คู่มือการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตหรือ Growth Curve ที่คุณแม่เห็นในสมุดบันทึกสุขภาพของลูกที่ทางโรงพยาบาลได้ให้ติดตัวลูกมาตั้งแต่แรกเกิด เป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ใช้ในการติดตามพัฒนาการและประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็กตามเพศ อายุ และเชื้อชาติ โดยแสดงออกมาในรูปกราฟ หากคุณแม่มีสมุดบันทึกสุขภาพลูกอยู่ติดมือ ลองมาทำความเข้าใจวิธีการใช้กราฟนี้กันดูนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำความรู้จักกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

สำหรับ กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต ในสมุดบันทึกจะแสดงออกมารูปของกราฟ โดยได้รับการพัฒนามาจากข้อมูลประชากรเด็กไทยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แยกตามเพศและอายุ ดังนี้

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิง (สีชมพู) อายุ 0-36 เดือน กราฟเทียบน้ําหนักส่วนสูงกรมอนามัย

กราฟมาตรฐาน กราฟการเจริญเติบโต

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กชาย (สีฟ้า) อายุ 0-36 เดือน กราฟเทียบน้ําหนักส่วนสูงกรมอนามัย

กราฟมาตรฐาน กราฟการเจริญเติบโต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิง (สีชมพู) อายุ 2-19 ปี

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต กราฟมาตรฐาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กชาย (สีฟ้า) อายุ 2-19 ปี

 

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต กราฟมาตรฐาน

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต เป็นเส้นกราฟที่ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ เส้นกราฟกลุ่มล่างแกนตั้งด้านขวาจะแสดงน้ำหนัก (กิโลกรัม) และเส้นกราฟกลุ่มบนแกนแนวตั้งด้านซ้ายจะแสดงความสูง (เซนติเมตร) โดยมีแกนนอนเป็นอายุ ได้แก่ 0-36 เดือน (1 ช่องย่อยเล็ก ๆ เท่ากับ 1 เดือน) และอายุ 2-19 ปี (1 ช่องย่อยเท่ากับปี) และมีเส้นกราฟเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile) ที่ 3, 10, 25, 50, 75, 90 และ 97 ทั้งส่วนของน้ำหนักและความสูง ของเพศและอายุเดียวกันเป็นตัวเปรียบเทียบว่าเด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สูงกว่า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

1.ดูกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตตามเพศและอายุให้ถูกต้อง สีชมพูสำหรับเด็กหญิง และสีฟ้าสำหรับเด็กชาย

2.นำความสูง (เซนติเมตร) และน้ำหนัก (กิโลกรัม) ของเด็ก ณ อายุที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากำหนดจุดลงบนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต เช่น ลูกอายุ 3 ปีมีน้ำหนัก 13 กิโลกรัม และความสูง 93 เซนติเมตร ให้ลากเส้นแนวตั้ง (ขนานกับแกนตั้ง) ที่อายุ 3 ปี ขึ้นไปตัดกับเส้นแนวนอน (ขนานกับแกนนอน) ที่น้ำหนัก 13 กิโลกรัม จะได้จุดตัดระหว่างอายุกับน้ำหนัก 1 จุด และลากเส้นแนวตั้งที่อายุ 3 ปี ขึ้นไปตัดกับความสูงที่ 93 เซนติเมตร จะได้จุดตัดระหว่างอายุกับความสูงอีก 1 จุด ให้พิจารณาดูว่ากราฟการเจริญเติบโตของเด็กมีแนวโน้มเป็นไปตามเส้นกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เท่าไร และมีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือเพิ่มขี้นจากเดิมหรือไม่

3.สามารถทำวิธีเดียวกันแบบนี้ เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะได้กราฟการเจริญเติบโตของเด็กทั้งส่วนที่แสดงเป็นน้ำหนัก (กราฟช่วงล่าง) และส่วนที่แสดงเป็นความสูง (กราฟช่วงบน)

ดูความหมายของเปอร์เซ็นต์ไทล์บนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต >> 

วิธีดูความหมายของเปอร์เซ็นต์ไทล์บนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 97 (P97) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 3 คน ถือว่าเด็กมีแนวโน้มพัฒนาการเจริญเติบโตที่สูงกว่าปกติ (มีความสูงอยู่ในช่วงแนวหน้าหรือต้นแถวของเด็กกลุ่มนี้)

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 (P75) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 25 คน ถือว่าเด็กมีแนวโน้มพัฒนาการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 (P50) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 50 คน ถือว่าเด็กมีแนวโน้มพัฒนาการเจริญเติบโตที่ปกติ (อยู่กลางแถวของเด็กกลุ่มนี้)

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 (P25) หมายถึง เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 75 คน

ความสูงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 (P3) หมายถึง  เด็กอายุและเพศเดียวกันนี้ 100 คน จะมีคนอื่นสูงกว่า 97 คน (มีความสูงอยู่ในช่วงปลายแถวเด็กกลุ่มนี้) เป็นต้น

ในความหมายของน้ำหนักเปอร์เซ็นต์ไทล์ก็เช่นเดียวกับความสูง ซึ่งเด็กที่มีเกณฑ์ปกติจะมีค่าอยู่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 ส่วนเด็กที่มีกราฟการเจริญเติบโตอยู่ที่ความสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 ของกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กเพศและอายุเดียวกัน หรือเด็กมีความสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 (กรณีที่เด็กมีคุณพ่อสูงเกิน 170 เซนติเมตร และมีคุณแม่สูงเกิน 157 เซนติเมตร) หรือเด็กที่มีกราฟการเจริญเติบโตที่ช้าลง เช่น เมื่อปีที่แล้วมีส่วนสูงอยู่ที่ P90 แต่ปีนี้มีส่วนสูงอยู่ที่ P75 ถือว่าเริ่มมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ และมีโอกาสเกิดภาวะตัวเตี้ย (Short stature) ควรที่จะปรึกษาแพทย์ทางด้านพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Source : www.kidgrowth.net

https://nutrition.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=96

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกศีรษะโตผิดปกติหรือไม่?
การวัดรอบศีรษะลูกน้อย บอกอะไร?

บทความโดย

Napatsakorn .R