ลงทุนเพื่อครอบครัว เก็บเงินโบนัสไปต่อยอดเป็นกำไร

ช่วงใกล้สิ้นปีเช่นนี้ เชื่อว่าหลายคนคงหวังเงินก้อนจากโบนัสอย่างใจจดใจจ่อ บ้างหวังเอาไปปลดหนี้ หรือไม่ก็เที่ยวแสวงหาความสุขช่วงวันหยุดปีใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไร เก็บ โบนัสเป็นกำไร

แต่นั้นอาจทำให้สลายเงินได้อย่างรวดเร็ว และ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ลองมาปฏิวัติการจับจ่ายใช้สอยกันใหม่ ด้วยการลงทุนที่สามารถสร้างกำไรได้ถึง 2 ต่อ ทั้งได้เงินเพิ่ม และช่วยลดหย่อนภาษี ซึ่งทุกคนจะต้องยื่นในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2560 โบนัสเป็นกำไร

โบนัสเป็นกำไร

1. ลงสนามประลองเล่นหุ้น

สมัยนี้ทำงานประจำอย่างเดียวคงไม่ได้แล้ว อาจไม่พอกิน ทางทีดีเมื่อมีโอกาสครอบครองเงินก้อนโตจากโบนัส ลองแปรสภาพลงทุนซื้อหุ้นก็ไม่เสียหาย แต่แนะนำให้เลือกแสวงหากำไรหรือออมเงินจากหุ้นผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ และให้เงินปันผล เพื่อจะได้ไม่เจ็บตัวหรือเผชิญกับการขาดทุน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับภาวะตลาดหลักทรัพย์ตกอย่างหนักก็ตาม ประกอบเอกสารแจ้งจำนวนเงินปันผลที่ได้ ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

2. ออมเงินแบบใหม่ ซื้อกองทุนรวม

ปัจจุบันเมืองไทยบ้านเราได้เปิดโอกาสให้ร่วมลงทุนในกองทุนรวม ทั้งรูปแบบระยะยาว LTF และเพือการเลี้ยงชีพ RMF โดยถือว่าเป็นรูปแบบการลงทุนเพื่อออมเงินได้ดี แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องถือเงินไว้อย่างน้อย 5 ปี ถึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ ซึ่งรูปแบบนี้ไม่อาจลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อไขของกรมสรรพากร ทั้งนี้ทั้งนั้นระหว่างถือครอบสามารถนำเอกสารการซื้อกองทุนไปลดหย่อนได้ โดยมีข้อแม้ว่าไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี

3. ปรับเปลี่ยนสถานะ ให้เป็นนักลงทุนอสังหาฯ

ดูเหมือนทุกวันนี้บรรดาผู้ประกอบการอสังหาฯ จะงัดโปรโมชั่นเด็ด เพื่อรองรับกลุ่มนักลงทุน ด้วยผลตอบแทนค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดนักลงทุนมือใหม่ค่อนข้างเยอะ ทั้งแบบแสวงรายได้ระยะสั้นและระยะยาว จากการปล่อยเช่า ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีต่อการแปลงเงินโบนัสให้ต่อยอดรายได้ของเราต่อไป แต่อาจจะต้องศึกษาทั้งการลงทุน หรือแม้กระทั้งภาษีให้ดี เพราะอาจมีค่าธรรมเนียมอะไรตามมา

4. ซื้อประกันชีวิต เพื่ออนาคตของตนเอง

อย่าเพิ่งเบื่อหน่ายกับการฟังพนักงานขายประกันชีวิต เพราะรู้ไหมว่านอกจากจะช่วยให้เราหรือลูกหลานไม่อดตายในอนาคตแล้ว หากเลือกทำประกันรูปแบบนี้ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป นอกจากจะได้กำไรจากเบื้ยประกันแล้ว ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท เรียกได้ว่า งานนี้ ได้กับได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียกว่าได้เงินก้อนใหญ่จากการทำงานมาตลอดทั้งปี แสนจะเหนื่อยล้า คงต้องรู้จักนำมาใช้ให้ถูกต้อง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และสร้างมูลค่าของโบนัสให้เจริญงอกงามต่อไป

เมื่อถึงช่วงสิ้นปี สิ่งที่พนักงานบริษัททุกคนตั้งตารอคอยมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเงินโบนัสประจำปีนั่นเอง ระบบโบนัสกลายมาเป็นเรื่องมาตรฐานของแทบทุกบริษัทไปแล้ว แล้วมันก็ยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ในการเข้าร่วมงานกับแต่ละบริษัทได้เหมือนกัน

โบนัส นั้นคือเงินค่าตอบแทนพิเศษที่ทางบริษัทให้เป็นสินน้ำใจ มักจะมาจากผลประกอบการที่ดี แต่ปัจจุบันโบนัสกลายมาเป็นหนึ่งของเครื่องสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน กลายเป็นระบบมาตรฐานของบางบริษัท (โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ) ที่ไม่ว่าจะทำกำไรได้มากน้อยเพียงไรก็จำเป็นจะต้องจ่ายโบนัสให้กับพนักงานให้เป็นมาตรฐานปกติ เพียงแต่ว่าจำนวนเงินจะมากน้อยเพียงไรก็อาจจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการในปีนั้นๆ ด้วยนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พนักงานส่วนใหญ่อาจมองว่าโบนัสเป็นเรื่องง่ายๆ ก็แค่เงินที่ให้พิเศษเป็นของขวัญเท่านั้นเอง แต่ถ้าคุณเป็นฝ่ายบริหารหรือแม้กระทั่งอยู่ในฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ที่ต้องดูแลเรื่องนี้โดยตรงก็จะรู้ดีกว่าเรื่องโบนัสมีรายละเอียดหยุมหยิม ยิบย่อย และมีอะไรมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะเรื่องการประเมินโบนัสที่มีรายละเอียดต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมา

