แม่ลูก ขอต้อนรับสู่ชีวิต สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงได้ครั้งใหญ่ในชีวิต

เมื่อคลอดลูกแล้ว คุณแม่ทุกคนจะได้พบกับความเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่โลกใบใหม่ของชีวิตแม่ลูกอ่อน ที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอเชิญ มนุษย์ แม่ลูก ทั้งหลายมาสัมผัสช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งสำคัญนี้ ซึ่งบางมุม แม่ลูก อาจจะเป็นเรื่องแปลกแบบที่เราไม่เคยทำมาก่อนเลย

 

ขอต้อนรับสู่ชีวิต มนุษย์แม่ลูกอ่อน เเม่ลูก สิ่งที่คนเป็นแม่เท่านั้นจะได้เจอ

ดูซิหลังคลอดจะต้องเจอกับอะไร ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

1. ช่วงเวลาตั้งท้องนั้นถึงแม้จะมีหน้าท้องที่ป่อง แต่ก็จะช่วยให้หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีเส้นผมที่เงางามดกดำ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. แต่พอหลังคลอดนี่สิ อะไรตึง ๆ ก็จะเริ่มหย่อน ผมก็ร่วง และหลังหยุดนมลูกแล้วหน้าอกมันก็ …. ยุบ!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. บางครั้งต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า เเม่ลูก แอบไปนั่งร้องไห้ในห้องน้ำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. หรือต้องมีปัญหากับภาวะฉี่เล็ดหลังคลอด

 

 

5. บางครั้งก็รู้สึกเครียด จิตตก ปวดนู่นนี่ แต่ก็รู้สึกผ่อนคลายอย่างบอกไม่ถูกในบางครั้งเช่นกัน

 

 

6. แน่นอน.. ผมร่วงก็เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่แม่ลูกอ่อนต้องเจอแน่ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อะไรที่ว่าน่ารังเกียจ รับได้แน่เมื่อเป็น สาวแม่ลูกอ่อน

1. ขยันดมก้นลูกว่า อึ้หรือฉี่ แล้วยัง

 

2. หาวิธีจัดการไม่ให้เจ้าตัวน้อยอ้วกหรือแหวะนม

 

 

3. ยังเซลฟี่ยิ้มสู้ได้แม้ว่าจะเจออะไรที่มันเลอะเทอะก็ตาม

 

 

4. แม้กระทั่งเจอลูกฉี่ใส่หน้า ก็รับได้ค่ะ

 

 

5. หรืออึ้ที่ล้นผ้าอ้อมออกมาแล้ว

 

 

เห็นตรงกันมั้ยว่า “ความเป็นแม่นั้นเป็นสิ่งที่สวยงามและยากที่สุดในเวลาเดียวกัน” แม่แต่ละคนจะไม่มีใครคาดเดาสถานการณ์หรือจินตนาการการเลี้ยงลูกได้อย่างสวยหรูเลยว่าเป็นยังไง ชีวิตทั้งหมดจะเปลี่ยนไป ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกันคุณแม่ก็จะได้ค้นพบความสามารถในการทำหลายสิ่งหลายอย่างได้มากกว่าที่ตัวเองเคยคิดว่าทำได้จริงๆ!

 

แต่ชีวิตมนุษย์แม่ลูกอ่อนยังไม่หมดง่าย ๆ แค่นี้

1. เราจะเรียนรู้โดยธรรมชาติว่าหน้าอกข้างไหนพร้อมที่จะให้นมลูกก่อน

 

 

2. และเปิดทำงานอัตโนมัติโดยไม่ต้องเหนียมอายอีกต่อไป

 

 

3. บางครั้งเราอาจไม่ทันสังเกตุ น้ำนมที่ซึมออกมาในขณะที่คุณกำลังเม้าท์มอยอยู่กับเพื่อน

 

 

4. หรือการเตรียมพร้อมที่จะเปิดเต้าเพื่อให้นมลูกได้ตลอดเวลา

 

 

5. คุณจะรู้สึกว่าน้ำนมทุกหยดนั้นมีความสำคัญกับลูกมากและจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เขาได้กิน

 

แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้หลังจากที่ได้เป็นแม่คนแล้ว จะไม่ทำให้คุณอายรู้สึกแย่ ๆ กับพฤติกรรมเหล่านี้ที่ต้องทำเพื่อลูก ทุกอย่างมันเป็นเรื่องปกติมากจริง ๆ

สาวแม่ลูกอ่อน ต้องรู้ 7 อย่างที่ควรทำ ช่วงให้นมเดือนแรกๆ

ใหม่ๆ ก็ยากอย่างนี้แหละค่ะ ทั้งการรับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนไป ทารกตัวน้อยๆ ในอ้อมกอด และความสนุกสนาน ผสมผสานประสบการณ์แปลกใหม่ที่ชวนตื่นเต้นไม่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกๆ ของการให้นม ที่แม่ๆ หลายคนเตือนไว้ว่า มหาโหด เราจึงมีเคล็ดลับดีๆ 7 อย่างมาฝากแม่ลูกอ่อน แล้วทุกอย่างจะผ่านไปได้ง่ายๆ หลังจากนี้ก็สบายหายห่วง

 

1. หาที่ปรึกษาเตรียมไว้ก่อน

ในทุกๆ ครั้งที่ไปพบแพทย์ อย่าอายที่จะถามคำถามเรื่องการให้นม อย่าเขินถ้าคุณเจอกับปัญหาเต้านมต่างๆ เพื่อให้คุณหมอแนะนำคุณแม่ได้ถูกต้องเหมาะสมสำหรับแม่แต่ละคน แต่ถ้าอยากหาความรู้เกี่ยวกับการให้นม ขอแนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย หรือเข้าร่วมกลุ่มที่เกี่ยวกับนมแม่ตามโซเชียลต่างๆ อย่าง นมแม่แสนอร่อย ที่สามารถมาแสดงความคิดเห็น โพสต์ถามสิ่งที่สงสัย และขอข้อมูลจากประสบการณ์ตรงโดยคุณแม่

