จำเป็นไหม ที่จะต้องสอนเรื่องความสมดุลระหว่างการเก็บออมและการใช้จ่าย

ผมเป็นคุณพ่อวัยเกษียณอายุ 75 ที่มองย้อนกลับไปดูว่า ตัวผมกับภรรยาสอนลูกเรื่องเงินอย่างไร และเราดีใจมากที่เรามุ่งเน้นเรื่องความสมดุล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผมเป็นคุณพ่อวัย 75 และตอนนี้ผมกับภรรยา กำลังใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างมีความสุขด้วยเงินออมที่มากพอให้ชีวิตอย่างมีสุข พอผมมองย้อนกลับไป ผมพอใจที่เราทำงานหนักแต่ก็ยังได้ทำสิ่งที่ชอบ และยังมีเงินเก็บพอสำหรับใช้จ่ายด้วย

พูดสั้น ๆ ก็คือ มันเป็นสมดุลของหยินหยาง และเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างการทำงานหนักกับการสนุกไปกับชีวิต ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลยที่เราเป็นแบบผู้รักสมดุล เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่หาทางมีสมดุลในชีวิตตัวเองและลูก (อยากรู้รูปแบบการสอนลูกเรื่องเงินของคุณไหม ลองทำแบบทดสอบนี้ดู)

ที่สำคัญที่สุดก็คือ ผมดีใจที่เราส่งต่อความรู้เรื่องเงินที่สำคัญให้กับลูก โดยมุ่งเน้นเรื่องความสมดุล ตอนนี้ลูกชายของเราอายุ 30 กลาง ๆ ใช้ชีวิตอย่างสบายและมีเงินเก็บเยอะพอตัว

พ่อแม่แบบผู้รักสมดุลจะทำได้แบบเดียวกันไหม ทำไมล่ะ

 

บทเรียนเรื่องเงินที่เราสอนลูกชาย

1. การออม

ตอนลูกชายผมอายุสามขวบ ผมให้กระปุกออมสินกับลูก เขาตื่นเต้นดีใจกับเสียงเหรียญกระทบกับพลาสติกมาก และนี่ก็เป็นบทเรียนเรียนเรื่องเงินครั้งแรกของเขา ยิ่งมีเงินอยู่ข้างในมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเสียงก๊องแก๊งน้อยลง ในขณะที่เสียงก๊องแก๊งตอนที่กระปุกมีเหรียญอยู่น้อย มันจะฟังดูน่าสนุก แต่จริงๆ แล้ว มันคือเสียงเตือนต่างหาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากนั้นเป็นต้นมา เขาก็ตั้งใจหยอดเงินใส่กระปุกเสมอ มันกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต

แต่แน่นอน ความสมดุลคือสิ่งสำคัญ เราย้ำเตือนเขาว่าอย่าลืมความสุขง่ายๆ ในชีวิต ตอนที่เราพาเขาออกไปข้างนอก เราก็สนับสนุนให้เขาซื้อยางลบหรือขนมเพื่อเป็นรางวัลกับตัวเอง คำขวัญสำหรับผู้รักสมดุลอย่างเราก็คือ อดออมไม่ใช่อดอยาก ใช้ชีวิตให้มีสุขด้วย

2. การลงทุน

ตอนลูกชายอายุได้หกขวบ ผมสอนบทเรียนแรกเกี่ยวกับดอกเบี้ย ผมบอกลูกว่าทุกๆ สิบดอลลาร์ที่ลูกเก็บออมจากค่าขนม พ่อจะเพิ่มให้อีกหนึ่งดอลลาร์

เข้าใจแนวคิดนี้ได้อย่างรวดเร็ว และออมเงินทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อให้ผมเติมเงินเข้าไปในกองเงินนี้ ตัวผมเองช่วยออกเงินซื้อของหลายอย่างในช่วงวัยรุ่นของลูก และเขาก็เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผมประหลาดใจมากที่รู้ว่า ความกล้าที่จะเสี่ยงของลูก เยอะกว่าผมซะอีก ผมอยู่ในฝั่งที่ไม่กล้าเสี่ยงมาตลอด แต่ลูกก็สอนผมเรื่อยมา เรื่องความจำเป็นของการคำนวณความเสี่ยง ตั้งแต่เขายังเป็นวัยหนุ่มสาวเลย

3. ไม่เห็นในรูปแบบตัวเงินเสมอไป

ตอนลูกอายุหกขวบ ผมสอนลูกว่าบัญชีธนาคารคืออะไร เพราะเขาคอยถามอยู่เรื่อยว่า พอกระปุกเต็มแล้ว จะเอาเหรียญไปเก็บที่ไหนและก็ถามอีกว่า เงินอั่งเปาที่ได้ ไปอยู่ไหนล่ะ

ผมอธิบายไปว่า ลูกอาจจะไม่เห็น แต่มันมีอยู่ และค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้น ยิ่งไม่เห็นนานเท่าไหร่ มันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นนะ

แน่นอนว่าเขาไม่เข้าใจความจำเป็นในการเอาเงินเก็บไปฝากธนาคารในทันที ตอนอายุหกขวบเขาก็เก่งเรื่องการต่อรองแล้ว เขามีข้อโต้แย้งที่สร้างสรรค์ว่าทำไมต้องใช้เงิน ก่อนที่จะฝากเงินทั้งหมดนั่น ฝากนานจนลืมไปเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และเราไม่เคยให้เขาเก็บเงินทั้งหมด เรามองว่าชีวิตไม่ได้มีแต่เรื่องเงิน ตอนที่ลูกอยากได้อะไร เขาก็ควรซื้อด้วยเงินที่เราให้เขาเก็บออมไว้

