ฝากเตือนเรื่องของการเก็บน้ำนมแม่ การเก็บรักษานมแม่ ถ้าเก็บไม่ดี ลูกก็แย่ได้เหมือนกัน เรามาดูกันว่า วิธีเก็บรักษานมแม่ แบบไหนที่ควร และไม่ควรอย่างไร
วิธีเก็บรักษานมแม่ การเก็บน้ำนมควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
1. เก็บ น้ำนม ไว้นานเกินไป
คุณแม่บางท่าน อาจจะพยายามที่จะเก็บน้ำนมไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเมื่อนำน้ำนมไปแช่แข็งแล้ว ก็ไม่ได้แยกว่าอันไหนเป็นของเก่าหรือของใหม่ พอจะหยิบมาใช้ก็หยิบอันที่อยู่ใกล้มือที่สุด มารู้อีกที น้ำนมด้านในสุดก็เสียไปแล้ว ดังนั้น หากแช่น้ำนมไว้ในช่องแช่แข็ง ให้ใช้นมเก่าก่อน โดยเรียงตามวันและเวลาที่จัดเก็บเสมอ ส่วนน้ำนมแม่นั้น จะมีอายุนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับวิธีเก็บรักษาตามตารางด้านล่างนี้เลย
2. วิธีเก็บรักษานมแม่ เอาน้ำนมมาทำน้ำแข็ง
การนำน้ำนมแม่มาใส่ถาดทำน้ำแข็งเพื่อทำเป็นก้อนน้ำนมแข็ง ฟังแล้วอาจจะดูเป็นความคิดที่ไม่เลวเลยทีเดียว เพราะขนาดของก้อนน้ำนมแข็งที่พอดีคำกับปากของทารก ช่วยให้ลูกอมและเคี้ยวเพื่อบรรเทาอาการปวดเหงือกได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าด้านบนของถาดทำน้ำแข็งนั้น มักจะไม่มีฝาปิด จึงอาจทำให้แบคทีเรียเข้าไปปนเปื้อนในน้ำนมได้
3. ถุงน้ำนมขาด
ถุงน้ำนม แม้ว่าจะถูกออกแบบมาเพื่อเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ แต่มันก็มีโอกาสที่จะเกิดการฉีกขาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำไปใส่ช่องแข็ง โดยปกติแล้ว น้ำนมจะขยายตัวเมื่อถูกนำไปแช่แข็ง หากคุณแม่เก็บน้ำนมใส่ถุงจนเต็ม เมื่อนำไปแช่แข็ง ก็อาจจะทำให้ถุงเก็บน้ำนมฉีกขาดได้ เพราะฉะนั้น ควรเหลือพื้นที่ให้น้ำนมขยายตัว และไล่อากาศออกจากถุงทุกครั้งก่อนที่จะนำไปแช่ และที่สำคัญ อย่าใช้ถุงพลาสติกทั่วไปในการเก็บน้ำนม เพราะอาจมีสารเคมีปนเปื้อน อีกทั้งยังขาดง่ายกว่าถุงเก็บน้ำนมหลายเท่า
4. วิธีเก็บน้ำนมแม่ เก็บไว้ใกล้เนื้อดิบ
คุณแม่ ที่ไม่ค่อยมีเวลา อาจจะเก็บน้ำนมไว้ในตู้เย็นแบบที่ว่า เปิดเห็นตรงไหนว่างก็วางไว้ตรงนั้น ซึ่งหากคุณแม่เก็บน้ำนมไว้รวมกับเนื้อสัตว์ นั่นก็อาจจะทำให้มีแบคทีเรียปนเปื้อนในน้ำนมได้ อีกทั้งเมื่อคุณแม่หยิบของต่าง ๆ ในตู้ แล้วจับขวดนมย้ายไปมา ก็อาจทำให้มีแบคทีเรียปนเปื้อนได้ด้วยเช่นกัน
5. วิธีเก็บรักษานมแม่ อุ่นนมให้ลูกกินไม่ถูกวิธี
คุณแม่หลายท่าน อาจจะคิดว่า การใช้ไมโครเวฟอุ่นน้ำนม เป็นวิธีการที่ดีและง่าย และสะดวกรวดเร็วที่สุด แต่การนำน้ำนมที่แช่เก็บไว้ มาอุ่นให้ลูกกินนั้น ควรผ่านความร้อนให้น้อยที่สุด ไม่ควรนำน้ำนมมาใส่หมอตั้งไฟอุ่น และไม่ควรนำไปเข้าไมโครเวฟ เพราะจะทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมสูญเสียไปได้
6. ไม่ควรแช่น้ำนมที่กินเหลือ
หากนำน้ำนมมาให้ลูกกิน แล้วลูกกินเหลือ ควรนำไปทิ้ง น้ำนมที่ละลายหลังแช่แข็งและให้ลูกกินแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก เพราะจะทำให้คุณภาพของน้ำนมเสียไป และหากว่ามัวแต่เสียดาย แต่ถ้าทารกท้องเสียขึ้นมาแล้วจะไม่คุ้มกัน
