ปัญหาลูกชอบกัดเล็บ เด็ก ๆ บ้านไหน มีพฤติกรรมชอบ กัดเล็บ บ้าง ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบ กัดเล็บ เด็กกัดเล็บ คุณพ่อคุณแม่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูล และ ปัญหาลูกชอบกัดเล็บ และข้อดี – ข้อเสีย รวมถึงวิธีแก้ไขปัญหาลูกชอบกัดเล็บมาฝาก จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ลูกชอบกัดเล็บ ต้องรีบแก้ กัดเล็บ เด็กกัดเล็บ ก่อนที่จะรุนแรงแบบนี้
พฤติกรรมตอนเด็กมักจะส่งผลมาถึงตอนโตได้เสมอ ปัญหา ลูกชอบกัดเล็บ ก็เช่นกัน พ่อแม่บางคนซีเรียสกับลูกมาก กลัวลูกติดเป็นนิสัย แต่พ่อแม่บางคนก็คิดว่าเดี๋ยวลูกโตคงจะเลิกไปเอง ลองมาดูกรณีตัวอย่างที่น้องคนหนึ่งที่ติดการกัดเล็บมาก ๆ
ผู้ใช้งานของเว็บไซต์เด็กดี ที่ชื่อว่า “ให้ตายเถอะ ซาร่า” ได้โพสภาพเล็บมือตัวเองทั้งสองข้าง พร้อมบอกว่าตัวเองเป็นคนกัดเล็บรุนแรงมา พอไม่มีเล็บก็ลามไปกัดหนังรอบๆ ของเล็บ บางครั้งเอากรรไกรมาตัดเพื่อเลาะหนังออก จนเล็บน่าเกลียดและกุดมาก อยากจะเลิกมาก ๆ แต่เลิกไม่ได้สักที สงสารแม่ที่ชอบโทษตัวเองว่าเป็นความผิดของแก
แน่นอนว่าเมื่อเด็กโตขึ้น จะให้เลิกทำอะไรบางอย่างจากความเคยชินเป็นเรื่องที่ยากมาก คนที่ต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมต้องใจแข็งและใช้ระยะเวลาอย่างมาก กว่าที่ตัวเองจะหลุดพ้นจากปัญหานั้นได้ แต่อะไรล่ะที่ทำให้เด็กกัดเล็บ และจะจัดการกับลูกที่ชอบกัดเล็บได้ยังไง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ ข้อดีของการดูดนิ้ว ทารกดูดนิ้ว ดีอย่างไร ต้องจับลูกเลิกหรือไม่ วิธีเลิกดูดนิ้ว วิธีเลิกกัดเล็บ
ทำไมเด็กถึงชอบกัดเล็บ กัดเล็บ
พฤติกรรมการกัดเล็บในเด็กพบว่ามีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ความเบื่อ เด็กที่กำลังกัดเล็บอยู่ แสดงว่าเด็กกำลังใช้ความคิดอย่างหนัก มีความกังวลบางอย่าง หรือจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก ๆ จนทำให้สมองสั่งการให้แสดงอาการออกมาโดยที่ไม่รู้ตัว โดยเด็ก ๆ สามารถเกิดความเครียดได้เมื่อต้องเจอกับภาวะเปลี่ยนแปลง เช่น การเข้าโรงเรียน การที่แม่มีน้องใหม่ หรืออีกสาเหตุคือ มาจากความเหงา อาการเบื่อหน่ายทางจิตใจ หรือมาจากอารมณ์โกรธที่โดนขัดใจ เครียดหาทางออกไม่ได้ บ้างก็เลียนแบบเพื่อน เห็นเพื่อนทำ ก็รู้สึกอยากทำด้วย หากลูกกัดเล็บแต่ยังไม่รุนแรงมากถึงขั้นทำร้ายตัวเอง หรืออาจไม่รู้ตัว หรือถ้ามีแนวโน้มที่จะกัดเล็บ เมื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่นการแสดงหรือการทดสอบอื่น ๆ นั่นเป็นเพียงวิธีการรับมือของลูกเท่านั้นเอง อย่าเพิ่งไปกังวล
ลูกชอบกัดเล็บมีผลดีอย่างไร
