ให้ลูกทานยาอย่างไร ถึงจะหายป่วย...

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า บางครั้งหลังจากที่พาลูกรักไปพบคุณหมอแล้วทำไมอาการถึงยังไม่ดีขึ้นสักที สาเหตุหนึ่งของการป่วยที่ยาวนานอาจมาจากการทานยาที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเราจะมาคุยกันว่า มีวิธีดูแลให้ลูกทานยาอย่างไรจึงจะได้รับประสิทธิภาพที่ดีที่สุดจากยากันครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้ลูกทานยาอย่างไร ถึงจะหายป่วย

เมื่อคุณหมอมี การวินิจฉัยโรคแล้ว สั่งยาให้กลับไปทานที่บ้าน ให้ลูกทานยาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องเตรียมยา ให้ลูกทานด้วยตนเอง ตามเวลาที่ระบุไว้ในฉลาก บ่อยครั้งที่การเตรียมยา เก็บรักษา หรือวิธีการให้ยา ไม่เป็นไปตามข้อควรปฏิบัติของยา ทำให้ลดประสิทธิภาพของตัวยาลง ส่งผลให้ลูกน้อย ได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่ควรได้ อาการป่วยที่ควรจะดีขึ้น ก็จะยาวนานออกไปครับ

ให้ลูกทานยาอย่างไร ถึงจะหายป่วย

1. การเตรียมยา

ให้ลูกท านยาอย่างไร

ยาในเด็ก มักจะเป็นยาน้ำที่มีตัวยาผสมกับน้ำเชื่อมรสต่าง ๆ เพื่อให้เด็กทานยาได้ง่าย โดยมีขนาดยาเป็นช้อนชา หรือเป็นซีซี ควรใช้ช้อนชาที่ได้รับมาพร้อมกับยาในการวัดปริมาณ หากระบุเป็นซีซี ควรใช้หลอดฉีดยาแบบไม่มีเข็ม ที่มีตัวเลขเป็นซีซีอยู่ข้างหลอด เมื่อรับยาจากเภสัชกร ควรถามขนาดยาให้แน่ใจ และขอรับช้อนหรือ หลอดฉีดยามาด้วยครับ ยาน้ำบางชนิดจะอยู่ในรูปผงยาบรรจุขวดซึ่งต้องเติมน้ำเองก่อน ควรอ่านฉลากว่าต้องเติมปริมาณเท่าใด ซึ่งมักจะมีขีดระบุไว้บนฉลาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การรับประทานยาเม็ด

ให้ลู กทานยาอย่างไร

เมื่อเด็กอายุหรือน้ำหนักมากเกินกว่าที่จะทานยาน้ำ คุณหมอจะจ่ายยาให้เป็นยาเม็ด คุณพ่อคุณแม่อาจจะพบปัญหาเรื่อง ลูกการทานยายาก ทำให้ต้องบดยาเม็ดผสมน้ำหรือผสมในอาหาร โดยเฉพาะยาแคปซูลที่มักมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้คุณพ่อคุณแม่แก้ปัญหาด้วยการแกะแคปซูล เพื่อนำผงยาออกมาละลายน้ำ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่ควรทำในตัวยาหลาย ๆ ชนิดเนื่องจากจะลดประสิทธิภาพของยาลง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากับเภสัชกรว่ายาที่ได้รับมาสามารถใช้วิธีการเหล่านี้ได้หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ยาก่อนอาหาร – หลังอาหาร

ยาก่อนอาหาร มักจะให้ทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง เนื่องจาก ยาประเภทนี้อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลงเมื่อมีอาหารไปรบกวน ส่วนยาหลังอาหาร มักจะให้ทานหลังจากทานอาหารไปแล้ว 15 ถึง 30 นาที ยาบางชนิด มีการระบุช่วงเวลาเป็นพิเศษ ในการทานยา ซึ่งเภสัชกรจะแจ้งให้ทราบ ตอนที่ได้รับยาครับ และไม่ควรผสมยาลงไปในอาหาร หรือนมโดยตรง เมื่อลืมให้ลูกทานยา ไม่ควรให้ทานเป็นสองเท่าในมื้อถัดไป ยาก่อนอาหาร สามารถให้หลังจากทานอาหารได้ เมื่อผ่านไปแล้วสองชั่วโมง ส่วนยาหลังอาหาร ให้ลูกทานขนม หรือของว่างก่อนทานยาได้ครับ แต่ควรข้ามไปมื้อถัดไป หากนึกได้ในเวลาที่ใกล้จะต้องทานอีกมื้อหนึ่ง

บทความแนะนำ: ยาอันตรายสำหรับเด็ก

4. หากอาเจียนยา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้ลูกทาน ยาอย่างไร

ถ้าลูกอาเจียนทันทีที่ทานยา หรือภายใน 30 นาทีหลังทานยา ให้ทานใหม่ ในปริมาณยาเท่าเดิม หากเกินกว่านั้น ให้ยาในมื้อถัดไปได้เลยครับ

5. ทานยาให้ครบ

ให้ลูกทานยา อย่างไร

โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อโรค – แอนติไบโอติค (antibiotics) หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า ยาแก้อักเสบ (ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่ควรเรียกว่า ยาแก้อักเสบ เพราะจะทำให้ สับสนกับยาแก้อักเสบประเภทอื่น ๆ) ควรให้ลูกทานให้ครบ ตามจำนวนวันที่คุณหมอแจ้งให้ทราบ การทานยาฆ่าเชื้อโรคครบ จะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำ และไม่ทำให้เกิดการดื้อยา ของเชื้อโรค

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า การให้ยาที่เหมาะสม ไม่ได้ทำให้ลูกมีอาการดีขึ้น ควรพาลูกไปพบคุณหมออีกครั้ง ในบางโรคอาการจะค่อย ๆ เปิดเผยออกมาตามลำดับเวลา ดังนั้น หากลูกมีอาการเปลี่ยนไป นอกเหนือไปจากยาที่ได้รับ หรืออาจมีอาการแย่ลง อย่าเพิ่งตกใจ พาไปพบคุณหมอใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ประเมินการวินิจฉัยและ การรักษาใหม่นะครับ

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุดและ ผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัว อย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นายแพทย์กฤษณ์  ศรีธิหล้า

แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประสบการณ์การทำงาน: แพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และโรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมื่อลูกกลัว การไปโรงพยาบาล

เมื่อไหร่ถึง ควรพาลูกไปหาหมอ

5 สัญญาณอันตราย รีบพาลูกไปโรงพยาบาล ทันที