เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร วิธีให้ลูกเลิกอมนิ้วมือ

เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร การที่เด็กอมมือนั้นเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือไม่ เรามาดูกันค่ะ ว่า เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร ลูกจะเลิกได้จริงหรือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร การที่เด็กอมมือนั้นเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือไม่ เรามาดูกันค่ะ ว่า เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร ลูกจะเลิกได้จริงหรือ

 

เด็กอมมือ เทคนิคช่วยให้ลูกเลิกอมนิ้วมือ 

เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร

  • เล่นของเล่น

ส่งเสริมกิจกรรมการเล่นหยิบ จับ กล้ามเนื้อมือของเด็กตามวัย เช่น ต่อบล็อก ต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น

  • ออกมาเล่นนอกบ้าน

คุณแม่อาจจะพาลูกนั่งรถเข็นเดินเล่น และอาจจะนำของเล่นมาเล่นนอกบ้าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไม่ให้ลูกเบื่อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เป่าปากพาเพลิน

คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาลูกนั่งรถเข็นเดินเล่น และอาจจะนำของเล่นมาเล่นนอกบ้าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไม่ให้ลูกเบื่อ

  • ก่อนนอนหลับฝันดี

สำหรับทารกที่ชอบดูดนิ้ว หรือกัดผ้าห่มก่อนนอนให้หากิจกรรมทำก่อนนอนเพื่อให้เค้าผ่อนคลาย

  • ยับยั้งทันที

จับมือลูกออกจากปากทันที ที่ลูกเผลอเอามือ หรือสิ่งของเข้าปาก ซ้ำ ๆ ทุกครั้ง

  • ไม่ควร ดุ ด่า 

การที่ ดุ หรือ ด่า จะทำให้ลูกยิ่งกลัว ไม่มั่นใจ เกิดอาการเครียดและเป็นสาเหตุทำให้ลูกยิ่งดูดนิ้วมากขึ้น

  • ชมลูกเมื่อไม่ดูดนิ้ว

คุณพ่อคุณแม่ควรชมลูก เวลาที่ลูกไม่ได้ดูดนิ้ว เพื่อให้เขารู้สึกว่าถ้าไม่ดูดนิ้วแล้วคุณพ่อคุณแม่จะหันมาให้ความสนใจ และเห็นเขาเป็นเด็กน่าชื่นชม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การใส่ถุงมือผ้า

การใช้ผ้าหรือเทปพันที่นิ้ว การดัดแปลงชุดนอนให้แขนเสื้อยาวมากเกินปกติ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับเด็กที่ต้องการเลิกนิสัยดูดนิ้วและต้องการตัวช่วยให้เค้าไม่เผลอเอานิ้วเข้าปาก โดยเฉพาะตอนนอน

  • รักษาความสะอาดอยู่เสมอ 

หมั่นตัดเล็บลูกให้สั้น และล้างมือลูกให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าลืมสังเกตด้วยว่าที่มือของลูกมีอาการอักเสบ คัน หรือเป็นแผลจากการดูดนิ้วหรือไม่

 

สาเหตุที่ทารกชอบอมนิ้วมือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร

เป็นพฤติกรรมที่พบได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อมีอายุครรภ์ 18 สัปดาห์  วัยทารกและก่อนวัยเรียน และอาจมีต่อเนื่องจนถึงวัยเรียน ส่วนใหญ่หลังอายุ 2 – 4  ปี เด็กมักจะค่อย ๆ เลิกดูดนิ้วไปเอง แต่บางคนอาจดูดนิ้วต่อไปอีกระยะหนึ่งซึ่งมักจะดูดเฉพาะก่อนนอนไปจนอายุ 5 – 6  ปี เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีผลกระทบในด้านต่างๆ เพราะเด็กสามารถพัฒนาการควบคุมตนเองได้และเลิกดูดนิ้วไปได้ในที่สุด

  • พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ( Learned habit / behavior ) เด็กวัยทารกอายุประมาณ 4 -6 สัปดาห์เอามือเข้าปากโดยบังเอิญแล้วเรียนรู้ว่าการดูดนิ้วจึงทำให้เกิดความสุข  ความพอใจ ความเพลิดเพลิน ( Gratification ) จึงทำให้พฤติกรรมดังกล่าวอีก
  • เด็กจะดูดนิ้วเพื่อเป็นการกระตุ้นตนเอง ( Self – stimulation ) เมื่อรู้สึกเบื่อ อยู่คนเดียว ถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมจากผู้เลี้ยงดู
  • เด็กดูดนิ้วเพื่อเป็นการปลอบตนเอง ( Self – soothing )  เมื่อไม่สุขสบายกาย  เช่นหิว ง่วง หรือป่วย เมื่อไม่สบายใจหรือมีความเครียด ความกังวล เช่นการเข้าโรงเรียน การย้ายที่อยู่ การมีน้อง

 

ดูดนิ้วนานส่งผลอย่างไร 

  • ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน ที่พบได้มากที่สุด เช่นอการสบของฟัน การบาดเจ็บของเยื่อบุช่องปาก รูปหน้าผิดปกติ
  • ปัญหาเกี่ยวกับนิ้วมือและเล็บ เช่น การติดเชื้อ นิ้วผิดรูป การที่ทารกดูดตลอดหรือบ่อย ๆ ทำให้เกิดโรคนิ้วเปื่อย หากไม่มีการติดเชื้อก็จะหายไปเองได้ เมื่อลูกเลิกดูดแต่หากมีการติดเชื้อหรือว่าแพ้น้ำลายตัวเอง ก็ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยใช้ยา
  • ปัญหาด้านจิตใจ ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์โดนเพื่อนล้อ โดนพ่อแม่ตำหนิหรือลงโทษ