+ โบนัสประจำปี : ระบบโบนัสแบบนี้เป็นมาตรฐานปกติสำหรับบริษัททั่วไป การจ่ายโบนัสจะมีปีละ 1 ครั้ง โดยมักจะจ่ายกันทุกช่วงสิ้นปี หรือไม่ก็ตรุษจีน หรือวันสงกรานต์ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบริษัท

+ โบนัสประจำไตรมาส : บางบริษัทมีระบบจ่ายโบนัสทุก 3 เดือน บริษัทส่วนใหญ่ที่จะใช้ระบบนี้มักทำธุรกิจที่ต้องการความว่องไว แข่งขันสูง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจตลอดเวลา ต้องการกระตุ้นพนักงานอยู่เสมอ มีส่วนน้อยที่ใช้ระบบนี้เพื่อแบ่งเบาภาระการจ่ายโบนัสเป็นเงินก้อนในคราวเดียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

+ โบนัสประจำปีแบบแบ่งงวด : ระบบโบนัสแบบนี้จะมีหลักการเหมือนโบนัสประจำปีปกติ แต่จะมีการแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คือกลางปี และปลายปี แทน พนักงานจะไม่ได้เงินก้อนในคราวเดียว บริษัทก็จะแบ่งเบาภาระในการจ่ายเงินก้อนโตได้ด้วย ระบบนี้มักใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการประเมินโบนัสให้พนักงานในอัตราที่สูง

+ โบนัสแบบ 2 ครั้ง/ปี : ระบบโบนัสแบบนี้จะว่าเป็นการจ่ายโบนัสประจำปีแบบแบ่งงวดก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะการจ่ายโบนัสแต่ละครั้งก็มีเกณฑ์ในการประเมินที่แตกต่างกัน โดยบริษัทที่จ่ายโบนัสในระบบนี้มักจะใช้หลักการมาตรฐานเดียวกันนั่นก็คือ โบนัสปลายปีเป็นอัตรามาตรฐานที่ทุกคนได้รับเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน (แต่บางครั้งก็มีการพิจารณาตามแผนกหรือตามระดับงาน) ส่วนโบนัสกลางปีมักเป็นการประเมินตามศักยภาพการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละคนก็จะได้โบนัสไม่เท่ากัน

+ โบนัสการันตี (Bonus Guarantee) : รูปแบบนี้จะมีการรับประกันการจ่ายโบนัสที่ชัดเจนตั้งแต่แรก โดยมากมักจะเป็น Fixed Bonus หรือโบนัสในอัตราคงตัวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้ว่าบริษัทจะมีผลประกอบการที่ดีหรือแย่ก็ตาม  ข้อดีก็คือพนักงานจะรู้สึกมั่นคง คาดการณ์โบนัสได้แน่นอน แต่ข้อเสียก็คือมักจะไม่เป็นแรงจูงใจที่ดีสำหรับพนักงานที่ขยัน หรือคนที่มีความสามารถ และไม่ดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาร่วมทำงานด้วยนัก สำหรับตัวบริษัทเองอาจมีปัญหาเวลาผลประกอบการได้กำไรน้อย เพราะสัญญาไว้แล้วว่าจะจ่ายโบนัสในอัตรานี้เป็นประจำ อย่างไรก็ดีบริษัทที่ใช้ระบบนี้เริ่มลดจำนวนลงเรื่อยๆ เหตุหนึ่งเพราะบริษัทยุคใหม่มักไม่ต้องการแบกภาระความเสี่ยงกับสถานการณ์ทางการเงินที่คาดเดาไม่ได้

+ โบนัสแปรผันตามผลประกอบการ : การจ่ายโบนัสในรูปแบบนี้ดูจะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงธุรกิจขนาดเล็ก อันเนื่องมาจากความผันผวนทางธุรกิจที่มีอยู่ตลอดเวลา ข้อดีของระบบนี้ก็คือมีความยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย หากผลประกอบการดีบริษัทก็สามารถจ่ายโบนัสได้มาก หรือหากผลประกอบการย่ำแย่บริษัทก็สามารถงดจ่ายโบนัสได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นความเสี่ยงในรูปแบบ High Risk, High Return ที่คุ้มค่าอยู่เหมือนกัน

 

ขอบคุณ ข่าวอสังหาฯ-บทความจาก DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แปลงบ้านให้ประหยัดพลังงาน เพิ่มความเย็น ลดค่าใช้จ่าย

แม่ๆ รู้ยัง ช้อปออนไลน์เพลินๆ ก็ลดหย่อนภาษีได้นะ

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุกหยุดไม่อยู่ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya