ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กเข้าปาก อมของเล่น ชอบหยิบของชิ้นเล็กๆ ใส่ปาก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ลูกเป็นแบบนี้ พ่อแม่ควรทำอย่างไร มาดูวิธีป้องกันอันตรายจากคุณหมอกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง    

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากสิ่งแปลกปลอมที่เกิดจากลูกน้อยวัยซนเอาของชิ้นเล็กๆ ยัดเข้าไปในหู จมูก หรือเอาเข้าปากและมีโอกาสหลุดเข้าไปในคอ พบได้ค่อนข้างบ่อย ซึ่งมักเกิดจากความซุกซนและอยากรู้อยากเห็นตามวัยของเด็ก บางครั้งแม้เด็กอยู่คลาดสายตาผู้ใหญ่เพียงแค่ไม่กี่นาทีก็อาจเกิดขึ้นได้ และในช่วงแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติใด รวมถึงลูกก็ไม่ได้แจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบ เพราะอาจยังอยู่ในวัยที่พูดและสื่อสารได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ จนเกิดอันตรายได้ คุณพ่อคุณแม่ผู้ดูแลเด็ก จึงควรทราบถึงหลักในการดูแลเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ดังนี้ค่ะ

1. สิ่งแปลกปลอมในหู

สิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อยในหู สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ได้แก่ ลูกปัด เม็ดพลาสติก เม็ดถั่ว เศษก้อนยางลบ และอาจพบสิ่งแปลกปลอมที่เป็นแมลงได้บ่อยในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี

อาการ:

สิ่งแปลกปลอมในหูช่วงแรกอาจไม่มีอาการใด แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดอาการปวดหู หูอักเสบ เยื่อแก้วหูทะลุ

การดูแลเบื้องต้น:

  • หากพบเห็นสิ่งแปลกปลอมในหูด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน คุณพ่อคุณแม่อาจลองใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นปากคีบ คีบสิ่งนั้นออกมาอย่างช้าๆ และเบามือ
  • เอียงหน้าให้หูข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ต่ำกว่าอีกข้างหนึ่งแล้วโยกศีรษะในแนวดิ่งเบาๆเพื่อให้หลุดออกมาได้เอง
  • หากเป็นแมลง อาจหยอดยาหยอดหู หรือน้ำมันพืชเข้าไปในรูหู โดยดึงใบหูไปทางด้านหลังเพื่อให้รูหูอยู่ในแนวตรง หลังจากหยอดของเหลวเข้าไป แมลงจะลอยขึ้นมาทำให้สามารถเอาออกได้อย่างง่ายดาย

ข้อควรระวัง:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ห้ามใช้น้ำหรือน้ำมันหรือของเหลวอื่นๆใส่เข้าไปในรูหูในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมไม่ใช่แมลง หรือสงสัยว่ามีภาวะแก้วหูทะลุ เช่น มีน้ำ หนอง หรือมีเลือด ไหลออกมา
  • หากมองไม่เห็นชัดเจนจากภายนอก หรือไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่น่าจะเอาออกได้อย่างง่ายดาย ก็ไม่ควรใช้วัสดุใดเขี่ยสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมาเอง เพราะอาจยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปลึกมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อหูได้ ควรไปพบคุณหมอดีกว่าค่ะ

ความไร้เดียงสาของเด็กน้อย ก็จะหยิบจับสิ่งเล็กๆ ใส่ปากบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง

2. สิ่งแปลกปลอมในจมูก

สิ่งแปลกปลอมในจมูกที่พบบ่อยในเด็ก เช่น ลูกปัด กระดุม เม็ดพลาสติก เม็ดถั่ว ชิ้นส่วนของเล่น เศษดินน้ำมัน ถ่านก้อนกระดุม เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการ:

ผู้ป่วยเด็กมักจะมาด้วยอาการ มีน้ำมูกกลิ่นเหม็นจากโพรงจมูกข้างเดียว หรือมีน้ำมูกเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่คิดว่าเป็นไซนัสอักเสบหรือเป็นหวัดไม่หายสักที และมีอาการเจ็บในโพรงจมูก คัดจมูกมากผิดปกติข้างเดียว มีน้ำมูกปนเลือดออกมา

การดูแลเบื้องต้น:

หากพบเห็นสิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูกเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพยายามดึงหรือคีบออกมาด้วยตนเอง แต่ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะสิ่งแปลกปลอมนั้นอาจหลุดลึกเข้าไปมากขึ้นในโพรงจมูกและอาจหล่นลงไปในหลอดลมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อควรระวัง:

หากสิ่งแปลกปลอมเป็นถ่านก้อนกระดุม คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อเอาออกให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดอันตรายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อในโพรงจมูก

