ความเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้ชายกลายเป็นพ่อคน
จากการศึกษาของ Oregon State University ผู้ชายที่กลายเป็นพ่อคนในช่วงวัย 20 ตอนปลายจนถึง 30 ตอนนต้น มีแนวโน้มก่ออาชญากรรมน้อยลง หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ชายที่กลายเป็นพ่อคนในช่วงวัยรุ่น หรือวัย 20 ตอนต้น
ศาสตราจารย์ David Kerr เจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า “การมีบุตรในวัยอันสมควรจะทำให้ผู้ชายยอมรับในความเป็นพ่อและสามารถลด ละ เลิกไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมาะสมได้”
มาดูกันว่า ความเป็นพ่อ เปลี่ยนแปลงผู้ชาย ได้อย่างไรบ้าง?
ความเป็นพ่อ ทำให้ผู้ชาย “ห่วงใยผู้อื่น” มากขึ้น
จากการวิจัยของ Northwestern University พบว่า ผู้ชายมีความห่วงใยผู้อื่นมากขึ้นเมื่อเป็นพ่อ การได้ดูแลลูกน้อยทำให้ฮอร์โมนของพ่อเปลี่ยนไป โดยพบว่า พ่อมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง
ก่อนหน้านี้เทสโทสเตอโรนจะมีบทบาทในการขับพลังทางเพศของผู้ชายเพื่อการหาคู่ แต่ความเป็นพ่อและความต้องการที่จะมีลูกทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของผู้ชายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก Lee Gettler นักวิจัยกลาวว่า “ผลวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า ชีววิทยาของผู้ชายสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น” นอกจากนี้ ผลการวิจัยของ Gettler ยังระบุด้วยว่า ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลงอาจช่วยปกป้องผู้ชายจากโรคเรื้อรังบางอย่างได้
ความเป็นพ่อทำให้ “สมอง” ทำงานดีขึ้น
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า สมองของว่าที่คุณพ่อในส่วนของ การคิดวิเคราะห์ การควบคุมพฤติกรรม และความคิดที่เป็นนามธรรมทำงานดีขึ้น
และจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า หลังจากให้กำเนิดลูกน้อย เซลส์ประสาทในส่วนนี้มีการเชื่อมต่อมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า การมีลูกสามารถเพิ่มศักยภาพของสมองในส่วนของการวางแผนและความจำที่ดีขึ้น และทักษะที่พ่อจำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงลูกก็ทำให้สมองของพ่อมีการจัดระเบียบมากขึ้นด้วย
อ่าน ความเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้ชายกลายเป็นพ่อคน ข้ออื่นๆ คลิกหน้าต่อไป
ความเป็นพ่อทำให้ “น้ำหนัก” เพิ่มขึ้น
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน the journal Biology Letter พบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศผู้ เช่นสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate) ซึ่งถือเป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพัฒนาการสูงที่สุด รวมถึงมนุษย์ สามารถมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้มากถึง 20% ของน้ำหนักตัว เมื่อภรรยาตั้งท้อง ซึ่งเป็นอาการของ sympathetic pregnancy ทำให้คุณพ่อจะมีอาการและพฤติกรรมคล้ายกับอาการของคุณแม่ท้อง เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ หงุดหงิด กระวนกระวาย ปวดหลัง เป็นหวัด และวิตกกังวล
ความเป็นพ่อทำให้ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เพิ่มขึ้น
LiveScience พบว่า การดูแลเอาใจใส่ลูกน้อยเพิ่มระดับออกซิโทซินของพ่อ หรือที่เราเรียนกันว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” นั่นเอง
จิตแพทย์ James Swain แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวกับ NBC News ว่า เมื่อเจ้าตัวน้อยร้องไห้ รูปแบบการทำงานของสมองของพ่อ ไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเท่าสมองของแม่
แต่งานวิจัยของ Swain พบว่า สมองของพ่อที่เลี้ยงลูกอยู่กับบ้านก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันกับสมองของแม่ในเดือนที่ 4 เนื่องจากเมื่อพ่อได้ใช้เวลาอยู่กับเจ้าน้อยก็จะค่อยๆ ทำให้เกิดความผูกพันที่แข็งแกร่งมากขึ้น
ในปัจจุบันพ่อดูเหมือนจะมีบทบาทที่สำคัญในการเลี้ยงลูกมากขึ้น เพราะครอบครัวปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ที่แยกออกมาจากครอบครัวใหญ่ การที่ไม่มีคนช่วยเลี้ยงลูกจึงทำให้พ่อก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นนั่นเอง
งานวิจัยชี้ให้เห็นแล้วนะคะ ว่าความเป็นพ่อสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ชายได้อย่างไรบ้าง แล้วคุณแม่ล่ะคะ เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวคุณพ่อบ้าง แบ่งปันประสบการณ์ของคุณที่คอมเมนต์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ที่มา sg.theasianparent.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
วิธีแสดงออกของพ่อ ให้ลูกสาวรู้ว่ารัก