วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก ที่พ่อแม่ควรรู้!
การที่พ่อแม่ตวาดเสียงดัง อาจได้รับความสนใจจากลูกในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็จริง แต่สิ่งสำคัญคือ สิ่งที่พ่อแม่ตะโกน หรือ ตะคอกใส่ลูกออกไปนั้นจะทำให้เด็กเข้าใจว่า การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแบบนี้ เป็นวิธีการสื่อสารที่ยอมรับได้ในสังคม เช่นเดียวกับการตีลูก เด็กจะเชื่อว่า การตี หรือ การแสดงพฤติกรรมแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหา และ ลดความขัดแย้งได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรพยายามอย่าใส่อารมณ์กับลูก อย่าใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พ่อแม่เริ่มรู้สึกว่า ตัวเองไม่พอใจให้ลองใช้ วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก กันดีกว่าค่ะ
ตะคอกใส่ลูกส่งผลกระทบกับลูกอย่างไรบ้าง
1. ลูกไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่
การตะคอก ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลในระยะสั้น ๆ ก็จริง แต่การที่พ่อแม่ตะคอกใส่ลูกอยู่ตลอดเวลา หรือ การเสียงดังใส่ลูกทุกครั้งเวลาที่ต้องการให้ลูกหยุดพฤติกรรมอะไรบางอย่าง อาจจะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังพ่อแม่ลดน้อยลง แทนที่จะทำให้ลูกเชื่อฟังพ่อแม่มากขึ้น
ในขณะเดียวกัน พ่อแม่หลายคนที่ต้องเป็นลูกน้อง หรือ เป็นพนักงาน คงรู้สึกไม่พอใจ หรือ ชอบใจนักเวลาที่โดนหัวหน้าตะคอกใส่เวลาที่คุณผิดพลาดเท่าไหร่ และ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคนในครอบครัวของคุณมักจะแก้ปัญหาด้วยการทะเลาะกันเสียงดังจนถึงขั้นลงไม้ลงมือ ด้วยเหตุผลที่ว่า คุณไม่อยากจะฟังคำพูดเหล่านั้น เพราะฉะนั้น การพูดเสียงดัง หรือ การตะคอกอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ และทำให้ลูกไม่เชื่อฟังหรือเกิดความรำคาญได้
2. ลูกจะหลบหน้าหรือหลีกหนีพ่อแม่
การตะคอกใส่ลูกมักทำให้ลูกมีความรู้สึกแย่ลง ทำให้เด็กรู้สึกโกรธ หรือ หลีกหนีไปให้ไกลจากพ่อแม่ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นปฎิกิริยาต่อต้านที่ลูกจะสะท้อนกลับมายังพ่อแม่ที่ตะโกนด่าทอลูกค่ะ ถึงแม้ว่าบางครั้งลูกอาจจะเงียบไม่ตอบโต้พ่อแม่ และ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปก็จริง แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ผลกลับลูกล่ะ ลูกมีการแสดงพฤติกรรมในทางตรงข้าม ไม่ยอมเชื่อฟัง และ หนีออกจากบ้านไป การกระทำเช่นนี้คุ้มที่จะเสี่ยงหรือไหมขึ้นอยู่กับพ่อแม่แล้ว
3. อาจทำให้ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์
การแสดงออกทางอารมณ์ของพ่อแม่ มักจะเกิดจากการที่พ่อแม่มีความรู้สึกไม่พอใจ หรือ ผิดหวังในตัวลูก การตะโกนว่าลูกแสดงให้เห็นว่าคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้กลายมาเป็นพ่อแม่แล้วการระงับอารมณ์เป็นส่งสำคัญ เพราะคุณแสดงออกทางอารมณ์แบบไหน ลูกก็จะเป็นเช่นนั้น เหมือนกระจกที่สะท้อนตัวตนคุณออกมา ถ้าพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ก็ควรพยายามระงับอารมณ์คุณเอาไว่ให้ดีค่ะ