แน่นอนว่า ตอนนี้เขาแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปฝากประจำ และอีกส่วนไปลงทุนเพื่อให้มีรายได้โดยไม่ต้องออกแรง เราอาจจะเป็นคนปูพื้นให้เขา แต่เขาเป็นคนต่อยอดเอง ต่อยอดไปเยอะเลยแหละ แต่นั่นก็คือสิ่งที่เราอยากให้เขาทำ

4. รวมกันแล้วก็เยอะ

ในฐานะที่เป็นลูกเก่งคณิตศาตร์ ลูกผมเข้าใจตัวเลขอย่างดี ผมเลยใช้ตัวอย่างในชีวิตจริงเพื่อสอนเขาให้เข้าใจเรื่องรายจ่าย โดยการนำมารวมกัน จะมีวิธีไหน ที่ดีเท่ากับการเรียนรู้จากบริบทในชีวิตจริงอีกล่ะ

ตัวอย่างเช่น ตอนเราฉลองด้วยแมคโดนัลด์เป็นครั้งคราว ผมจะถามลูกว่า ถ้าซื้อชุดแฮปปีมีลทุกวัน จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ลูกก็จะคิดคำนวณออกมา แล้วผมถามต่อว่าถ้าซื้อติดต่อกันเป็นเดือน เป็นปีล่ะ

การทำให้เขาเข้าใจว่าของแค่อย่างเดียว พอมารวมๆ ดูแล้วก็ถือว่าเยอะในแง่ของรายจ่าย สิ่งนี้เป็นบทเรียนสำคัญของผมกับลูก และยังเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้ในปัจจุบัน การทำให้เขาเห็นรายจ่ายแบบนี้ ทำให้เขาประหยัดไปได้เยอะเลย อันที่จริงแล้ว เขาทำได้เก่งกว่าผมอีก

5. เงินทองนั้นหายาก

ลูกของผมเริ่มทำงานหาเงินเองตอนที่เรียนวิทยาลัยชุมชน เขารับสอนพิเศษหารายได้เสริมเพื่อไปซื้อบัตรคอนเสิร์ต ตั๋วหนัง และอะไรก็ตามที่เขาอยากได้ ต่อมาเขาก็ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่โกดังเก็บสินค้าเพื่อหาเงินเที่ยวกับเพื่อน โดยเขาทำจนถึงช่วงเข้ามหาวิทยาลัย

เราสนับสนุนให้เขาไขว่คว้าข้อดีของทั้งสองด้านมาตลอด ให้เขาเรียนรู้ว่าชีวิตการทำงานหาเงินมันเป็นยังไง (ถึงแม้มันจะเป็นมุมเดียวของแผนการดำเนินชีวิตก็ตาม) แต่ก็ไม่ลืมที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวด้วย

สำหรับเรา การใช้จ่ายเงินไปกับเรื่องพวกนี้ถือว่าเป็นการลงทุนเช่นกัน เราให้เงินลูกไปเที่ยวยุโรปสามเดือนเป็นของขวัญที่ลูกจบการศึกษา แต่ให้ครึ่งเดียวนะ เพราะลูกรู้ว่าเงินพวกนี้ต้องทุ่มแรงกายในการหามา และเขายืนยันที่จะออกเองครึ่งหนึ่ง

สำหรับผมแล้ว สิ่งนี้แหละคือตัวชี้วัดว่าเราประสบความสำเร็จในการสอนลูกเรื่องเงิน ลูกได้เรียนรู้คุณค่าของเงินแล้ว และเขาก็เรียนรู้ความสำคัญของการใช้จ่ายเงินซื้อของอย่างคุ้มค่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด

การสอนลูกเรื่องเงินก็เหมือนการเดินทาง และมันไม่มีแค่เส้นทางเดียว ผมพบว่าเมื่อก่อน ผมเป็นคนสอนลูก แต่ในวันนี้ ลูกสอนผมเรื่องการเกษียณ การออมเงิน ข้อมูลกรมธรรม์ การลงทุน สอนว่าควรเอาทรัพย์สินไปทำอะไร และอีกเยอะแยะเลย ผมชอบที่มันเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่างบทเรียนในวัยเด็กที่ผมสอนกับสิ่งที่เขาค้นพบด้วยตัวเองจากประสบการณ์ชีวิต

ผมว่าการสอนลูกเรื่องเงินในแบบของผู้รักสมดุลอย่างเราก็เป็นแบบนี้แหละ มันคือการชี้แนะแนวทางโดยไม่ประคบประหงมเกินไป และสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับลูกของเรา เพื่อที่เขาจะได้พัฒนาต่อเติมยิ่งขึ้นไปอีก

เราพยายามสอนลูกเรื่องคุณค่าของเงินและวิธีใช้เงินอย่างชาญฉลาด การที่ได้รู้ว่าลูกของเราหาสมดุลได้ ทำให้เราเกิดความมั่นใจว่า ลูกของเราเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตในอนาคตมาเป็นอย่างดี

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team