7 ขั้นตอน สอนให้ลูกนั่งกระโถน ที่จะทำให้การขับถ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อีกหนึ่งก้าวของพัฒนาการอันสำคัญนั่นก็คือ การเลิกใส่ผ้าอ้อม แล้วเปลี่ยนมานั่งบนกระโถนแทน ซึ่งนับเป็นความท้าทายของคุณพ่อคุณแม่เช่นเดียวกัน เพราะลูกมักจะไม่ยอมนั่งบ้าง อยู่ไม่นิ่งบ้าง ขับถ่ายไม่ออกบ้าง อีกสารพัดอุปสรรคที่ทำให้การเลิกผ้าอ้อมนั้น กลายเป็นเรื่องยาก แต่หากคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจ และฝึกลูกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เรื่องยาก ๆ อย่างการ สอนให้ลูกนั่งกระโถน ก็ดูจะง่ายลงทันที

 

เมื่อไหร่ที่ควร สอนให้ลูกนั่งกระโถน

การฝึกนั่งกระโถนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกอายุ 18 เดือน จนถึง 2 ขวบ แม้ว่าจะยังไม่เลิกผ้าอ้อม แต่การฝึกลูกนั่งกระโถน ทั้งที่ใส่ผ้าอ้อม จะช่วยฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับวัตถุแปลกใหม่ชิ้นนี้ได้ดีมากขึ้น เพราะเด็กส่วนมาก มักจะมีอาการฉี่ หรืออึไม่ออก เนื่องจากแปลกที่ จากที่เคยฉี่ และอึใส่ผ้าอ้อม กลับรู้สึกโล่งโปร่ง และว่างเปล่า

แม้ว่าลูกอายุ 18 เดือน อาจจะพร้อมแล้วสำหรับการเริ่มทำความรู้จักกับกระโถน แต่คุณพ่อคุณแม่ควรจะดูความพร้อมอื่น ๆ ของลูกอีกสักนิด อย่าเพิ่งรีบเกินไป เพราะอาจจะทำให้ความสำเร็จในการฝึกครั้งนี้ ห่างไกลออกไปอีก

 

7 ขั้นตอน สอนให้ลูกนั่งกระโถน

1. ทำความรู้จักกับกระโถน

การเริ่มต้นหัดใช้กระโถนนั้น โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่อายุ 18 – 24 เดือน ดังนั้นในช่วงแรก ๆ ของการหัดใช้ พ่อแม่ควรจะเริ่มที่การพูดให้ลูกฟังบ้างเป็นครั้งคราว ดึงดูดความสนใจของลูก หยิบเอากระโถนที่มีสีสันมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เช่น พาเจ้าตุ๊กตาตัวโปรดไปนั่งกระโถน และบอกลูกว่า หากรู้สึกปวดอึ หรือปวดฉี่ เจ้าตุ๊กตาน้อยตัวนี้ ก็ต้องไปที่กระโถนนะ ความคิดเหล่านี้จะไปกระตุ้นความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับการใช้กระโถนของลูก และช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจถึงกระบวนการนี้มากขึ้น

 

2. เช็กสัญญาณความพร้อม

สัญญาณความพร้อมที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่อายุของลูก เด็กบางคนเริ่มเรียนรู้การใช้กระโถน ตอนอายุ 18 เดือน และทำสำเร็จเมื่ออายุ 4 ขวบ ในขณะที่เด็กบางคนเริ่มฝึกฝนเมื่ออายุเข้า 2 ขวบ และสามารถใช้กระโถนได้สำเร็จเมื่ออายุ 3 ขวบ ซึ่งเร็วกว่า ดังนั้น ความพร้อมของลูก และปัจจัยที่จะทำให้การฝึกฝนประสบความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่จะต้องสังเกตจากพฤติกรรมของลูกด้วย เช่น

