พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Antibody ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส RSV ช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัส RSV

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กังวลใจกับอาการเจ็บป่วยของลูกน้อยใช่ไหมคะ? โดยเฉพาะ RSV ที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพในเด็กเล็กมีการระบาดหนักในช่วงหน้าฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาว การป้องกันเด็กๆ ป่วย RSV จึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก theAsiaparent มีคำแนะนำ วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัยจากไวรัส RSV กันค่ะ

 

รู้ก่อนอาจไม่ป่วย : RSV คืออะไร

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ไวรัส RSV มักพบว่าแพร่ระบาดหนักและรวดเร็วในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว ทำให้เด็กเล็กป่วยพร้อมกันจำนวนมาก

 

ไวรัส RSV ติดต่อได้อย่างไร?

ไวรัส RSV ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  • การไอหรือจาม: เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม หยดละอองที่มีเชื้อจะกระจายไปในอากาศและผู้ที่สูดเข้าไปอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • การสัมผัสโดยตรง: การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูกหรือปากของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก หรือมือที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วนำมือไปสัมผัสตา จมูก หรือปาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

อาการของโรค RSV มักคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ในเด็กบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาการที่พบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV

  • ไข้: เป็นอาการเริ่มแรกที่พบ
  • น้ำมูกไหล: อาจมีสีใสหรือข้นเหลือง
  • ไอ: อาจเป็นไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะ
  • หายใจมีเสียงหวีด: เกิดจากการอักเสบของหลอดลมฝอย
  • หายใจลำบาก: เห็นได้ชัดในเด็กเล็ก เช่น ซี่โครงบุ๋ม หายใจเร็ว
  • หูอื้อ: อาจเกิดการอักเสบของหูชั้นกลางร่วมด้วย
  • ปอดอักเสบ: เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอด
  • หลอดลมฝอยอักเสบ: ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดลมฝอย

 

วิธีสังเกตลูกติดเชื้อไวรัส RSV

ไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก และเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส RSV ได้แก่

  1. มีไข้: เป็นอาการเริ่มแรกที่พบบ่อยที่สุด
  2. ไอและจาม: อาจมีเสียงหวีดหรือมีเสมหะ มีน้ำมูกไหล
  3. หายใจลำบาก: หายใจเร็ว หายใจแรง อกบุ๋ม
  4. กินอาหารได้น้อยลง: อาจมีอาการซึม อ่อนเพลีย
  5. ร้องกวน: ไม่ยอมนอน

ดังนั้นหากพบว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติตามข้างต้น ควรรีบพาไปโรงพยาบาลพบแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ทำได้ทุกวันช่วยลูกน้อยห่างไกลจากไวรัส RSV

เพื่อลดโอกาสการเกิดโรค RSV ในเด็ก เบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่สามารถสามารถป้องกันไม่ให้ลูกน้อยติดเชื้อไวรัส RSV ได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่ทำได้ทุกวันดังนี้

1.ให้นมบุตร: ควรให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีสารอาหารและภูมิต้านทานที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง

2. พาไปรับวัคซีนตามกำหนด: การฉีดวัคซีนตามกำหนดของช่วงวัย สามารถช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ที่อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV ได้มากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ไม่พาไปรับเชื้อโรค: เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่ถึงวัยเข้าโรงเรียน อาจต้องหลีกเลี่ยงการพาลูกออกไปอยู่ในที่สาธารณะบ่อยๆ สถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ จาม หรือมีไข้  เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น เป็นต้น

4. หมั่นล้างมือ: สอนลูกล้างมือให้เป็นนิสัย ด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อย 15 วินาที ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และก่อนออกจากห้องน้ำ

5. สวมหน้ากากอนามัย: เด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี สามารถสวมใส่หน้ากากอนามัยได้ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีทุกครั้งที่ออกไปเล่นนอกบ้าน หรือทุกครั้งที่ที่ลูกมีการไอ หรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้า ทิชชู่ หรือมือปิดปาก จากนั้นก็ต้องล้างมือให้สะอาด

6. ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย: ควรทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวต่างๆ ที่ลูกสัมผัสบ่อยๆ ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก

7. ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป: ในเด็กกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนดอายุน้อยกว่า 1 ปี, เด็กที่มีโรคปอดเรื้อรัง, หรือ โรคหัวใจพิการแต่เกิด อายุไม่เกิน 2 ปี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรง

 

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Antibody อีกหนึ่งวิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยเสริมเกราะสร้างภูมิคุ้มกันแข็งแรงให้ลูกน้อย

นอกจากวิธีป้องกัน RSV ในเด็ก อย่างการดูแลสุขอนามัย การกินนมแม่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงไปอยู่ในที่สาธารณะที่มีผู้คนเยอะๆ ก็อาจช่วยปกป้องเด็กๆ ให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัส RSV ได้พอสมควร แต่ยังมีอีกวิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Antibody ที่เป็นทางเลือกในการเสริมภูมิคุ้มกันกับเด็กกลุ่มเสี่ยง เช่นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด  ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียาและวัคซีนที่จำเพาะต่อการติดเชื้อไวรัส RSV ในเด็ก เด็กกลุ่มเสี่ยง ควรพิจารณาการได้รับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Antibody) ก่อนเข้าฤดูกาลการแพร่ระบาดของไวรัส RSV ซึ่งมักอยู่ในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Antibody เหมาะกับใคร

  1. เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดในอายุครรภ์น้อยกว่าเท่ากับ 35 สัปดาห์ อายุไม่เกิน 12 เดือน
  2. เด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 24 เดือน ป่วยโรคปอดเรื้อรังจากการคลอดก่อนกำหนด
  3. เด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 24 เดือน ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด
  4. เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 24 เดือน มีปัญหาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาทที่ส่งผลต่อการไอ และการขับเสมหะ
  5. เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 24 เดือน ที่มีปัญหาภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง

 

ประโยชน์ที่ได้หลังจากรับ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Antibody

  1. ช่วยเสริบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ RSVแล้วมีอาการรุนแรง
  2. ช่วยลดอาการและความรุนแรงของ RSV
  3. ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากการติดเชื้อ RSV เช่น ปอดบวม (pneumonia) และหลอดลมฝอยอักเสบ (bronchiolitis)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก เป็นสิ่งสำคัญมาก การดูแลสุขอนามัยที่ดี การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และการพาลูกน้อยไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ รวมถึงอาจพิจารณาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Antibody) ในเด็กกลุ่มเสี่ยง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค RSV รุนแรงรวมถึงภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการป่วย RSV ส่งผลทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีสมวัย

วันนี้สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับเด็กกลุ่มเสี่ยง

 

 

 

 

อ้างอิง:

1.RSV ไวรัสร้ายใกล้เจ้าตัวน้อย โรงพยาบาลศิริราช ปิยมาหาราชการุณย์ https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/rsv

2.RSV ไวรัสร้ายช่วงปลายฝนต้นหนาว, โรงพยาบาลศิครินทร์ https://www.sikarin.com/doctor-articles/rsv-ไวรัสร้าย-ช่วงปลายฝนต้

3.แนวทางการพิจารณาใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Palivizumab เพื่อป้องกันโรครุนแรงจากการติดเชื้อ RSV, สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย https://thaipedlung.org/html/News/Detail/3/14/1723

4.ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปป้องกันไวรัส RSV, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช https://www.bnhhospital.com/th/rsv

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team