วิธีการยื่นเรื่องขอหนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พอใกล้ถึงช่วงเวลาแห่งการท่องเที่ยวแต่ละที ครอบครัวไหนที่กำลังวางแผน จะพาเด็กๆ ไปเที่ยวต่างประเทศเป็นครั้งแรก สิ่งจำเป็นที่สุดคือ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก หลายคนคงยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร หรือเตรียมเอกสารอะไรบ้างจะพาเด็กๆ ไปต่างประเทศทั้งที ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ต้องเป็นกังวลกันบ้างล่ะ แน่นอนว่าขั้นแรกคือ การทำ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก นั่นเอง การทำ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก นั้นต้องเตรียมตัวยังไง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง? สำหรับสถานที่ให้บริการ ทำพาสปอร์ตเด็กนั้น ก็คือกองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือพูดง่ายๆ คือที่เดียวกันกับทำพาสปอร์ตผู้ใหญ่นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันก็มีจุดให้บริการอยู่ทั่วประเทศ 

 

เอกสารที่ใช้ในการทำพาสปอร์ตเด็ก มีดังนี้

  • บัตรประจําตัวประชาชนของเด็ก ที่ยังมีอายุการใช้งาน (กรณีที่เด็กมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
  • สูติบัตรฉบับจริง (กรณีเด็กอายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์)
  • บัตรประจําตัวประชาชนของพ่อ-แม่
  • หากพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้พาสปอร์ตทางฉบับจริงของพ่อหรือแม่

 

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต (สำหรับเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี)

  1. กดบัตรคิว รอเรียกคิว
  2. วัดส่วนสูง
  3. บันทึกลายนิ้วมือ
  4. ถ่ายรูป
  5. เซ็นชื่อ หรือ ปั๊มลายนิ้วมือ (สำหรับเด็กเล็ก)
  6. พ่อและแม่เซ็นเอกสารรับรอง
  7. จ่ายค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
  8. จ่ายค่าไปรษณีย์ 60 บาท (สำหรับจัดส่งพาสปอร์ตไปที่บ้าน)

 

ทำพาสปอร์ตและการทำหนังสือยินยอม

การพาสปอร์ต สำหรับเด็ก

How to apply for a passport or passport for children 1

พาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทาง คือใบเบิกทางเพื่อผ่านไปยังประเทศนั้นๆ สำหรับเด็กๆ ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ อาจจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากผู้ใหญ่นิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้ยากลำบากอะไรมากนัก มาดูกันว่าเอกสารสำหรับทำพาสปอร์ตของเด็กเล็กอายุไม่เกิน 15 ปี มีอะไรบ้าง

1. บัตรประชาชนหรือสูติบัตรฉบับจริงของเด็ก ถ้าเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอหรือเขต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอหรือเขต หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากอำเภอ หรือเขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง หากเด็กอายุ 7 ขวบ มีบัตรประชาชนแล้วก็นำบัตรประชาชนของเด็กไปยื่นได้เลย

 

2. พ่อแม่หรือผู้ปกครอง นำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่

นำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของพ่อแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลพ่อแม่ ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่แม่หย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ

ที่ต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากอำเภอหรือเขต เอกสารอื่น ๆ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนนามสกุล, เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม, บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของพ่อหรือแม่ เป็นต้น

 

4. หากพ่อแม่มีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้นำเอกสารการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย

 

5. ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่

และมีการใช้นามสกุลตามสามีใหม่ ให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย

 

6. หากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาได้

กรณีนี้ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา โดยต้องผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต

How to apply for a passport or passport for children 2

7. เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช่น หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น

 

8. กรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต

หรือว่าเป็นชาวต่างชาติแล้วไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง

 

