วิธีการหยุดเด็ก ๆ ไม่ให้กวนกันและเลิกทะเลาะกันซะที!!!

ลูก ๆ คุณมักทะเลาะกันและทำให้คุณรำคาญปวดหัวสุด ๆ เลยอยู่รึเปล่า? เรามีวิธีการหยุดเด็ก ๆ ไม่ให้กวนกัน จะได้เลิกทะเลาะกันซะที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการหยุดเด็ก ๆ ไม่ให้กวนกัน และเลิกทะเลาะกันซะที

ลูกของฉัน อายุ 4 ขวบและ 2 ขวบ แต่ละคนรู้ดีเลยค่ะว่าจะกวนโมโหกันและกันอย่างไร ลูก ๆ ดูจะเริ่มก่อกวนกันและกันในเวลาที่เหมาะเจาะ นั่นก็คือเวลาที่ฉันต้องการพักผ่อนหรือทำงานให้เสร็จ บางทีฉันก็สามารถทำให้ลูก ๆ หยุดตีกันได้ แต่ก็มีบางทีที่เรื่องราวเลยเถิดจนเกิดการตะโกนร้องไห้โวยวายใหญ่โต

ดังนั้นแล้วเราจะหยุดการทะเลาะกันของเด็ก ๆ ไม่ให้ลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องใช้ทูตสันติภาพของสหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงได้ยังไงกันนะ? ฉันมีเคล็ดลับดี ๆ (ที่ทดลองมาแล้ว) มาฝากให้กับคุณโดยเฉพาะเลยล่ะ!

หยุดการกวนโดยให้ลูกมีอะไรทำ

บางทีลูกกวนกันและกันแค่เพราะเบื่อ ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อลูกอยู่ในที่ปิดเป็นเวลานาน เช่น ในรถหรือบนเครื่องบิน วิธีการหยุดไม่ให้เด็กกวนกันและกันในสถานการณ์เหล่านั้นที่ดีอย่างหนึ่งคือ การเตรียมอุปกรณ์ที่จะทำให้ลูกยุ่ง ๆ ไว้ตลอดเวลา เช่น สมุดระบายสี เกม หนังสือ วีดีโอ และอื่น ๆ

ป้องกันการทะเลาะโดยแยกเด็ก ๆ ออกจากกัน

เด็ก ๆ มักจะกวนกันและกันเพราะเห็นหน้ากันมากเกินไป หากลูกดูเหมือนจะทะเลาะกันบ่อยเกินไป ให้ลูกแยกกันทำกิจกรรมที่ต่างกันคนละมุมของบ้านเลยค่ะ หากลูกโตพอ คุณสามารถให้ลูกทำงานบ้านที่แตกต่างกันได้ หรือให้ลูกไปเที่ยวบ้านเพื่อนในตอนบ่าย แต่หากลูกคุณยังเล็กอยู่แบบลูกของฉันล่ะก็ ให้ลูกอยู่ในห้องเดียวกันก็ได้ แต่จับให้นั่งห่างกันและทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

//

มี “มุมทะเลาะ” โดยเฉพาะ

ความเป็นจริงก็คือบางทีก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ที่พี่น้องจะทะเลาะกันเอง แต่ถ้าคุณเหนื่อยกับการคอยห้ามคอยแทรก คุณก็ต้องปล่อยให้พี่น้องทะเลาะกันไป ให้พี่น้องไปทะเลาะกันใน “มุมทะเลาะ” โดยเฉพาะเพื่อทะเลาะกันให้พอ (แต่วิธีการนี้จะใช้ได้ผลกับเด็กโตหน่อย) บอกลูกว่า เมื่อลูกตัดสินใจว่าจะหยุดทะเลาะกันแล้ว ลูกจึงจะสามารถออกมาจาก “มุมทะเลาะ” ได้ แต่ลูกต้องแก้ปัญหากันด้วยตัวเองให้ได้ก่อนจนกว่าจะตัดสินใจกันได้

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้ง “โต๊ะทะลาะ”

ถ้าการใช้ “มุมทะเลาะ” ไม่ได้ผล ลองใช้ “โต๊ะทะเลาะ” แทนค่ะ จัดเวลาในแต่ละคืน (ห้ามเกิน 30 นาที) ให้เด็ก ๆ ที่ชอบกวนกันได้มานั่งและทะเลาะกัน คุณจะตกใจว่าลูกหยุดเถียงกันได้เร็วมากแค่ไหน เพราะลูกจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องงี่เง่าที่ต้องหาเรื่องมาทะเลาะกันให้ได้น่ะสิ! บอกลูกว่า ถ้าลูกไม่กวนกันและกันและทะเลาะกันระหว่างวัน ลูกก็ไม่ต้องมานั่งบน “โต๊ะทะเลาะ” ตอนกลางคืนหรอก

ทำโทษเมื่อลูกกวนกัน

บ่อยครั้งเมื่อเด็ก ๆ ทะเลาะกัน ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเรื่องมาเล่าโกหกกับคุณไม่ก็คู่ของคุณ การเล่าเรื่องโกหกเป็นสิ่งที่น่ารำคาญสำหรับพ่อแม่พอ ๆ กับการทะเลาะกัน เพราะฉะนั้นบอกลูก ๆ ว่า การกวนกัน การทะเลาะกัน และการเล่าเรื่องโกหกล้วนเป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้และคุณควรลงโทษตามสมควร

ส่งเสริมให้ลูกคนใดคนหนึ่งเป็น “ผู้สร้างสันติ”

ลูกชายคนเล็กของฉันชอบกวนพี่ชายมากค่ะ เจ้าตัวแสบจะกวนพี่ได้หลายวิธีการมาก เช่น การกรีดร้องจะเอาของเล่นที่พี่กำลังเล่นอยู่ งอแงจะใส่รองเท้าที่พี่กำลังใส่อยู่ หรือการตีพี่ ดึงผมพี่ ฉันได้บอกกับลูกคนโตไว้ว่าเมื่อน้องจงใจมากวนแบบนี้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีและดึงผม) ให้พยายามอย่าตอบโต้ แต่ให้พูดว่า “มากอดกันเถอะ” แทน เมื่อคนพี่ทำแบบนี้ การทะเลาะกันก็หยุดลงโดยอัตโนมัติ สองพี่น้องก็กอดกันและหัวเราะคิกคักด้วยกันค่ะ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชมลูกเมื่อลูกไม่ทะเลากัน

ให้รางวัลเมื่อลูกเข้ากันได้ดี

แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณภูมิใจที่ลูกไม่ทะเลาะกันและแสดงให้เห็นว่านั่นเป็นพฤติกรรมที่คุณชอบมากกว่า บอกกับลูกอย่างชัดเจนว่าทำไมคุณจึงให้รางวัลลูก เช่น โดยการพูดว่า “พ่อ/แม่มีความสุขมากที่ลูกไม่ทะเลาะกันวันนี้ ดังนั้นพ่อ/แม่จะพาลูกทั้งสองคนออกไปกินข้าวข้างนอก/ไปดูหนังด้วยกันนะ” เป็นต้น

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team