กอดลูก&กอดผัว ได้อะไรเข้าตัวมากกว่าที่คิด

นอกแล้วคนโสดอยากถูกกอด คนมีลูกมีสามีก็อยากกอดกันให้อุ่น เพราะแค่ “กอด” ที่แสนธรรมดาแต่กลับสร้างพลังมหาศาลมากมายให้กับความรู้สึก มาทำความรู้จักกับเครื่องมือเยียวยาทางจิตที่มีคุณค่าที่สุดกันค่ะ

สิ่งเล็ก ๆ แสนธรรมดาที่เรียกว่า “กอด” นั้นกลับให้คุณค่าและทรงพลังอย่างที่คนไม่เคยกอดคาดไม่ถึงทีเดียว เพราะการกอดคือรูปแบบการสื่อสารที่ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด ในเวลาที่เราไม่มีคำพูดอื่นใดมาบรรยายความรู้สึกได้ ทั้งนี้การกอดสามารถใช้กับคนที่เรารู้สึกรักและรู้สึกดีได้ และที่สำคัญคือคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นลูกและสามี เพราะสิ่งที่ทุกคนจะได้จากการกอดคือ...

#การกอด ทำให้ลูกและสามีได้รับรู้ถึงความรัก กำลังใจ และการเห็นอกเห็นใจที่ดี

#การกอด เป็นการกระตุ้นให้ฮอร์โมนอ๊อกซิโทซิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน” ให้เกิดขึ้น มีฤทธิ์ช่วยสร้างความสุขและความสงบแก่จิตใจได้

#การกอด จะช่วยดึงภาพความทรงจำเก่า ๆ และช่วยทำให้รู้สึกความ “มีคุณค่า” และเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ยามที่อีกฝ่ายอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อย และต้องการกำลังใจ

#การกอด ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยลดความกดดัน ทำให้หลับสนิท และช่วยให้ครอบครัวมีชีวิตชีวา

#การกอด เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับทารก เพราะเด็กที่ถูกกอดจะรู้สึกถึงความปลอดภัย ความอบอุ่น ได้รับรู้ถึงความรัก และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง อันเป็นพื้นฐานของความอบอุ่นที่มั่นคงทางจิตใจได้ดี

#การกอด ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกบิน ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างทั่วถึง ทำให้จิตใจสดชื่น มีชีวิตชีวา

#มีงานวิจัยพบว่า คู่รักหรือสามีภรรยาที่กอดกันบ่อย ๆ มีแนวโน้มที่อยู่กันยืดยาวมากกว่าคู่รักที่ไม่ค่อยได้กอดกัน

#การกอด ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ช่วยลดความซึมเศร้าและความวิตกกังวลลงได้

#หลายครั้งมีเรื่องราวที่เราพบว่า การกอดสามารถช่วยชีวิตคนได้ Read : เรื่องจริงสุดปาฏิหาริย์! เมื่ออ้อมกอดแม่ช่วยให้ลูกฟื้นชีวิตขึ้นได้

ช่วงนี้บรรยากาศเย็นกำลังดีหันไปหาคนข้าง ๆ แล้วอ้าแขนกว้าง ๆ กอดแน่ ๆ กันนะคะ บทความดี ๆ หากไม่กล้าขอกอด ก็แชร์ไปให้คนที่เรารู้สึกอยาก (ให้) กอดได้อ่านดูนะคะ

Credit content: เพจ คลิกนิกสุขภาพจิต นายแพทย์เจษฎา

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

อย่ากลัวลูกติดอุ้ม! งานวิจัยฟันธง “รักลูกให้กอด ลูกร้องต้องรีบอุ้ม”

ลูกปฏิเสธ ไม่ให้อุ้ม ไม่ให้กอด ทำไงดี?

บทความโดย

Napatsakorn .R