนี้คงไม่จด เเม้ทะเบียนสมรส กฎหมายการนอกใจ ถือได้ว่าเป็นการการันตีการแต่งงานที่ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ เเต่ทั้งสาวๆ เเละหนุ่มๆ อย่าลืมนะคะ ว่าการจดทะเบียนสมรสไม่ได้เป็นการการันตีว่า ความรักเเละครอบครัวที่คุณร่วมกันสร้างขึ้นมา จะคงอยู่ไปตลอดการถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร กฎหมายการนอกใจ

  • ทำให้เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมาย
  • ทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  • ทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
  • ทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือไม่ใช้ก็ได้
  • ทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ในกรณีที่อยากถือสัญชาติไทย)
  • ทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส) นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนหากมีทรัพย์สินใดงอกขึ้นมา จะกลายเป็นสินสมรสทั้งหมด
  • ทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อนถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต
  • ทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการหรือนายจ้าง เช่น กรณี ที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
  • ทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้
  • ทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายจากชู้ได้ด้วย
  • ทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือสามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้
  • บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายทั้ง 2 ฝ่าย เเละบุตรจะได้ประโยชน์ อย่างสามารถใช้นามสกุลของพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้
  • เป็นหลักประกันได้ว่า ถ้าได้มีการจดทะเบียนสมรสเเล้ว อีกฝ่ายไปจดทะเบียนสมรสกับคนอื่นอีกไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืน กฎหมายจะถือว่าเป็น โมฆะ อีกฝ่ายสามารถยื่นฟ้องหย่าได้ นอกจากนี้คู่สมรสฝ่ายที่ไปจดทะเบียนซ้อน ยังมีความผิดฐานเเจ้งความเท็จด้วย

เเม้จะมีข้อดีของทะเบียนสมรส เเต่มันก็ทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกันได้ เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

รู้เเบบนี้คงไม่จด ทะเบียนสมรสเเบบไหนเป็นโมฆะ

ถูกกลฉ้อฉล หมายถึง ถูกอีกฝ่ายใช้อุบายหลอกลวงให้ทำการสมรส เช่น หลอกว่าตนเป็นคนมีฐานะดี แต่แท้จริงแล้วเป็นคนยากจน แต่การใช้กลฉ้อฉลนี้จะต้องถึงขนาด คือถ้ามิได้มีการหลอกลวงแล้ว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ทำการสมรสด้วย

ถูกข่มขู่ หมายถึง การกระทำที่ในลักษณะบังคับ ให้เกิดความกลัวภัยจนทำให้อีกฝ่ายยอมทำการสมรสด้วย เช่น ขู่ว่าจะทำร้ายถ้าไม่ยอมไป จดทะเบียนด้วย เป็นต้น การข่มขู่นั้นจะต้องถึงขนาดด้วย กล่าวคือ ถ้าไม่มีการข่มขู่แล้วจะไม่มีการสมรส

ทำไปโดยสำคัญผิดตัว กรณีนี้หมายความว่าตั้งใจจะสมรส กับคนคนหนึ่งแต่ไปทำการสมรสกับคนอีกคนหนึ่ง โดยเข้าใจผิด เช่น กรณีฝาแฝด

โดยตามกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ศาลเท่านั้นที่จะเพิกถอนการสมรสได้

รู้ก่อนจดทะเบียนสมรสม เรื่องทรัพย์สินต่างๆ

1.สินส่วนตัว คือเเม้จะหย่ากัน เเต่ไม่ต้องเเบ่งให้อีกฝ่ายค่ะ

  • ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน เงินทอง
  • ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นจะถือเป็นสินส่วนตัวของผู้หญิง
  • ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือได้มาโดยเสน่หา
  • ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือประกอบอาชีพ ดังนั้นหลังจากที่เเต่งงานไปเเล้ว จึงเเนะนำให้คุณผู้หญิงเก็บเงินออมในรูปแบบของเครื่องประดับเเทนนะคะ

2.สินสมรส คือต้องเเบ่งให้เท่ากันเมื่อหย่าร้าง

  • ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส
  • ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรมโดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
  • ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิหรือดอกผลของสินส่วนตัว

ต้องรู้เรื่องหนี้สิน กับทะเบียนสมรส

  • ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัว  เพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส  ให้ชำระหนี้นั้น ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน  เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
  • ถ้าสามีเเละภริยา  เป็นลูกหนี้ร่วมกันให้ชำระหนี้นั้น จากสินสมรส และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
  • หนี้ที่สามีภริยา เป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่ สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้
    • หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว  การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาล  บุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร  ตามสมควรแก่อัตภาพ
    • หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
    • หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
    • หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้น  เพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว  แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน (รับรอง)

อีกฝ่ายทำเเบบนี้ ฟ้องหย่าได้เลย

  • แยกกันอยู่เป็นระยะเวลา 3 ปี
  • คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทอดทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งนานกว่าหนึ่งปี
  • สามีมีหรือภริยาอุปการะเลี้งยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี
  • สามีเป็นชู้หรือภริยามีชู้
  • คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กระทำความผิด (ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่)
  • คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกจำคุกเป็นเวลาเกินหนึ่งปี
  • คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอีกฝ่ายหนึ่ง
  • ไม่เลี้ยงดู อุปการะ คู่สมรส ตามสมควร
  • คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีความวิกลจริตที่ไม่อาจรักษาได้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี
  • คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความประพฤติที่ไม่ดี
  • คู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นโรคติดต่อที่ไม่สามารถรักษาได้
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณีได้ฉันท์สามีภรรยา

ที่มา centerwedding, Lawfirm และ Gotoknow