7. ไม่ล้างมือก่อนปั๊มนม
ก่อนที่จะปั๊มนมให้ลูก ควรล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง เสียเวลาเพียงไม่กี่นาที ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด เพื่อที่จะได้ป้องกันเชื้อโรค และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ติดผ่านการปั๊มนมของแม่ไปยังลูกน้อยได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องแก่สามารถปั๊มนมก่อนคลอดได้ไหม ปั๊มนมให้ลูกก่อนเป็นอันตรายหรือเปล่า
8. ตู้ที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ
หากตู้เย็นของคุณแม่เป็นแบบที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ อาจทำให้น้ำนมที่แช่แข็งไว้ มีกลิ่น หรืออาจจะเสียเร็วกว่าปกติ ดังนั้น ก่อนที่จะให้ลูกกินน้ำนม ควรดมกลิ่นหรือชิมก่อน อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งน้ำนมที่มีกลิ่นหืน อาจไม่ได้แปลว่าเสียนะครับ แต่น้ำนมที่เสียนั้น จะมีกลิ่นรุนแรง และมีรสเปรี้ยว
การนำนมแม่แช่เย็นมาใช้
- หากนมที่แช่แข็งอยู่ ให้นำมาวางนอกตู้เย็น เพื่อให้หายเย็น หากต้องการประหยัดเวลาให้แช่ในน้ำอุ่น ห้ามแช่ในน้ำร้อนจัดเด็ดขาด รวมถึงห้ามนำเข้าไมโครเวฟ เพราะจะทำให้เสียภูมิต้านทานในน้ำนมแม่
- นมที่เก็บแช่แข็ง ให้ใช้นมเก่าก่อน เมื่อนำมาใช้ให้ย้ายลงมาไว้ในชั้นที่อยู่ใต้ช่องแช่แข็ง ให้ละลายเองก่อน 1 คืน
- นมที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก
- นมที่ใช้ไม่หมด ให้ทิ้ง ไม่ควรนำมากินต่อ
บทความที่เกี่ยวข้อง : นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด
การเก็บรักษานมแม่ ที่ถูกต้อง
- เก็บในปริมาณที่พอดี ในแต่ละมื้อ ไม่ควรเก็บมากจนเกินไป
- เก็บน้ำนมเสร็จ ควรปิดให้มิดชิดทันที
- ถ้าตั้งทิ้ง ไม่ได้นำแช่ตู้เย็น สามารถเก็บได้ 4 – 6 ชั่วโมง
- กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็ง สามารถเก็บได้ 1 วัน
- ชั้นที่อยู่ ใต้ช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้ 1 วัน
- ตู้เย็นแบบ 2 ประตู ชั้นที่อยู่ใต้ช่องแช่แข็งเก็บได้ 2 วัน
- ในช่องแช่แข็งเก็บได้ 3 เดือน
- ไม่เก็บที่ประตู ตู้เย็น เพราะความเย็นจะไม่คงที่
วิธีเก็บรักษานมแม่ เทคนิคการบีบนมแม่
- ล้างมือให้สะอาด
- นวดเต้าเบา ๆ ใช้นิ้วนวดเป็นวงกลม จากเต้านมด้านบน มาลานหัวนม
- กระตุ้นหัวนม โดยใช้นิ้วมือดึง หรือคลึงหัวนมเบา ๆ
- ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือ กับ นิ้วชี้ วางที่ขอบนอกของลานหัวนม กดทั้ง 2 ข้าง เข้าหาทรวงอก น้ำนมแม่จากกระเปาะ จะพุ่งออกมา ปล่อยเป็นจังหวะ แล้วบีบไปรอบ ๆ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ปั๊มนมโบราณที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน รู้ไหมว่าการปั๊มนมแม่ มีมานานกว่า 200 ปีที่แล้วเลยนะ
แม่ให้นมแม่อยากรู้ ปั๊มนมอย่างไรให้เกลี้ยงเต้า
เด็กนมแม่น้ำหนักน้อย ลูกเป็นเด็กนมแม่ล้วน แต่น้ำหนักน้อยจนตกเกณฑ์ แก้ไขยังไงดี
ที่มา : babygaga