LPR โพรไบโอติกตัวที่ดังที่สุดในตอนนี้จะเป็นตัวไหนไปไม่ได้ นอกจาก จุลินทรีย์ LPR โพรไบโอติก ตัวดังตัวนี้เท่านั้น เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารอีกทั้งยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกรัก ให้มีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมรับมือกับเชื้อโรคใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน
จุลินทรีย์ LPR โพรไบโอติก คืออะไร?
LPR คือหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ โยเกิร์ต และนมบางชนิดที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ที่น่าสนใจก็คือ จุลินทรีย์ LPR มีงานวิจัยในหลากหลายด้านที่หยิบยกมาวันนี้ก็คือเรื่องของงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในยุคนี้มาก เนื่องด้วยปัจจุบันเด็กต้องเผชิญกับเชื้อโรคที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน
LPR โพรไบโอติก ประโยชน์มีอะไรบ้าง?
LPR โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติให้มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกกว่าจุลินทรีย์ก่อโรค เป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดย LPR โพรไบโอติกเรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นอย่างหนึ่ง ซึ่งให้ประโยชน์แก่ระบบทางเดินอาหาร การย่อยอาหาร การขับถ่ายที่เป็นปกติและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม
LPR โพรไบโอติกช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
มีงานวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ LPR และการปกป้องระบบทางเดินหายใจในเด็กอายุ 1-7 ปี ว่าช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึง 37%
LPR โพรไบโอติก มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุด
ในแวดวงผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย และสมาคมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา อเมริกาใต้นั้นได้ให้ความสนใจ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ LPR โพรไบโอติก เป็นอย่างมาก ซึ่งมีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับมากที่สุดและมีการศึกษาในด้านคุณประโยชน์มาต่อเนื่องกว่า 30 ปี LPR ไพรไบโอติก จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และเมื่อเด็กไม่เจ็บป่วย สมองก็พร้อมเรียนรู้ในทุก ๆ วัน เด็กยุคนี้ต้องสตรอง ร่างกายแข็งแกร่ง มีความเก่งเฉพาะตัวที่ช่วยให้พร้อมสู่โลกอนาคต
อ่านข้อมูลน่ารู้อื่นๆ เกี่ยวกับ LPR โพรไบโอติกได้ที่
https://www.nestlemomandme.in.th/lpr-benefits
References
1. Hojsak I et.al., Clin Nutr. 2010 Jun;29(3):312-6.
2. Kort R et al.,Microb Cell Fact. 2015 Dec 8;14:195.
3. Lara-Villoslada F, et al. British Journal of Nutrition (2007), 98, Suppl. 1, S96–S100