 

เลิกดูดนิ้วแล้ว กลับมาดูดอีก

เด็กที่เลิกดูดนิ้วแล้ว แต่กลับมาดูดใหม่คุณพ่อคุณแม่ต้องลองหาสาเหตุ ว่าอาจมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการถดถอย หรือเด็กมีความเครียด เช่น เมื่อมีน้องใหม่ เจ็บป่วย สูญเสีย คนในครอบครัว ย้ายบ้าน ย้ายโรงเรียนของเล่นชิ้นโปรดหายไป หรือเกิดมีความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกิดกับเด็กหรือไม่เพราะการกลับมาดูดนิ้วแบบนี้จะส่งผลเสีย และไม่ใช่เป็นการดูดตามพัฒนาการอย่างในวัยทารก

 

การตัดเล็บสำหรับทารก

เล็บมือและเล็บเท้าของทารก จะค่อนข้างนิ่มและยาวเร็วกว่าเล็บของผู้ใหญ่ หากปล่อยให้เล็บยาว อาจไปขีดข่วนผิวหนังของทารกเองหรือคนรอบข้าง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถตัดเล็บทารกได้ ใช้วิธีที่คล้ายกับของผู้ใหญ่ โดยเริ่มจากล้างมือและเท้าของทารกให้สะอาดในระหว่างอาบน้ำ จากนั้นค่อย ๆ ตะไบเล็บให้สั้น หรืออาจใช้กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็กค่อย ๆ ตัดด้วยความระมัดระวัง แต่ไม่ควรใช้กรรไกรตัดเล็บของผู้ใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่เกินนิ้วของทารก และอาจตัดโดนนิ้วหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคมือเท้าปาก จากน้ำลาย

เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร

ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อไวรัสทางการหายใจ ไอ จามรดกัน การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผลหรืออุจจาระของผู้ป่วยเกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า ปี สำหรับประเทศไทยพบการระบาดตลอดทั้งปีแต่จะมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีตุ่มน้ำใสขอบแดงขึ้นที่บริเวณปาก มือ และเท้า

 

ป้องกันโรคมือเท้าปาก

  • รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนกลาง
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ
  • ผู้เลี้ยงดูเด็ก ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย
  • สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วม ที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ
  • เมื่อพบเด็กที่ป่วยหรือมีอาการของโรคนี้ แนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ (ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่นสระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า)

 

ล้างมืออย่างถูกวิธี 

  • ล้างมือด้วยน้ำสะอาด
  • ใช้สบู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการล้างมือในแต่ละครั้ง
  • ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างถูกันและกัน โดยสลับกันถู
  • ใช้ฝ่ามือข้างซ้ายถูหลังมือข้างขวา โดยสอดนิ้วเข้าไปถูง่ามนิ้วทำสลับกันกับมืออีกข้าง
  • ถูฝ่ามือด้วยการไขว้นิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันคล้ายท่าประสานมือ
  • ใช้นิ้วทั้งสี่ของมือทั้งสองเกี่ยวกันในท่ามือหนึ่งคว่ำมือหนึ่งหงาย เพื่อถูหลังนิ้วมือด้วยฝ่ามืออีกข้าง
  • ใช้มือข้างซ้ายจับนิ้วโป้งข้างขวาแล้วหมุนไปมา ทำซ้ำแบบเดียวกันกับนิ้วโป้งข้างซ้าย
  • ถูปลายนิ้วเข้ากับฝ่ามือของอีกข้างในท่าหมุนเป็นวงกลมกลับไปกลับมาบนฝ่ามือ
  • ล้างสบู่ออกด้วยน้ำ
  • เช็ดมือให้แห้งดีด้วยกระดาษชำระสำหรับเช็ดมือ
  • อาจใช้กระดาษชำระที่เช็ดมือปิดก๊อก เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อโรคอีกครั้ง

 

วิธีสอนให้ลูกล้างมือ

  • สอดแทรกกิจกรรมสนุก ๆ

การล้างมือให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค ควรทำอย่างน้อย 20 วินาที แต่เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาล้างมือเพียงไม่กี่วินาที กิจกรรมสนุก ๆ ระหว่างการล้างมือจะช่วยให้ลูกเพลิดเพลินและล้างมือได้นานขึ้น เช่นให้ลูกร้องเพลงง่าย ๆ ช้า ๆ หนึ่งรอบ หรือร้องเร็ว ๆ สัก 2 รอบ ให้ลูกนับ 1-20  หรือ 1-10 อย่างช้า ๆ หรือใช้นาฬิกาทรายช่วยจับเวลาให้น่าตื่นเต้น

  • ทำสภาพแวดล้อมให้อำนวยต่อลูก

การหาเก้าอี้ให้ยืนมีผ้าเช็ดมือพร้อมสบู่ที่สามารถเอื้อมถึงได้ จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้เหมือนผู้ใหญ่ ทำให้เกิดความภูมิใจ และไม่รู้สึกว่าการล้างมือเป็นเรื่องยากลำบากเต็มใจล้างมือมากขึ้น

  • ใช้สิ่งของดึงดูดใจ

หาสบู่ที่มีกลิ่นหอมหรือขวดใส่สบู่เหลวรูปตัวการ์ตูนที่ลูกโปรดปราน เพื่อดึงดูดให้การล้างมือรื่นเริงกว่าเดิม

 

ที่มา : (thaihealth),(si.mahidol),(pobpad)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

พัฒนาการด้านร่างกาย : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

อยู่บ้านก็เล่นได้ : 15 กิจกรรมแสนสนุกอยู่บ้านก็เพิ่มทักษะให้ลูกได้

พ่อแม่ 4 ประเภท ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีหรือก้าวร้าว คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow