รู้จักกับกลไกสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อย
วันที่ลูกลืมตาออกมาดูโลก ในระบบทางเดินอาหารของทารกจะมีสภาวะปลอดเชื้ออยู่ ซึ่งเด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์ดีที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ที่จะเข้าไปสะสมและพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ของทารกได้ทันที ขณะที่เด็กผ่าคลอดจะยังไม่ได้รับและอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยและติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ ลำไส้อักเสบ และโรคท้องร่วงได้ง่าย
แล้วลูกจะได้ภูมิคุ้มกันจากไหนได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ต้องวิตกจนเกินไป เพราะนอกจากลูกจะได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นระหว่างคลอดแล้ว เด็กทารกยังได้รับแหล่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากแหล่งอื่นด้วย ซึ่งโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต นั่นคือ “นมแม่” ซึ่งไม่เพียงมีจุลินทรีย์ดีเท่านั้น ในนมแม่มีสารอาหารหบากหลาย โดยเฉพาะ น้ำนมเหลือง น้ำนมระยะแรก ที่จำเป็นกับเด็กคลอดธรรมชาติ และสำคัญที่สุดกับเด็กผ่าคลอด
แหล่งสร้างภูมิคุ้มกันสำคัญ เริ่มต้นที่ระบบทางเดินอาหาร
เนื่องด้วย 70% ของภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้ ทำให้มีหลายๆ กรณีศึกษาเน้นให้ความสำคัญเรื่องโภชนาการในเด็กเพื่อช่วยเร่งคืนภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะเด็กผ่าคลอดที่แม่ไม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้เพราะไม่มีน้ำนมหรือเหตุผลอื่นๆ เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับการปกป้องและเติบโตเต็มศักยภาพ
เด็กผ่าคลอดเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วย น้ำนมเหลือง
ใน น้ำนมเหลือง น้ำนมระยะแรกที่มีเพียง 1 – 3 วัน หลังคลอด อุดมไปด้วย แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนที่พบมากที่สุดในน้ำนมเหลือง สารอาหารที่ป้องกันลูกน้อยจากเชื้อโรค เพราะแบคทีเรีย ไวรัสก่อโรคในลำไส้จะใช้โมเลกุลของธาตุเหล็กในการเจริญเติบโต ซึ่ง แลคโตเฟอร์ริน สามารถจับธาตุเหล็กได้ดี จึงไปจับกับธาตุเหล็ก แบคทีเรียและไวรัสไม่สามารถเติบโตได้ จึงตายในที่สุด นอกจากนี้ในน้ำนมเหลือง ยังมี MFGM ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณของประสาท และช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้ลูกน้อยมี IQ EQ ที่เหนือกว่าใน 5 ปีแรก แล้วยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นได้อีกด้วย
สำหรับลูกน้อยผ่าคลอดที่แม้ลูกพลาดภูมิคุ้มกันในตอนแรกเกิด โภชนาการในช่วงแรกของชีวิตเป็นสิ่งที่คุณแม่มอบให้กับเขาได้ โดยเฉพาะในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เพื่อสร้างรากฐานของระบบภูมิคุ้มกัน ที่จะเป็นเกราะป้องกันสำคัญทำให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง และเป็นต้นทุนสำคัญของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเขาในระยะยาว
หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเสริมโภชนาการที่เหมาะสมให้กับลูกน้อย หรือต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าคลอดเพิ่มเติม คลิก
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้ ขั้นตอนคลอดลูกแต่ละสเต็ป
เคล็ดลับเสริมภูมิต้านทานให้ลูกด้วยสารอาหาร
ภูมิต้านทาน กับ สมอง สิ่งไหนสำคัญต่ออนาคตของลูกรักมากกว่ากัน??