9. อัตราค่าธรรมเนียม เริ่มต้นราคา 1,000 บาท

How to apply for a passport or passport for children 3

การทำหนังสือยินยอม

สำหรับเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี พ่อแม่ไปทำหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ที่อำเภอหรือสำนักงานเขตฯ ที่เราอาศัยอยู่ โดยนำบัตรประชาชนหรือสูติบัตรฉบับจริงของเด็กไปด้วย หากสูติบัตรเป็นสำเนา ก็ต้องให้ทางอำเภอหรือสำนักงานเขตฯ รับรองสำเนาถูกต้อง โดยทั้งพ่อและแม่จะต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ในวันยื่นคําร้อง ทำพาสปอร์ตเด็ก เว้นแต่จะเป็นกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามด้านล่างนี้

 

1. กรณีที่พ่อหรือแม่ หรือ ทั้งพ่อและแม่ ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้

ให้พ่อหรือแม่ที่ไม่สามารถมาลงนาม ทําหนังสือยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ ที่อําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น พร้อมบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงที่มีอายุการใช้งานของพ่อหรือแม่ที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ หรือในกรณีที่พ่อหรือแม่อยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ จากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย

*เฉพาะกรณีที่เด็กอายุตํ่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ที่พ่อและแม่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทําหนังสือมอบอํานาจที่อําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือในกรณีที่พ่อหรือแม่อยู่ต่างประเทศ ให้ทําหนังสือมอบอํานาจจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย ให้บุคคลอื่นที่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เป็นคนพาเด็กมายื่นคําร้องขอทําพาสปอร์ตเพิ่มเติม พร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอํานาจ

 

2. กรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และเด็กอยู่ในความปกครองของผู้เป็นแม่

แม่สามารถลงนามให้ความยินยอมได้ฝ่ายเดียว พร้อมกับบันทึกคําให้การรับรองการปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของแม่

 

3. กรณีที่พ่อและแม่จดทะเบียนหย่า

พ่อหรือแม่ที่เป็นผู้ปกครองบุตรเพียงผู้เดียวในบันทึกการหย่า สามารถเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมได้ฝ่ายเดียว พร้อมนำบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของพ่อหรือแม่มาด้วย

 

4. กรณีที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ให้พ่อหรือแม่ที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรม เป็นผู้ลงนามให้ความยินยอม พร้อมนำทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับบุตรบุญธรรมมาด้วย

 

5. กรณีพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

ให้พ่อหรือแม่ที่ยังมีชีวิตมาลงนามให้ความยินยอม พร้อมนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตน และใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่งมาด้วย

 

6. กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคําสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้ปกครอง เช่น

6.1 กรณีพ่อและแม่เสียชีวิต

6.2 กรณีพ่อหรือแม่ของเด็กเป็นชาวต่างชาติ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาลงนามให้ความยินยอมได้

6.3 กรณีพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่เด็กอยู่ในความดูแลของพ่อฝ่ายเดียวมาโดยตลอดและไม่สามารถติดต่อแม่ได้ ให้ผู้ปกครองที่มีชื่อระบุตามคําสั่งศาลเป็นผู้ลงนาม พร้อมกับนำคําสั่งศาลมาด้วย และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของผู้ปกครอง

How to apply for a passport or passport for children 4

สรุป การทำพาสปอร์ตสำหรับเด็ก ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยมีพาสปอร์ตแล้ว ก็ขอวีซ่าได้เลยค่ะ แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าขอวีซ่าต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ให้ทีมงาน Tumvisa ช่วยคุณสิคะ เราจะทำให้การขอวีซ่าของคุณไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 

การขอ Visa Non- Immigrant “O” ติดตามครอบครัว

ผู้ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภทนี้ได้ได้แก่บุคคล 3 กลุ่มดังนี้:

  1. ชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทย / อุปการะบุตรคนไทย
  2. ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าประเภท “Non- B” ที่มีใบอนุญาตทำงานในไทย
  3. ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าเกษียณ ซึ่งอายุต่ำกว่า 50 ปี