  • ลูกมีความสนใจ หรือไถ่ถามว่าสิ่งนี้คืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร หรือมีความสงสัยเวลาสมาชิกในครอบครัวเข้าห้องน้ำ เห็นพ่อแม่ใช้โถสุขภัณฑ์ เป็นต้น
  • ลูกเข้าใจการฉี่ การอึ หรือพูดเกี่ยวกับการขับถ่าย เช่น บอกได้ว่าปวดฉิ้งฉ่อง ทั้งนี้ ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจการไปเข้าห้องน้ำ แต่พอจะบอกได้ว่าต้องการจะขับถ่าย
  • ลูกแสดงความรู้สึกอึดอัด เมื่อผ้าอ้อมเปียก
  • ลูกเลียนแบบพฤติกรรมของคนรอบข้าง เช่น การเดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
  • ลูกเข้าใจความแตกต่างระหว่างการปวดปัสสาวะ กับอุจจาระ
  • ความถี่ในการขับถ่ายลดลง เช่น ไม่ฉี่ใส่ผ้าอ้อม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
  • ลูกสามารถนั่งบนกระโถนได้ เป็นระยะเวลานานพอสำหรับการฉี่ หรืออึ
  • ลูกสามารถดึงผ้าอ้อม ถอดกางเกง หรือเปลี่ยนเสื้อผ้าเองได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากฝึกลูกนั่งกระโถนต้องเริ่มอย่างไร และควรเริ่มฝึกลูกตั้งแต่อายุเท่าไหร่ดี?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. เลือกซื้อกระโถนอันเดียวให้ถูกใจ

พ่อแม่บางคนอาจจะชอบวางกระโถนของลูก เอาไว้หลาย ๆ จุดของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นกระโถนนั่งพื้นตามที่ต่าง ๆ ในบ้าน หรือ กระโถนสำหรับนั่งบนชักโครก เอาไว้ในห้องน้ำ จริง ๆ แล้ว การมีกระโถนเพียงอันเดียว ที่ลูกรู้สึกคุ้นเคยอาจจะดีกว่า เพราะหากต้องนั่งอันนี้บ้าง อันนั้นบ้าง ลูกอาจจะต้องปรับตัวหลายรอบ ยิ่งทำให้ลูกไม่อยากนั่งอึ หรือฉี่บนกระโถนได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. นั่งกระโถนให้เป็นนิสัย และสร้างสุขอนามัยในการขับถ่าย

ในช่วงแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาลูกไปนั่งกระโถนทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือทำเป็นกิจวัตรหลังจากตื่นนอนตอนเช้า ก่อนนอนกลางวัน และก่อนเข้านอนตอนกลางคืน ให้ลูกนั่งอยู่บนกระโถนสักพัก ทำให้ลูกรู้สึกสนุกด้วยการอ่านหนังสือให้ฟัง เล่นเกม ร้องเพลง หรือพูดคุยกันสัก 20 คำถาม และไม่ว่าลูกจะถ่ายหรือไม่ก็ตาม หลังจากใช้กระโถนเสร็จ ก็ควรสอนให้ลูกรู้จักที่จะกดชักโครก และล้างมือทุกครั้ง ทำเป็นประจำ จนกลายเป็นนิสัย และอย่าลืมที่จะให้คำชม เมื่อลูกทำสำเร็จด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ลูกสามารถเดินไปเข้าห้องน้ำได้

เมื่อถึงเวลาที่จะลูกพร้อมจะฝึกนั่งกระโถนแล้ว นั่นหมายถึงการที่ลูกจะสามารถเดินไปเข้าห้องน้ำได้อย่างอิสระ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ที่นอนของลูกก็ควรจะเปลี่ยนจากเปลมาเป็นเตียงนอน ซึ่งเขาสามารถที่จะลุกมาเข้าห้องน้ำได้ด้วยตัวเอง กุมารแพทย์ของโรงพยาบาลเด็กในรัฐซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า หากกลัวว่าลูกยังไม่พร้อม และกังวลว่าลูกจะฉี่รดที่นอน ก็สามารถให้ลูกใส่ผ้าอ้อมตอนกลางคืนได้ เพื่อการนอนหลับที่ดีของลูก เด็กส่วนใหญ่จะเลิกใส่ผ้าอ้อมเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการฝึกลูกให้นั่งกระโถนก็ได้

