การไหว้พระ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมยอดนิยมของคนไทยยุคใหม่ ซึ่งการเลือกวัดในการไปสักการะบูชานั้น ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธา และความสะดวกของแต่ละคน โดยจะเป็นวัดใดก็ได้ เพียงแค่ให้ครบ 9 วัดก็เพียงพอ โดยเราจะพาทุกท่านไป ไหว้พระ 9 วัด รอบเมืองกรุง ในวิถีแบบ New Normal กัน
1. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
เริ่มต้นวัดแรกกันด้วย วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งวัดประจำรัชกาลที่ 5 และ 7 โดยที่ตัววัดเองด้านนอกจะเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในโบสถ์ออกแบบตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ พระอุโบสถลายไทย ที่ประดับมุกดูสวยงาม และมีพระมหาเจดีย์ทรงระฆังประดับกระเบื้องเคลือบ ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นตามแบบแผนประเพณีนิยม
พิกัด : ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
บทความที่น่าสนใจ : สวดมนต์เปลี่ยนชีวิต รวมบทสวดมนต์พลิกชีวิต ให้ชีวิตราบรื่น จากร้ายกลายเป็นดี
2. วัดอรุณราชวราราม
วัดอรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง ถือเป็นวัดสำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาอย่างยาวนาน ซึ่งวัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะได้รับการปฎิสังขรณ์มาเป็นวัดอรุณ ฯ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน โดยตัววัดจะมีสีขาว ถูกประดับด้วยกระเบื้องสีสันสวยงาม โดยมีพระปรางค์วัดอรุณ ฯ เป็นจุดเด่นของวัด อีกทั้งบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยาทที่ควรไปลองสัมผัสซักครั้ง
พิกัด : 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
3. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร หรือที่เรามักเรียกกันว่า วัดเบญจมบพิตร ฯ วัดนี้ถูกสร้างด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ ที่มีทั้งความงดงามและความเป็นระเบียบ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุด โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเรียกวัดนี้ว่า “ Marble temple ” เนื่องจากวัดถูกประดับด้วยหินอ่อนที่มีความสวยงาม และดีที่สุดจากอิตาลี
พิกัด : 69 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
4. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่คนไทยเรียกกันอย่างติดปากว่า วัดพระแก้ว อีกหนึ่งวัดที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง โดยวัดนี้ยังได้รวมสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่งดงามมากมาย เช่น พระอุโบสถ ปราสาทพระเทพบิดร พระอัษฏามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล เป็นต้น ซึ่งแต่ละจุดก็จะมีความงดงามที่ต่างกันออกไป
พิกัด : ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
บทความที่น่าสนใจ : บทสวดมนต์พาหุง ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า พบเจอแต่ความสำเร็จดั่งที่ใจปรารถนา
5. วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและจิตกรรมฝาผนังเป็นอย่างมาก โดยเป็นการผสมผสานศิลปะระหว่างไทย จีน และชาติตะวันตก ได้อย่างสวยงามและลงตัว อีกทั้งวัดแห่งนี้ ยังเป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์ จึงทำให้วัดนี้ได้รับการดูแลรักษาให้คงสภาพดีอยู่เสมอ
พิกัด : ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
6. วัดพิชัยญาติการาม
วัดพิชัยญาติการาม ถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน โดยมีจุดเด่นของวัดคือ พระปรางค์ 3 ยอด องค์ใหญ่สีขาว ซึ่งภายในประดิษฐาน พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกันปะ พระโคตม พระศรีอริยเมตไตรย อีกทั้งยังมีเจดีย์สีขาวคู่ ที่อยู่บริเวณหน้าพระอุโบสถ โดยด้านในของพระอุโบสถ มีพระบรมสารีริกธาตุให้กราบไหว้บูชาได้อีกด้วย
พิกัด : ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
7. วัดประยงค์กิตติวนาราม