4. การตะคอกใส่ลูกอันตรายกว่าที่คิด
ล่าสุดในงานวิจัยหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก พบว่า การตะโคกใส่ลูก การด่าทอด้วยการใช้คำที่รุนแรง การสาปแช่ง อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเทียบเท่ากับการทำโทษเด็กทางร่างกายหรือการตีเลยทีเดียว เนื่องจากพวกเขาคิดว่าการที่เด็กได้รับประสบการณ์แบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือการแสดงพฤติกรรมต่อต่านสังคม แล้วแบบนี้พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี มาดูคำแนะนำหันค่ะ
สอนลูกอย่างไรให้เชื่อฟังแบบไม่ต้องตะคอก
1. ให้เวลากับตัวเอง
พ่อแม่ควรใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 15 – 20 นาทีให้จิตใจสงบ และใช้เวลานี้ในการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำไปอธิบายให้ลูกฟังว่าคุณต้องการให้ลูกทำอะไร และหากลูกไ่ทำจะเกิดอะไรขึ้น
2. ลองคิดว่าถ้าตัวเองเป็นลูกจะคิดอย่างไร
ทุกคนล้วยเคยเป็นเด็ก และเคยมีความคิดที่ไม่เข้าใจผู้ใหญ่ ในขณะนีร้คุณเป็นผู้ใหญ่แล้วย่อมรู้ดีว่าเด็กคิดอะไร เช่น ในกรณีที่เด็กกำลังเล่นอยู่แต่แม่อยากให้มากินข้าวเดี๋ยวนั้น คุณอาจจะเผื่อเวลาให้ลูกได้เตรียมตัวสัก 10 นาที เพื่อให้เขาหยุดเล่นและมากินข้าว เพราะในขณะนั้นลูกอาจยังมีความรู้สึกสนุกหรือมีจินตนาการต่อเนื่องอยู่
3. อธิบายให้ลูกเข้าใจ
หลังจากที่คุณใจเย็นลงแล้ว ให้เรียกลูกมาพูดคุย บอกว่าทำไมคุณถึงไม่พอใจในพฤติกรรมนี้ และ มีสิ่งไหนที่คุณต้องการให้ลูกทำในอนาคต เป็นการตกลงร่วมกันมากกว่าการบังคับให้ลูกทำอย่างไม่เต็มใจ เพราะถ้าทำแบบนั้รลูกอาจเกิดการต่อต้านได้อีกเช่นกัน
4. อย่าบั่นทอนกำลังใจของลูก
คำพูดของพ่อแม่เปรียบเสมือนแรงผลัก และ แรงฉุดของลู หากแม่พูดจาปลอบประโลมใจให้กำลังใจลูก ลูกก็จะมีกำลังใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในทางตรงข้าม เวลาที่ลูกทำอะไรแล้วพ่อแม่กลับไม่เชื่อใจลูก คาดหวังให้ลูกทำได้มากกว่านี้ ใช้คำพูดที่เปรียบเทียบ หรือ แสดงอาการว่าผิดหวังในตัวลูก สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกหมดกำลังใจ และ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเองได้ค่ะ
การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องง่าย การที่เด็กแต่ละคนจะเติบโตได้แต่ละคนต้องใช้การเอาใจใส่ของพ่อแม่ได้ด้วย การเลี้ยงลูกไม่ไม่มีกรอบ หรือ แนวทางที่แน่ชัด และ บางอย่างก็ไม่สามารถใช้กับได้กับเด็กทุกคน บางครั้งที่หลายๆ มีลูก ไม่ใช่แค่เฝ้าดูลูกให้เจริญเติบโต หลายครั้งเราก็เติบโตตามลูกไปด้วย เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนนะคะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
source หรือ บทความอ้างอิง : psychologytoday.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา
หยุดดุด่าลูก ขู่ลูกว่าไม่รัก คำพูดต้องห้ามของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก
เห็นลูกดื้ออย่าเพิ่งดุอย่าเพิ่งด่า วิจัยบอกว่าเด็กดื้อจะประสบความสำเร็จมากกว่าเมื่อโตขึ้น