 

6. ฝึกลูกนั่งกระโถนในเวลาที่เหมาะสม

แม้จะดูเหมือนว่าลูกมีความพร้อมที่จะหัดนั่งกระโถนได้แล้ว แต่ก็ควรดูเวลา และสถานการณ์ที่เหมาะสมด้วย เช่น หากกำลังจะย้ายบ้าน กำลังจะมีลูกอีกคน หรือลูกกำลังจะเข้าเรียนที่โรงเรียนใหม่ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเลื่อนการฝึกใช้กระโถนออกไปก่อน หลังจากนั้นสักประมาณ 1 เดือน (หรืออาจจะเร็วกว่านั้นถ้าเห็นว่าลูกพร้อม) ค่อยกลับมาฝึกลูกใหม่ เพราะว่าเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่า ถ้าเขารู้สึกผ่อนคลาย

 

7. ให้คำชื่นชม และรางวัล

ในช่วงที่คุณฝึกลูกให้ใช้กระโถนอยู่นั้น แน่นอนว่าการเดินไปฉี่ หรืออึไม่ทัน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึก เด็กบางคนอาจจะยังกลั้นฉี่ หรืออึไม่ได้จนถึงอายุ 5 - 6 ขวบ เช่นเดียวกับที่เด็กหลาย ๆ คนก็ยังฉี่รดที่นอนในตอนกลางคืน อย่าได้ลงโทษลูกในสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะนั่นอาจทำให้ลูกรู้สึกกลัวการใช้กระโถนไปเลย

แม้จะต้องใช้เวลาในการฝึกมาก แต่เมื่อลูกทำสำเร็จ ก็ให้มอบคำชื่นชมยินดีกับลูก เช่น “ลูกทำได้แล้ว ตอนนี้ลูกเป็นพี่โตแล้วนะ” หรือ “แม่รู้สึกภูมิใจในตัวลูก” เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นพาไปซื้อของเล่นในห้าง แต่รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างอาหารสุดโปรด พาลูกออกไปเล่นด้วยกัน แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : อึอึ๊ไม่ยากอย่างที่คิด! ฝึกลูกนั่งกระโถน แบบนี้สิ แฮปปี้

 

 

ลูกไม่ยอมถ่ายเมื่อนั่งกระโถน

สาเหตุหลัก ๆ ของที่ลูกไม่ขับถ่ายเมื่อนั่งกระโถน คือความไม่คุ้นเคย หากฝึกไปสักพัก ลูกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ขับถ่ายบนกระโถนดีขึ้นด้วย แต่ความไม่คุ้นเคย ก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ลูกไม่ยอมถ่าย ลูกอาจจะท้องผูก ถ่ายไม่ออกจริง ๆ ก็ได้ หากเป็นเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องกลับมาดูเรื่องโภชนาการอาหาร ทานผัก ผลไม้ เพื่อให้ลูกขับถ่ายได้สะดวกนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมใหม่ ๆ มีช่วงเวลาที่เหมาะสม และต้องอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้ และฝึกฝน การฝึกให้ลูกนั่งกระโถนก็เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรจะสังเกตดูว่า ลูกมีความพร้อมจริง ๆ ในการที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ เหล่านี้ หากลูกจะต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยมากกว่าเด็กคนอื่นเสียหน่อย แต่ยังอยู่ในพัฒนาการที่วัย ก็อย่าได้เสียกำลังใจไป ความอดทน ใจเย็น และเอาใจใส่ จะทำให้ลูกทำสำเร็จได้ในที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีเลิกผ้าอ้อมสำเร็จรูปตอนกลางคืน ฝึกอย่างไรไม่ให้ฉี่รดที่นอน

10 โถส้วมเด็ก สะดวก นั่งง่าย ถ่ายคล่อง รองรับสรีระได้ดี ปี 2023

ลูกโตแล้วยังฉี่รดที่นอน ทำอย่างไรดี? สาเหตุและวิธีแก้ฉี่รดที่นอน

ที่มา : parents

บทความโดย

Napatsakorn .R