 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

  • หนังสือเดินทางที่มีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
  • แบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วน
  • ภาพถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ) พื้นหลังสีน้ำเงินหรือสีขาว
  • ต้นฉบับและสำเนาทะเบียนสมรส (สำหรับคู่สมรส) หรือสูติบัตร (สำหรับเด็ก)
  • สำเนาใบอนุญาตทำงานไทย (กรณีติดตามผู้ถือ Non-B)
  • สำเนาหน้าข้อมูลและหน้าวีซ่าไทยของหนังสือเดินทางของผู้อุปการะ (กรณีติดตามผู้ถือ Non-B/วีซ่าเกษียณ)
  • ค่าธรรมเนียมวีซ่า (Single Entry 2,000 บาท, Multiple Entry 5,000 บาท)
  • หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท (สี่แสนบาท)
  •  เอกสารที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยอาจร้องขอเพิ่มเติม ได้แก่:
    • สำเนาทะเบียนบริษัท, สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท, สำเนาของงบดุลล่าสุดของบริษัท, สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของบริษัท (กรณีติดตามผู้ถือ Non-B
    • หนังสือรับรองความประพฤติ
    • ใบรับรองแพทย์

เนื่องจากเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ อาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่ยื่นใบสมัคร จึงควรตรวจสอบข้อมูลล่าสุดสำหรับสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยที่คุณต้องการสมัคร

How to apply for a passport or passport for children 5

วิธีช่วยในการถ่ายรูปทำวีซ่าสำหรับเด็กเล็ก

  • หาอะไรเป็นสีขาวเป็นฉากหลัง หรือจะเป็นสีอื่นที่เป็นสีอ่อนๆ ก็ได้ และควรเป็นพื้นเรียบๆ ไม่ต้องมีลวดลายอะไร เพราะเราจะได้นำไปปรับแต่งภาพได้ในภายหลัง
  • ถ่ายในที่แสงส่องถึง ให้เห็นหน้าเด็กอย่างชัดเจน เด็กอาจจะทนไม่ได้กับแสงแฟลช เพราะฉะนั้นควรใช้แสงจากธรรมชาติจะดีกว่า
  • เสื้อผ้าเด็กควรเป็นสีอื่น ที่ไม่ใช่สีขาว ถ้าเป็นสีเข้มหน่อยก็จะดี จะได้ไม่กลืนไปกับฉากหลังสีขาวของเรา เวลาปรับแต่งอะไร ก็จะทำได้ง่ายกว่า
  • ทำยังไงให้เด็กมองมาที่เลนส์ ก็ต้องหลอกล่อกันสักหน่อย โดยการใช้ของเล่น หรือเปิดการ์ตูนให้ดู โดยให้อยู่ใกล้กับเลนส์มากที่สุด ตากของเด็กจะตรงกับเลนส์พอดี
  • ถ่ายรูปไว้ให้มากที่สุด เพราะเด็กไม่อยู่นิ่งอยู่แล้ว อาจจะขยับไปมาได้ระหว่างที่มีการกดชัตเตอร์ เพราะฉะนั้น ถ่ายรูปมาให้เยอะๆ แล้วเราสามารถนำมาเลือกรูปที่ดีที่สุดได้ภายหลัง

 

ถ้าเด็กยังนั่งเองไม่ได้ ควรทำดังนี้

  • ให้เด็กนั่งเก้าอี้หัดนั่ง และให้ใครสักคนช่วยกันจับตัวเด็กไว้ไม่ให้ล้ม
  • ห่อเก้าอี้ด้วยกระดาษขาว แล้วผูกตัวเด็กไว้กับเก้าอี้
  • ให้ลูกนอนบนเตียงที่มีผ้าปูสีขาว วิธีนี้เด็กไม่ลำบาก แต่คนถ่ายอาจจะลำบากสักหน่อย อย่าลืมทำผ้าปูให้ตึงๆ ด้วย
  • ทำอย่างไรก็ไม่ได้ผล ยังไงก็ต้องมีคนอุ้ม ต้องให้คนอุ้มใส่เสื้อยืดสีขาวไม่มีลาย แล้วจับเด็กอยู่ในท่านั่ง วิธีนี้รับรองได้ผล

 

ที่มา : (sanook) (wonderfulpackage) (tumvisa)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

พาลูกเที่ยว เดินทางไกล ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

นักท่องเที่ยว เลือกใช้เวลากับคนรักเป็น สิ่งสำคัญในปี 2021

 

บทความโดย

sippanutpick