วัดประยงค์กิตติวนาราม เป็นวัดที่มีบรรยากาศสงบ ร่มรื่น หากไม่ใช่ในสถานการณ์โควิด วัดนี้เหมาะแก่การมาปฏิบัติธรรมมาก ๆ ด้านหน้าพระอุโบสถ มีประติมากรรมทางพระพุทธศาสนาที่งดงามอย่าง พญาครุฑองค์ใหญ่ ที่ดูสง่างามและน่าเกรงขาม สำหรับในส่วนพระอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธศรีอริยเมตไตยทรงเครื่องใหญ่ เป็นพระประธานให้กราบไหว้บูชาได้อีกด้วย
พิกัด : 22 หมู่ 4 ถนนประชาสำราญ แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
8. วัดลาดพร้าว
วัดลาดพร้าว เป็นวัดที่มีความสงบและเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงาม โดยมีจุดเด่น คือ ปราสาทซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และอีกหนึ่งความโดดเด่นของวัดลาดพร้าวแห่งนี้ คือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับยืน 3 องค์ ที่อยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร และที่นี่ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป และรูปปั้นเหมือนเกจิ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย
พิกัด : 1 หมู่ที่ 9 ซอยลาดพร้าววังหิน 23 ถนนลาดพร้าววังหิน แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
9. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ปิดท้ายกันด้วย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่เรียกกันว่า วัดโพธิ์ อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ที่อยุ่คู่บ้านคู่เมืองมาอย่างยาวนาน สำหรับวัดโพธิ์นั้นมีมุมสวย ๆ สำหรับถ่ายรูปอยู่มากเลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นที่จารึกของวิชา ตำราแขนงต่าง ๆ หลายแขนง เปรียบเหมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ โดยจุดเด่นของวัดนี้คือ พระพุทธไสยาส พระพุทธรูปกึ่งนอน ขนาดใหญ่ ที่ควรสักการะบูชาซักครั้ง
พิกัด : 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
10. วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือที่คนนิยมเรียกว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน แขวงเสาชิงช้า โดยมี เสาชิงช้า ตั้งโดดเด่นอยู่ทางด้านหน้าของวัด เป็นจุดเด่นที่ไม่ว่าใครที่นึกถึงวัดสุทัศน์ ก็ต้องนึกถึงเสาชิงช้าด้วยเช่นกัน
สถาปัตยกรรมของ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นศิลปะแบบต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บางส่วนมีกลิ่นอายจากศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน ประกอบไปด้วย พระวิหาร พระอุโบสถ พระวิหารคต ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาร (แพ ติสฺสเทโว) อดีตสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ นอกจากนี้ภายในวัดยังมี ศาลาวิหารทิศ ศาลาลอย และหอระฆังด้วยเช่นกัน
พิกัด : 146 ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ
11. วัดบัวขวัญ
วัดบัวขวัญเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยยังเป็นสำนักสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มาจำพรรษา และปฏิบัติสังฆกรรมมากขึ้น จึงได้รับการพัฒนาเป็นวัดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2435 มีนามว่าวัดสะแก โดยมีพระครูปรีชาเฉลิมจากวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้เริ่มสร้างวัด และเป็นเจ้าอาวาสในช่วงแรก
วัดดบัวขวัญมีการพัฒนาปรับปรุงทั้งในด้านถาวรวัตถุ ภูมิทัศน์ การศึกษาพระธรรม การเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับอุบาสกอุบาสิกาในทุกวันสำคัญ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาและวันนักขัตฤกษ์เรื่อยมา
พิกัด :เลขที่ 1 ซอยงามวงศ์วาน 23 ถนนงามวงศ์วาน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
12. วัดสังฆทาน
วัดสังฆทาน เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันมี “หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส สาธุชนชาวพุทธทั่วไป อุ้มลูกจูงหลาน เข้าวัดทำบุญ กราบสักการะพระประธาน “หลวงพ่อโต” ในโบสถ์แก้วรูปทรงแปดเหลี่ยม ทำด้วยกระจกทั้งหมด ภายในโบสถ์แก้ว นอกเหนือจากพระประธานแล้ว ยังมี พระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา มาประดิษฐาน ณ โบสถ์แก้ว และอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์ต่างๆ โบสถ์แก้วนี้ สามารถจุคนได้ถึง 600 คน ด้านล่างใช้เป็นสำนักงาน ห้องเทป ห้องมูลนิธิ ห้องสมุด ฯลฯ ที่วัดสังฆทานนี้ จะมีงานประเพณีประจำปี คือ งานทำบุญวันสงกรานต์ และสรงน้ำพระในเดือนเมษายน
พิกัด: หมู่ที่ 3 100/1 บางไผ่, อ.เมืองนนทบุรี, นนทบุรี 11000
13. วัดสร้อยทอง
นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก 2 พส หรือ 2 พระสงฆ์ “พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต” และ “พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ” พระนักเทศน์ชื่อดังขวัญใจชาวโซเชียลจาก “วัดสร้อยทอง พระอารามหลวง” หลังจากเป็นกระแสโด่งดังในโลกออนไลน์ ที่ออกมาเผยแผ่หลักธรรมคำสอนผ่านการไลฟ์เฟซบุ๊กให้พุทธศาสนิกชนทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่เข้าใจง่าย ครั้งนี้จึงพาทุกคนมารู้จักกับ “วัดสร้อยทอง พระอารามหลวง” แห่งนี้กัน เดิม “วัดสร้อยทอง” มีชื่อ “วัดซ่อนทอง” เป็นวัดเก่ามีมานาน สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2394 ซึ่งไม่ทราบนามและประวัติของผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าคงเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ ๔
14. วัดชลประทาน
วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ ทั้งยังเป็นผู้วางรากฐานแนวคิดและวิถีปฏิบัติยุคใหม่ ให้ศาสนาห่างจากความงมงาย เหลือไว้เพียงแก่นธรรมที่มีประโยชน์ เพื่อสร้างวัดที่มีวิถีพุทธร่วมสมัย ท่ามกลางธรรมชาติร่มรื่น พร้อมกับการเป็นแหล่งของความรู้ ปัญญา และการเผยแผ่หลักคำสอน ที่ชาวพุทธยุคใหม่จะเลิกมองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ จนท่านได้รับการขนานนามว่า พระผู้ปฏิรูปพิธีกรรมชาวพุทธไทย
พิกัด : วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
15 . วัดเล่งเน่ยยี่ 1
เมื่อพูดถึงชื่อ “วัดเล่งเน่ยยี่” หรือ “วัดมังกรกมลาวาส” แน่นอนว่าหลายคนคงเคยได้ยิน เพราะวัดเล่งเน่ยยี่เป็นหนึ่งในวัดดังในกรุงเทพฯ ที่นักแสวงบุญทั้งชาวไทยและชาวจีน ต่างแวะเวียนมากราบไหว้ขอพรกันอยู่เสมอ อีกทั้งวัดเล่งเน่ยยี่ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ไหว้สะเดาะเคราะห์สำหรับผู้ที่เกิดปีชงในแต่ละปีอีกด้วย
วัดเล่งเน่ยยี่ ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ภายในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ซึ่งชื่อของวัดนั้นมาจากคำ 3 คำ ได้แก่ คำว่า “เล่ง” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่า มังกร, คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัว และ “ยี่” แปลว่า วัด หรือรวมคำแปลที่หลายคนมักคุ้นหูว่า “วัดมังกร” ส่วนชื่อทางการของวัดซึ่งเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ “วัดมังกรกมลาวาส”
16. วัดหัวลำโพง
ในสมัยอดีตนั้น วัดหัวลำโพง เดิมมีชื่อว่า “วัดวัวลำพอง” ค่ะ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐินที่ วัดวัวลำพอง จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ และพระราชทานนามว่า “วัดหัวลำโพง” ตั้งแต่นั้นมา
พระประธานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนามว่า พระพุทธมงคล ซึ่งตามความเชื่อแล้ว การขอพรกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย จะช่วยปกป้องในเรื่องของภัยจากศัตรู ทั้งจากการงาน และการเงินต่างๆ เราเลยรีบเข้าไปไหว้พระ ขอพรจากพระประธานกันก่อนค่ะ
17. วัดระฆัง โฆสิตาราม
ภายในวัดระฆัง มีพระอุโบสถที่สวยงาม เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 ประดิษฐาน หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า เป็นพระประธานค่ะ โดยเป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาพระราชทานผ้ากฐิน ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆัง พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที” จึงเป็นที่มาของชื่อพระประธานนั่นเอง
