ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

คุณแม่ท่านนี้ได้แชร์ประสบการณ์เตือน เมื่อลูกต้องได้รับการผ่าตัดเหตุเพราะ ลำไส้กลืนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หนึ่งในสมาชิกเพจคนท้องคุยกัน ได้แชร์ประสบการณ์ผ่านเพจเกี่ยวกับลูกที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเหตุเพราะลำไส้กลืนกันเมื่อตอนน้องมีอายุได้ 5 เดือน และจากการพูดคุยกับคุณแม่ ๆ ได้เล่าว่า

เริ่มต้นอยู่ดี ๆ น้องก็ร้องกรี๊ดเหมือนกับโดนอะไรกัด หรือเจ็บอะไสักอย่างมาก เมื่อคุณแม่พยายามหาว่าตัวอะไรกัด ก็ไม่สามารถหาเจอ น้องร้องหนักมากจนกระทั่งสี่ทุ่ม น้องก็ไม่สามารถกินนมได้เลย กินอะไรเข้าไปก็อาเจียนออกมาหมด เป็นแบบนี้ตลอดทั้งคืน จนกระทั่งเช้า น้องเริ่มมีอาการท้องบวม ตาลอย ซึม ไม่ร้องไห้ เอาแต่นอนนิ่งอย่างเดียว คุณแม่จึงรีบพาน้องไปโรงพยาบาล

คุณหมอให้น้องนอนรอดูอาการอยู่หนึ่งวันหนึ่งคืน ซึ่งระหว่างที่นอนรอนั้น น้องก็ยังคงไม่สามารถทานนมได้เลย ถึงทานก็อาเจียนออกมาหมด ท้องเริ่มบวมขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีการถ่ายแต่อย่างใด ทางโรงได้ขอเอ็กซเรย์ท้องของน้องจนรู้ว่า น้องเป็นลำไส้กลืนกัน

หมอแนะนำวิธีการช่วยเหลืออยู่สองทางคือ ทางแรกเป็นการอัดแป้งเข้าไปให้ลำไส้คลายออก แต่ด้วยน้องเล็กเกินไป คุณหมอจึงไม่อยากเสี่ยง เพราะถ้าไส้แตก คุณหมอก็จะต้องทำการผ่าและล้างอยู่ดี ทางที่สองคือ ผ่าตัดเพื่อดึงไส้ออกจากกัน คุณแม่จึงเลือกทางที่สอง โชคดีที่รู้ไว ทำให้ลำไส้ของน้องไม่เน่า เพราะถ้าหากรู้ช้ากว่านี้ คุณหมอจะต้องทำการตัดต่อไส้ด้วย

ปัจจุบัน น้องอาการหายดีและเป็นปกติแล้ว คุณแม่จึงอยากเอาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นอุทาหรณ์ให้กับทุกครอบครัวที่มีลูกเล็กทุกคนค่ะ … และถึงแม้ว่าทางการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานว่าลำไส้กลืนกันเกิดจากป้อนกล้วย แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์ก็ยังไม่แนะนำให้ป้อนกล้วยและอาหารอื่นๆ ก่อน 6 เดือน เนื่องจากลำไส้ของลูกยังทำงานไม่สมบูรณ์ การให้นมแม่อย่างเดียวคืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาทำความรู้จักกับโรคลำไส้กลืนกันกันได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

โรคลำไส้กลืนกันคืออะไร?

โรคลำไส้กลืนกันเป็นโรคที่เกิดจากส่วนหนึ่งของลำไส้ซึ่งอยู่ต้นกว่า เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้ อีกส่วนหนึ่งอยู่ปลายกว่า โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ โรคนี้พบมากในเด็กอายุ 4-12 เดือน พบได้จนถึง 2 ขวบ มักเกิดในเด็กแข็งแรงดีมาตลอด แต่หากโรคนี้เกิดในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มักมีสาเหตุที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน เช่น มีเนื้องอกในลำไส้

อาการของโรคลำไส้กลืนกันเป็นอย่างไร?

เมื่อเกิดโรคลำไส้กลืนกัน เด็กจะมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ แต่เนื่องจากยังพูดไม่ได้จึงแสดงอาการเริ่มต้นออกมาเป็น ร้องกวน กระสับกระส่ายเป็นระยะ มีอาเจียนร่วมด้วย อาจอาเจียนจนมีสีเขียวของน้ำดีปนออกมา ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดเพราะมีส่วนของลำไส้ที่ตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ต่อมาอาจมีไข้และเริ่มซึมลง ซึ่งบ่งว่าอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคลำไส้กลืนกัน?

หากลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้นคุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะถามประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งของก้อนที่เกิดจากลำไส้กลืนกัน โดยจะคลำพบก้อนในช่องท้อง จากนั้นคุณหมอจะส่งตรวจทำอัลตราซาวนด์ และส่งตรวจสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และบางครั้งอาจทำการรักษาได้ด้วยค่ะ

การรักษาโรคลำไส้กลืนกันทำได้อย่างไร?

การรักษาโรคนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือการผ่าตัดและการดันลำไส้ที่กลืนกันออก โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งจะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและลำไส้ที่ผิดปกติของผู้ ป่วยขณะที่มารับการรักษาเป็นหลัก สำหรับการรักษาโดยการดันลำไส้คุณหมอจะใช้แรงดันผ่านทวารหนักดันลำไส้ที่กลืน กันออกโดยใช้สารทึบแสงทางเอ็กซเรย์ หรือใช้ลม แต่หากมีลำไส้กลืนกันมาเป็นเวลานานจนมีการเน่าตายของลำไส้จากการขาดเลือด หรือใช้วิธีการรักษาโดยดันลำไส้แล้วไม่สำเร็จ คุณหมอจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 อาการป่วยของลูก ที่ไม่ควรมองข้าม

แชร์ประสบการณ์ ลูกโดนหอมแก้มจนติดเชื้อแบคทีเรีย

บทความโดย

Muninth