วิธีคุยเรื่องเพศกับลูก คุยเรื่องเพศ เพศศึกษา และเพศสัมพันธ์

เรื่องเพศศึกษามักเป็นประเด็นที่ครอบครัวส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยกับลูก เมื่อคุณมีลูกคุณคงเลือกที่จะคุยกับลูกเมื่อลูกโต แต่จริง ๆ แล้วการคุยกับลูกเรื่องเพศศึกษาตั้งแต่เด็กนั้นมีความสำคัญมากทีเดียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องเพศศึกษามักเป็นประเด็นที่ครอบครัวส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยกับลูก จริง ๆ แล้วการเลือก วิธีคุยเรื่องเพศกับลูก มีความสำคัญมากทีเดียว

 

วิธีคุยเรื่องเพศกับลูก ควรสอนลูกอย่างไร?

วิธีคุยเรื่องเพศกับลูก

การคุยกับลูก เรื่องเพศศึกษา ช่วยให้ลูกเข้าใจเรื่องเพศในทางที่ถูกต้อง และ รู้จักการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย คุณควรมีการสอดแทรกคุณธรรม และ หลักการเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตามแบบที่คุณอยากให้เป็นไปด้วย นอกจากนี้ ลูกควรจะรู้ถึงผลที่ตามมา จากการมีเพศสัมพันธ์ด้วย เช่น การตั้งท้อง โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดจนถึง ความเสียใจที่เกิดจาก ความรัก และ การมีเพศสัมพันธ์ แต่ พ่อแม่ต้องมี วิธีคุยเรื่องเพศกับลูก อย่างถูกวิธี

จากการศึกษา พบว่า เด็กที่พูดคุยกับผู้ปกครอง เรื่องเพศศึกษา และ การมีเพศสัมพันธ์มีแนวโน้มจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกช้ากว่าเด็กที่ไม่เคยพูดคุยเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ และ เพศศึกษากับทางบ้านเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แล้วเรา ควรเริ่มจากตรงไหน

กว่าเราจะสอนอะไรลูกได้เราก็ต้องค่อย ๆ ให้ข้อมูลแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง และ ควรเริ่มสอนเรื่องเพศศึกษา ตั้งแต่เด็ก เช่น เวลาเราสอนลูกเรื่องอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ตลอดจน หน้าที่ของของอวัยวะต่าง ๆ ทีนี้เราก็รวมอวัยวะเพศเข้าไปด้วย

พอลูกโตขึ้นคุณก็ค่อย ๆ สอดแทรกข้อมูลเกี่ยวกับ เพศศึกษาเพิ่มขึ้น การพูดคุยเรื่องเพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง กับลูก นับว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างคุณและลูก พอลูกเข้าสู่วัยรุ่นลูกก็จะไม่อายที่จะพูดคุยเรื่องนี้กับคุณ

คอยดูจังหวะว่าช่วงไหน เป็นช่วงที่คุณสามารถพูดคุยกับลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช่น แม่ของเพื่อนลูกสาวคุณกำลังท้อง คุณก็สามาถสอดแทรกข้อมูลได้ เช่น “ลูกสังเกตไหมว่าท้องของแม่น้องบีใหญ่ขึ้นแล้วก็ใหญ่ขึ้น? ลูกรู้ไหมว่าแม่น้องบีกำลังท้องอยู่ ในท้องของแม่น้องบีกำลังมีเด็กอยู่ในท้อง แล้วลูกรู้ไหมว่าเด็กเข้าไปอยู่ในท้องได้อย่างไร” จากนั้น ลูกก็จะเริ่มถามคำถามต่อมาเรื่อย ๆ นั่นเอง

ให้ข้อมูลเรื่องเพศศึกษา ที่เหมาะสมกับวัยของลูก

เวลาคุยเรื่องเพศศึกษา ควรดูอายุ และ ความเหมาะสมของลูก เช่น ถ้าลูกวัย 5 ขวบถามคุณว่า “ทำไมร่างกายของเด็กผู้หญิง และ เด็กผู้ชายถึงไม่เหมือนกัน” คุณอาจจะตอบว่า “ร่างกายเรามีสารพิเศษที่เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้เป็นเด็กผู้หญิง หรือ เด็กผู้ชาย” เด็กผู้ชายจะมีองคชาติ และ ลูกอัณฑะ พอโตขึ้นเสียงผู้ชายจะทุ้มลง และ ไหล่จะขยายกว้างขึ้น ส่วนผู้หญิงจะมีอวัยวะเพศหญิง เมื่อโตขึ้นหน้าอก จะขยาย และ สะโพกจะผาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คอยบอกพัฒนาการของร่างกายให้ลูกรู้ล่วงหน้า

เด็กมักกลัวและสับสนที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น คุณสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของร่างกายในแต่ละช่วง เด็กอายุ 7 ขวบ ก็เข้าใจเรื่องประจำเดือนได้แล้ว ส่วนเด็กผู้ชายก็สามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายช่วงวัยรุ่นได้

บอกลูกเรื่องศีลธรรมกับการมีเพศสัมพันธ์

เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญ เพราะ เป็นการสอดแทรกทัศนคติของคุณ ต่อเรื่องศีลธรรม และ การมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าเมื่อลูกโตขึ้น ลูกอาจจะไม่ทำตามแบบอย่าง และ ทัศนคติที่คุณปูทางเอาไว้ แต่ระหว่างที่ลูกกำลังค้นหาแนวทางของตนเอง ลูกจะนึกถึงคำพูดของคุณ

เลือกใช้คำศัพท์ปกติเวลาพูดกับลูกเรื่องเพศศึกษา

เวลาที่คุณคุยกับลูกไม่ควรใช้คำแสลง หรือ ตั้งชื่อเล่นให้กับอวัยวะเพศ เช่น ของลับ เพราะ หากคุณใช้คำปกติลูกจะคิดว่า นี่เป็นเรื่องปกติ เวลาโตขึ้นจะไม่รู้สึกเขินอายเวลาพูด

ไม่ต้องเครียด

ไม่ต้องห่วงนะคะ หากคุณไม่สามารถตอบคำถามลูกได้ทุกคำถาม จริง ๆ แล้วสิ่งที่คุณรู้ไม่สำคัญเท่ากับ วิธีการโต้ตอบของคุณ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พยายามเปิดโอกาสให้ลูกรู้ว่า เขาสามารถพูดคุยกับคุณได้ทุกเรื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ถ้าเจอลูกดูหนังโป๊ต้องทำยังไงดี วิธีรับมือกับลูกง่าย ๆ ที่คุณแม่ทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

70 ประโยคภาษาอังกฤษคุยกับลูก จำง่าย ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ลูกเก่งภาษาได้ไม่ยาก

Finding Nemo การ์ตูนที่ให้ความสนุก พร้อมกับข้อคิด สอนลูกไปพร้อม ๆ กับการ์ตูน

ลูกชอบเพศเดียวกัน ถ้าลูกมาบอกว่า ชอบเพศเดียวกัน พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team