ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี

หลายบ้าน อาจประสบปัญหา ลูกไม่ยอมเข้านอน หรือพาเข้านอนแล้ว แต่นอนไม่หลับ ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี มาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี

ในช่วงวันหยุด หรือปิดเทอมยาว ๆ หรือ ช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน อาจประสบกับปัญหาลูกไม่ยอมเข้านอน หรือพาเข้านอนแล้ว แต่นอนไม่หลับ  อาการเหล่านี้จัดว่าเป็น “ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก” ซึ่งนอกจาก จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกเอง คือทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตแล้ว ยังจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณพ่อคุณแม่ทำงานมาทั้งวัน ในช่วงกลางวัน แล้วกลับมาบ้านพบว่า ลูกไม่ยอมนอน เราจึงควรมาทำความเข้าใจ ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ และการแก้ไข ว่าถ้าหาก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี กันดีกว่าค่ะ

ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก คืออะไร?

ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ครอบคลุม ถึงปัญหา ตั้งแต่ความยากลำบาก ในการเริ่มเข้านอน ความยากลำบาก ในการนอนได้ระยะเวลาที่ต้องการ รวมถึง การตื่นนอน ก่อนเวลาปกติ ซึ่งอาจมีปัญหา ร่วมกับการตื่นตัวทางสรีรวิทยา และการเรียนรู้ ที่จะป้องกันตนเอง ไม่ให้หลับของเด็ก ซึ่งภาวะนี้ จะพบบ่อย ในเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี และ เด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี มากที่สุด

สาเหตุของ ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก คืออะไร?

สาเหตุของภาวะนี้ ยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีปัจจัย ที่เกี่ยวข้องบางประการ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พฤติกรรมการนอน ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนอนกลางวันบ่อย หรือนานเกินไป การไม่เข้านอน ตามเวลาที่เหมาะสม การนอนมากจนเกินไป 
  • ลักษณะบุคลิกภาพของเด็ก เช่น ย้ำคิด ย้ำทำ อารมณ์กดดัน มีความตื่นตัว มากเกินไป
  • ปัญหาสุขภาพทางกาย เช่น ความเจ็บปวด จากอาการป่วยต่าง ๆ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ และโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีอาการ ในช่วงกลางคืน เช่น โรคหืด เป็นต้น
  • ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด จากเหตุการณ์ ในชีวิตต่าง ๆ ของเด็ก เช่น การเปลี่ยนโรงเรียน หรือปัญหา ในครอบครัว
  • ประวัติครอบครัว พบว่า เด็กที่มีคุณพ่อคุณแม่ มีภาวะนอนไม่หลับ จะมีโอกาส เกิดภาวะนอนไม่หลับ สูงกว่า เด็กปกติ ซึ่งอาจมีส่วน มาจากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมการเลียนแบบ นิสัยการนอนหลับ จากสมาชิกในครอบครัว อีกด้วย
  • การใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น ยาแก้คัดจมูก pseudoephedrine ก่อนเข้านอน
  • การดื่มเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ เช่น น้ำอัดลม โกโก้ ชานมไข่มุก ก่อนเข้านอน
  • สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน แสงสว่างจ้า มากเกินไป รวมถึงกิจกรรมก่อนเข้านอน ที่เลยเวลา เช่น การดูหน้าจอ หรือ เล่นคอมพิวเตอร์ นานเกินไป

วิธีการแก้ไข ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี

การแก้ไขภาวะนี้ อันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ ควรทบทวนถึงสาเหตุต่าง ๆ ข้างต้น ทีละข้อ และแก้ไข ทุกปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งบางคนอาจมีสาเหตุหลายข้อ ก็ต้องแก้ไข ให้ครบทุกสาเหตุ รวมถึงปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการนอนของลูก ดังนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ตกลง เวลาเข้านอน และ ตื่นนอน กับลูก อย่างชัดเจน โดยทำให้เหมือนกันทุกวัน ทั้งวันธรรมดา และ วันหยุด เพื่อให้เป็นนิสัย ที่เคยชิน
  • จัดกิจวัตรประจำวัน ก่อนเข้านอน ให้เงียบสงบ
  • งดกิจกรรมที่ตื่นเต้น หรือ กระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว ก่อนนอน เช่น ดูทีวี เล่นเกม ฟังเรื่องตื่นเต้น หรือ วิ่งเล่น
  • ไม่ควรมี คอมพิวเตอร์ หรือ โทรทัศน์ ในห้องนอน
  • ไม่ทานยา ที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ก่อนเข้านอน
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีน ก่อนเข้านอน
  • ให้ลูกออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ในช่วงกลางวัน และ เย็น
  • จัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอน ให้เหมาะสม เช่น ปิดไฟมืด เงียบ จัดอุณหภูมิให้พอเหมาะ ไม่ร้อน หรือ เย็นจนเกินไป
  • พูดคุยกับลูก ถึงสาเหตุการนอนไม่หลับ ที่อาจเกิดจากภาวะทางจิตใจ เพื่อให้ลูก รู้สึกผ่อนคลาย และ หาทางช่วยจัดการ กับปัญหาต่าง ๆ

ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย แต่ส่วนมาก มักเกิดจาก ปัจจัยกระตุ้นที่ไม่รุนแรง และ สามารถแก้ไขได้ โดยการพูดคุย ตกลงกติกา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ สิ่งแวดล้อมในการนอน ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ ได้ลองจัดการแก้ไขดูแล้ว ยังไม่ดีขึ้น ควรพิจารณา พาลูกไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุต่าง ๆ และ ช่วยแก้ไขอย่างเหมาะสมต่อไปนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 สิ่งที่ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน ได้ดีกว่าพ่อแม่

ทำไมเจ้าตัวเล็กถึงชอบร้องและตื่นนอนตอนกลางคืน?

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กเล็ก ที่พบบ่อยมากที่สุด มีอะไรบ้าง