นอกจากนี้ ภายในอุโบสถยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่มีเรื่องราวของต่างๆ ของพระพุทธเจ้า เป็นภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก มีชีวิตชีวาอ่อนช้อย ซึ่งภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6 ในพ.ศ. 2465 ในช่วงบูรณะวัดระฆังแห่งนี้นั่นเอง
18. วัดสระเกศ หรือ วัดภูเขาทอง
วัดสระเกศ หรือ วัดภูเขาทอง (Temple of the Golden Mount Bangkok) เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีจุดเด่นคือ พระบรมบรรพต หรือที่เรียกกันว่าภูเขาทอง วัดสระเกศ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก เปลี่ยนเป็นชื่อวัดสระเกศในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ส่วนพระบรมบรรพรต หรือ เจดีย์ภูเขาทอง เริ่มสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีความสูง 77 เมตร บนยอดด้านบนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบ ณ เมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราช โดยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ขณะนั้นกำลังทรงผนวชอยู่ที่ประเทศอินเดีย ได้ส่งพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวายในฐานะที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เป็นพุทธมามกะอยู่ในขณะนั้น สิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ภายในวัดสระเกศ (Bangkok Temple) นอกจากพระบรรมบรรพรตก็ยังมี พระประธาน พระอุโบสถ พระเจดีย์เหลี่ยม หอไตร โพธิ์ลังกา
19. วัดราชนัดดารามวรวิหาร
วัดแห่งนี้ปลูกสร้างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระราชนัดดา คือพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี (ต่อมาเป็นพระอัครมเหสีองค์แรกของรัชกาลที่ 4 มีพระนามว่าสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีบรมราชเทวี) จึงทรงพระราชทานนามว่า วัดราชนัดดาราม เมื่อ ปี พ.ศ. 2386 ถือเป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 ความสวยงามของวัดที่สร้างความสะดุดตาให้กับผู้คนที่ผ่านไปมา สร้างสรรค์โดยเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) สถาปนิกผู้ออกแบบแผนผังการสร้างวัด กำกับการสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ ส่วนพระยามหาโยธาเป็นผู้สร้างกุฏิสงฆ์พร้อมทั้งกำแพงและเขื่อนรอบวัด ขณะที่เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโลหะปราสาท โดยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทแทนการสร้างเจดีย์ หากแต่สร้างไม่แล้วเสร็จ จนกระทั่งรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างต่อจนเสร็จ และภายหลังได้มีการซ่อมแซมวัดราชนัดดาอีกครั้งในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้พยายามรักษาแบบแผนเดิมของโลหะปราสาทสมัยรัชกาลที่ 3 ให้มากที่สุด
20. วัดอมรินทราราม
วัดอมรินทรารามวรวิหาร สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2200 ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง เดิมทีมีชื่อวัดว่า “วัดบางว้าน้อย” ตั้งคู่กับ “วัดบางว้าใหญ่” หรือวัดระฆัง โฆสิตารามในปัจจุบันเป็นวัดที่มีพื้นที่อาณาเขตอยู่ในกำแพงเมืองฝั่งตะวันตกของกรุงธนบุรี
ในส่วนของอุโบสถนั้นเป็นอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นแบบประเพณีทรงจัตุรมุข มีมุขโถงทั้ง 4 ด้าน ฐานของอาคารเป็นฐานสิงห์ลูกแก้ว หลังคา 4 ซ้อน 3 ตับ มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสีเครื่องตกแต่งที่หน้าบัน เป็นแบบเครื่องลำยอง มีช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ ลายหน้าบันเป็นรูปพระอิศวรทรงช้างเอราวัณ ออกแบบก่อสร้างโดย หลวงวิศาลศิลปกรรม สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512
บทความที่น่าสนใจ :
อานิสงฆ์ของการสวดมนต์ การรักษาศีล การทำบุญถวายสังฆทาน
บทสวดมนต์ขออโหสิกรรม ขอขมากรรม เพื่อความเป็นสุข ชีวิตดีขึ้น
ที่มา : (thairath) (trueid)