มีงานวิจัยหนึ่งที่เขียนขึ้นโดยนักวิจัยของ University of Otago จากนิวซีแลนด์ และ McMaster University จากแคนาดา ในวารสารกุมารเวชศาสตร์ ระบุว่า การกัดเล็บจะทำให้เด้กมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น และเป็นภูมิแพ้ได้น้อยกว่าคนอื่น ซึ่งเด็กเหล่านี้จะมีภูมิต้านทานต่อไรฝุ่น ขนสุนัขหรือแมว มากกว่าเด็กคนอื่นถึง 3 เท่า และจะติดตัวไปจนถึงตอนโต
ผลเสียสำหรับเด็กที่ชอบกัดเล็บ
หากมองในด้านสุขภาพเหมือนจะดีสำหรับลูกน้อย แต่ถ้ามองในเรื่องของบุคลิกภาพ การที่เด็กชอบกัดเล็บบ่อย ๆ นั้นคงจะไม่ดีแน่ เพราะถ้าปล่อยให้ลูกกัดเล็บไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเคยชินในอนาคตภาพลักษณ์ของลูกอาจจะดูไม่ดี แถมยังทำให้เล็บแหว่งๆ เหมือนหนูแทะอีก
การกัดเล็บเป็นประจำยังส่งผลต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยด้วย เพราะจะทำให้ฟันผิดรูป บิ่น และฟันไม่สวย เมื่อเด็กโตขึ้นอาจทำให้ขาดความมั่นใจก็ได้ อีกทั้งยังทำให้รูปเล็บเสียไป บางคนกัดจนเล็บกุดแล้วยังลามไปถึงกัดหนังบริเวณรอบเล็บจนเป็นแผล บวมแถมทั้งหมด รวมถึงอาจทำให้ลูกน้อยเอาไปเก็บนอนละเมอกัดเล็บโดยไม่รู้ตัว
วิธีที่ทำให้ลูกเลิกกัดเล็บ
- เวลาที่พ่อแม่เห็นลูกกัดเล็บ ควรเข้าไปอธิบายให้ลูกน้อยฟัง พยายามอย่าดุ หรือใช้ถ้อยคำที่รุนแรง โดยให้พูดประมาณว่า ถ้ากัดเล็บ โตขึ้นจะไม่สวยนะ หรือเล็บสกปรก กัดแล้วเดี๋ยวเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแล้วจะป่วย
- พยายามหาอย่างอื่นมาทดแทน เช่น เอาลูกอมมาให้ลูกน้อยได้อมแทน หรือพยายามทาเล็บให้สวย ๆ ให้เขารู้สึกว่าอยากจะถนอมเล็บให้อยู่นาน ๆ
- เบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อย โดยที่พ่อแม่ต้องหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ลูกน้อยชื่นชอบให้เขาได้ทำ จะได้ลืมเรื่องการกัดเล็บไปในที่สุด
- ป้ายยาที่เล็บ วิธีนี้สามารถใช้ได้ผลกับเด็กบางคนที่ต้องการเลิกดูดนิ้วแล้วเท่านั้น สำหรับเด็กที่ยังกัดอยู่คงใช้ไม่ได้ผล เพราะสุดท้ายแล้วลูกก็จะหันไปเก็บเล็บที่อื่น ๆ เผลอ ๆ อาจกัดที่เล็บเท้าเสียอีก
- ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ อย่าให้ลูกเห็นว่าเล็บตัวเองยาว เพราะถ้าเล็บสั้นลูกไม่มีที่กัดก็จะเริ่มหยุดกัดไปในที่สุด
สุดท้ายอยากจะบอกกับพ่อแม่ว่า ถ้าเห็นลูกเริ่มกัดเล็บต้องค่อย ๆ บอกถึงเหตุผลว่าทำไมไม่ควรกัดเล็บ แล้วค่อย ๆ หาวิธีต่าง ๆ มาลองใช้กับลูกอย่างใจเย็น ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป หากทำในวิธีเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล ให้คุณแม่พาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข และอย่าปล่อยไว้ให้เรื้อรังจนโต
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ระวัง! หากลูกชอบกัดเล็บ อันตรายถึงตายได้
ลูกดูดนิ้ว มีข้อดีไหม หรือว่าจำเป็นต้องห่วง