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตรวจดูของเล่นอยู่บ่อยๆ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

3. สิ่งแปลกปลอมในช่องปากและคอ

สิ่งแปลกปลอมในช่องปากและคอ มีทั้งลักษณะไม่แหลมคม เช่น เหรียญ ถ่านก้อนกระดุม เม็ดถั่ว หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีลักษณะแหลม เช่น ก้างปลา ไม้จิ้มฟัน เข็มกลัด เป็นต้น

อาการ:

สิ่งแปลกปลอมในช่องปากที่หล่นเข้าไปในทางเดินอาหารหรือหลอดลมในเด็กมักจะมีอาการขณะที่ทานอาหารหรืออมสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในปาก แล้วมีอาการสำลัก ไอ มีเสียงแหบ หายใจเสียงดัง หายใจผิดปกติ หอบเหนื่อย ปากเขียว กลืนลำบาก เจ็บขณะกลืน อาเจียน ซึ่งอาการอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการอุดกั้นของสิ่งแปลกปลอมนั้นว่าอยู่ในระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร และอยู่ที่ตําแหน่งใด

การดูแลเบื้องต้น:

  • หากพบว่าเด็กกำลังอมหรือเอาวัสดุสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปาก ผู้ปกครองควรจะตักเตือนอย่างนุ่มนวล และให้นำสิ่งนั้นออกมาอย่างช้าๆ โดยไม่ควรทักเสียงดังหรือทำให้ตกใจ เพราะเด็กอาจสำลักและทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารจนเกิดอันตรายได้
  • หากทราบชัดเจนว่าสิ่งแปลกปลอมติดคอเด็กเล็กวัยทารก เช่น มีอาการหายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียว สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นโดยให้เด็กนอนคว่ำพาดที่ตักศีรษะต่ำ โดยให้อกของเด็กอยู่บนมือและท้องแขนของผู้ปกครอง แล้วใช้สันฝ่ามืออีกข้างหนึ่งตบที่กลางหลังตรงบริเวณระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างแรงๆจนสิ่งแปลกปลอมกระเด็นหลุดออกมา หรือเด็กไอเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา
  • หากเป็นเด็กโต ผู้ปกครองควรช่วยโดยยืนหรือคุกเข่าจากด้านหลังเด็ก แล้วใช้มือทั้งสองของโอบจากด้านหลัง มือด้านหนึ่งกำเป็นกำปั้นอยู่ใต้ลิ้นปี่เหนือสะดือ แล้ววางมืออีกด้านทับบนกำปั้น ออกแรงกดมือทั้งสองเข้าไปในท้อง โดยดันมือขึ้นมาด้านบนเหนือลิ้นปี่ กดซ้ำๆ จนสิ่งแปลกปลอมหยุดออกมาจากปาก
  • หากทำการช่วยเหลือเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว สิ่งแปลกปลอมยังไม่ออก หรือเด็กเริ่มมีอาการหายใจติดขัด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ข้อควรระวัง:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ผู้ปกครองไม่เอามือล้วงช่องปากของเด็ก โดยที่ยังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม หรือเห็นไม่ชัดเจน หรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลัง เพราะจะทำให้สิ่งแปลกปลอมมีโอกาสที่จะลงไปได้ลึกขึ้นเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจได้มากขึ้น ควรรีบมาไปคุณหมอดีกว่า

ของเล่นบางชนิด ชิ้นส่วนอาจจะหลุดหรือสึกจากการกัดของลูกน้อยได้ง่าย ฉะนั้น พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด หรือตรวจดูของเล่นว่า มีส่วนไหนที่อาจจะหลุดเข้าปากของลูกได้หรือไม่

หากเด็กมีสิ่งแปลกปลอมในบริเวณอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งดังที่กล่าวมา ผู้ปกครองควรร่วมมือกับคุณหมอในการที่จะช่วยสังเกตว่ามีสิ่งแปลกปลอมในอวัยวะหรือไม่ เช่น ในบางครั้งเด็กเอาสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก เช่น ลูกปัดยัดเข้าไปในหู ก็อาจจะแอบยัดเข้าไปในโพรงจมูกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความซุกซน นอกจากนี้ควรป้องกันการเกิดสิ่งแปลกปลอมในอวัยวะต่างๆของเด็ก โดยระมัดระวังในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ไม่ให้คลาดสายตา ควรเก็บเศษของชิ้นเล็กๆ ทิ้ง เพื่อไม่ให้เด็กสามารถหยิบออกมาเล่นได้นะคะ

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง : parenting.firstcry.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม

สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง

เทคนิคเลือกของเล่นให้สมกับวัย เลือกแบบไหนให้ลูกฉลาด