 

2. ทำใจไว้รอว่าอดนอนแน่ๆ

ทารกแรกเกิดมักจะหิวนมตลอดคืน แม้ว่าช่วงแรกๆ แม่บางท่านยังมีน้ำนมไม่มาก แต่ลูกจ๋าก็จะมาดูดจ๊วบๆ บ่อยๆ อย่าลืมให้ลูกหมั่นดูดนมเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่สร้างน้ำนมนะคะ ซึ่งลูกมักจะขอดูดนมถี่หน่อย อย่างทารกแรกเกิดจะดูด 1-3 ชั่วโมง แล้วจะค่อยๆ ลดลงเป็น ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ช่วงแรกๆ แม่อาจจะต้องอดหลับอดนอนสักหน่อย แต่รับรองว่าไม่นานเกินรอ ลูกก็จะเติบโตและปรับเปลี่ยนนิสัยการดูดนมไปเอง

 

3. อย่าฟังคำบั่นทอนกำลังใจ

สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่คือ การเลือกฟัง เลือกเฉพาะคำแนะนำที่ดีมีประโยชน์ ฟังแล้วได้กำลังใจ ไม่ใช่คำพูดที่มาบั่นทอนจิตใจ ซึ่งในช่วงแรกๆ แม่อาจจะเจอคำพูดว่า ให้นมลูกเป็นเรื่องลำบาก ให้กินนมผงไปเถอะ หรือประโยคลักษณะที่ว่า ถ้าไม่มีน้ำนมมากพอก็ให้กินนมผงแทนสิ เพราะจริงๆ แล้ว ร่างกายคุณแม่จะผลิตน้ำนมแม่ออกมาได้ในปริมาณมากพอให้ลูกได้กิน และยังสามารถให้นมแม่อย่างเดียวได้นานถึง 6 เดือน ตามที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวติดต่อกันนาน 6 เดือน

 

4. เติมพลังด้วยสารอาหารมีประโยชน์

อย่าลืมว่า ร่างกายคุณแม่คือแหล่งผลิตน้ำนม ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ ย่อมส่งตรงถึงลูกน้อยผ่านน้ำนมแม่ แต่แทนที่จะทานมื้อใหญ่ๆ ขอแนะนำให้ทานมื้อเล็กๆ ถี่ๆ สำหรับผัก ผลไม้ และสมุนไพร ในเมืองไทย มีหลากหลายที่ช่วยเพิ่มน้ำนม เช่น ขิง กะเพรา และใบแมงลัก

 

5. ไม่ต้องอายที่จะเอ่ยขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด

การเลี้ยงลูก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดเป็นสิ่งที่เหน็ดเหนื่อย เราเชื่อว่า สามี พ่อแม่พี่น้อง และเพื่อนสนิท จะต้องเข้าใจข้อนี้แน่ๆ ดังนั้น ถ้าคุณแม่อยากทานอะไรเป็นพิเศษ ลองเอ่ยปากบอกสามี หรือชวนเพื่อนสนิทมานั่งเมาท์มอยแม้แต่ขอคำแนะนำจากผู้หลักผู้ใหญ่ก็ช่วยได้มาก เชื่อเถอะว่า ปู่ย่าตายาย อยากจะมาดูหลาน มาอุ้ม มาช่วยเลี้ยงอยู่แล้ว อย่ากลัวว่านี่เป็นการรบกวน เพราะหน้าที่แม่นั้นยิ่งใหญ่ ทุกคนย่อมเข้าใจแน่นอน

 

6. ซื้ออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการให้นมลูก

เวลาที่ให้นมลูก อิริยาบถต่างๆ ในตอนแรกเริ่มคงยังไม่คุ้นเคย แม่ๆ ต้องเตรียมพวกหมอนรองให้นม ผ้าคลุมให้นม เสื้อในให้นมลูก ให้พร้อม ถึงเวลาให้นมก็เลือกเก้าอี้ที่นั่งสบายๆ เปิดเพลงไพเราะ ดูหนังดีๆ แล้วก็ต้องสบตา พูดกับลูกอย่างอ่อนโยน ถ้าคุณแม่มีความสุข ไม่เครียด ไร้กังวล ก็จะทำให้ลูกอารมณ์ดีไปด้วย

 

7. รักตัวเองให้มากๆ ไม่แพ้รักลูก

มันง่ายมากๆ ที่จะโมโห หรือรู้สึกหงุดหงิด เวลาที่ทุกอย่างไม่เป็นอย่างใจ อย่างแรกที่ต้องทำคือ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกนั้นจมดิ่ง อย่าเข้มงวดกับร่างกายตัวเองมากเกินไป ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ เชื่อมั่นในตัวเอง แล้วทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะการให้นมลูก ถ้าแม่รู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ ก็ลองเปลี่ยนอาหารที่ทาน ลองหาเวลาพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย ไม่นานร่างกายก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม แข็งแรง และมีน้ำนมเพียงพออย่างแน่นอน

 


Credit content : www.huffingtonpost.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

15 สิ่งที่แม่ลูกอ่อนทำได้ ทำแบบนี้ก็ได้ชิลๆตอนให้นมลูกไปด้วย

7 เรื่องที่ไม่มีใครมาบอก แม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกฟังหรอก

50 คำคมแม่ลูกอ่อน คำคมเกี่ยวกับลูก คำคมมนุษย์แม่ สำหรับแม่ๆ ทุกคน

บทความโดย

Napatsakorn .R