ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน

วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ปวดหัวและเบื่อ แม้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างมากในอนาคต theAsianparent ได้ไปร่วมงานสัมมนาของกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ "ทำอย่างไรให้หนังสือแนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่านสำหรับเยาวชน" เรามีเคล็ดลับมาฝากทุกท่านในการทำให้ลูกรักและสนใจวิทยาศาสตร์ด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เพราะวิชานี้เหมือนตัวร้ายที่เด็ก ๆ ส่วนมากจะส่ายหน้านี้ เรียนไปก็หาวไป อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตได้ ปัญหานี้อาจแก้ได้ยาก แต่สามารถแก้ได้ หากพึ่งการดูแลเอาใจใส่ และการทำกิจกรรมเสริมที่ถูกต้อง

 

4 วิธีช่วยเสริมสร้างให้ลูกเข้าใจวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน

การเสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่ชอบวิทยาศาสตร์มีความจำเป็นมากกว่าที่คิด ซึ่งสามารถทำได้ใน 4 วิธี คือ อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์, ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ, พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive และเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งได้ผลดีกับเด็กเล็ก แต่การจะให้ได้ผลที่ดีที่สุดนั้น อาจจะต้องใช้เวลาในการทำอย่างต่อเนื่องด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากให้ลูกเรียนเก่ง แบบไม่เครียด ไม่ต้องเร่งรัด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร ?

 

วิดีโอจาก : ปฐมวัย สสวท.

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ ? หนังสือเรียนอาจดูน่าเบื่อสำหรับเด็ก ๆ แต่อย่ากังวลไปค่ะ เพราะในปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เขียนให้ไม่น่าเบื่อ น่าติดตาม มีภาพประกอบสวยงาม แต่ละเรื่องสอดแทรกการทดลองที่น่าสนใจไว้ บางเล่มก็เป็นการ์ตูนภาพน่ารัก ๆ บางเล่มก็เป็นนิยายผจญภัย ยกตัวอย่าง เช่น หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนในชุดความรู้ จะมีเล่มที่มีการ์ตูนพร้อมอธิบายเรื่องจักรวาลไว้ด้วย หนังสือการ์ตูน เอาชีวิตจากโลกร้อน ที่ช่วยสอนเด็ก ๆ ให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น หรือ จะเป็นหนังสือหลักคณิตคิดเร็ว หรือ หนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก และเยาวชนด้วย

 

2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ

หากยังไม่ทราบจะทำการทดลองแบบใด หรือ ทำการทดลองแนวไหน ลองหาหนังสือการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมาเป็นแนวทางก็ได้ค่ะ ที่เราขอแนะนำ เช่น กล่องกิจกรรมทดลองชุดเจาะลึกเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานไปกับการทดลองสารเรืองแสง หรือ หนังสือชื่อ “ทำอย่างไรให้วัวกินหญ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม” และ “เราก้าวทะลุโปสต์การ์ดได้อย่างไร” ที่ช่วยแนะนำการทดลองแบบง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน อย่าง การเรียนรู้เรื่องทรงเรขาคณิตจากการพับกระดาษ การพับพีระมิด การพับวงกลมสองวงให้กลายเป็นสี่เหลี่ยม หรือ การสอนเด็ก ๆ เรื่องการคาดคะเนผ่านการทดลองตัดพิซซ่า และ โดนัท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive

ในประเทศไทยมี พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive (พิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์) หรือ พิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือทดลอง เข้าร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ด้วยได้ เช่น สวนสนุกวิทยาศาสตร์ หรือแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์รู้ที่เน้นส่งเสริมความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 4 และชั้น 5 อาคารจามจุรีสแควร์ ที่เน้นการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกแบบมาให้เข้า กับธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะชิ้นงานวิทยาศาสตร์แบบ Interactive ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม โดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้สามารถทดลอง สัมผัส เรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย หรือสนามเด็กเล่น Kid Play Ground ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กวัย 3-8 ปี ด้วยการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ และ ช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ให้ กับเด็กด้วย ต่อมาจะเป็นวิธีทำให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

 

  • เปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ : พ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะสร้างมุมมองและทัศนคติที่ถูกต้องให้กับลูก ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน แทนที่จะมองว่าวิชาวิทยาศาสตร์ดูเป็นเรื่องยากและน่าเบื่อ พ่อแม่สามารถสอนให้ลูกเข้าใจเรื่องนี้อย่างถูกต้อง และแสดงตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันให้ลูกเห็น ว่าเรื่องนี้ใกล้ตัวเราและไม่ได้ยากอย่างที่คิด อย่างการสอนลูกเล่นเกมง่าย ๆ ที่เชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ทำการทดลองง่าย ๆ ด้วยการใส่ไข่สองใบไปในถ้วยที่มีน้ำเปล่าและน้ำเกลือ เพื่อสอนเรื่องความหนาแน่นของน้ำ บทเรียนง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน จะทำให้เด็กเปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและเรียนรู้ได้ไม่ยาก
  • อย่าหยุดอยู่แค่ความรู้ในชั้นเรียน : รู้ไหมว่า มีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลมากมาย ที่ค้นพบความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ของตัวเองนอกรั้วโรงเรียน ทำไมเราไม่สนับสนุนลูกบ้างล่ะ ด้วยการหากิจกรรมหรือบทเรียนอื่น ๆ นอกชั้นเรียนให้ลูกได้ทดลองทำ บางโรงเรียนอาจจะมีชมรมหรือหลักสูตรพิเศษที่ตรงกับความสนใจของเด็ก หรือพ่อแม่อาจหาศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ตรงกับความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของลูก เช่น คอร์สเรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรม นอกจากจะได้ทำในสิ่งที่ชอบแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาให้เป็น
  • ร่วมสำรวจโลกไปกับลูก : เด็กบางคนชอบเรื่องทางชีววิทยา พวกสัตว์ แมลง ต้นไม้ใบหญ้า พ่อแม่ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องนี้ได้ง่าย ๆ และสนุกสนาน อย่าปล่อยให้ความสงสัยเกี่ยวกับความรู้รอบตัวของลูกผ่านไปอย่างน่าเสียดาย เช่น หากลูกสงสัยว่าเจ้านกที่ร้องอยู่ในพุ่มไม้มันคือนกชนิดไหนกันนะ พ่อแม่อาจจะพาลูกไปสำรวจและเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน  อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างแว่นขยาย เพื่อส่องดูแมลงหรือพืชที่ลูกชอบ จะยิ่งทำให้การสำรวจโลกด้วยกันสนุกยิ่งขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เล่นเกมอย่างสร้างสรรค์

เด็ก ๆ ชอบเล่นและรักอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นเรื่องเล่า นั่นทำให้เด็กจำนวนมากชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์  พ่อแม่อาจจะกังวลว่าลูกติดเกมมากเกินไปหรือเปล่า ลองมองเรื่องนี้ในมุมใหม่ ด้วยการสนับสนุนให้ลูกเล่นเกมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและการคิดเชิงวิเคราะห์ดีกว่า เช่น มายคราฟ (Minecraft) เป็นเกมคล้าย ๆ การต่อบล็อกเพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ แบบ 3 มิติ รวมทั้งการผจญภัยต่าง ๆ ในด่านที่ยากขึ้น ซึ่งนอกจากจะสนุกและช่วยฝึกวิธีคิดให้เด็กแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้พื้นฐานของการเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กที่สนใจในเรื่องนี้ได้ดี

 

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาวะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย การเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และ มีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 แอปเรียนออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอนในยุคโควิด เด็กวัยเรียนต้องรู้ !

4 สาเหตุที่ทำให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษไม่สำเร็จ พร้อมวิธีแก้ไข ทำอย่างไรให้สำเร็จ

ลูกพร้อมเรียนกวดวิชาหรือไม่ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาเช็กลิสต์กัน !

ที่มาข้อมูล : dek-d