เลี้ยงลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูกหนึ่งคนต้องเตรียมเงินแค่ไหน ค่าอะไรบ้าง?
การเลี้ยงลูกหนึ่งคน ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งในยุคสมัยแบบนี้ เราเชื่อว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองทุกคนอยากให้อนาคตที่ดีที่สุด ให้แก่ลูก แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ การเลี้ยงลูกคนหนึ่ง ให้เติบโต และ ได้รับอะไรที่ดีได้ อาจจะไม่ง่าย และ ใช้เงินมากกว่าที่เราคิด เลี้ยงลูกใช้เงินเท่าไหร่ บทความนี้ จะบอกเล่าถึงประเด็นต่าง ๆ และ หัวข้อการใช้เงินต่าง ๆ ที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง จำเป็นจะต้องทราบ เพื่อการวางแผนการเงินที่ดีต่อไป ในอนาคต
1. ค่าใช้จ่ายช่วงเริ่มท้อง
ในช่วง 9 เดือนแรกของการมีลูก แค่เริ่มต้น ก็ย่อมมีค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพ และ เรื่องการตั้งครรภ์ จะมีค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ ค่าพบหมอเพื่อตรวจครรภ์ และ ต้องเตรียมค่าคลอดลูกเอาไว้คร่าวๆ โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมทั้งหมด จะอยู่ระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์ และพบแพทย์ราว 1,500 – 2,000 บาทต่อเดือน
- ค่าทำคลอด ประมาณ 30,000 – 60,000 บาท ขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่เลือก ถ้าไม่ทำคลอดในโรงพยาบาลเอกชน ที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากเกินไป ก็ไม่น่าจะเกิน 100,000 บาท ในรอบระยะเวลา 9 เดือน
2. ค่าใช้จ่ายซื้ออุปกรณ์ สำหรับเด็กแรกเกิด
เมื่อลูกอายุมากขึ้น โตขึ้น คุณพ่อ และ คุณแม่ ต้องเตรียมอุปกรณ์เด็กแรกเกิดให้พร้อม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะตกราว 30,000 – 50,000 บาท ได้แก่ เสื้อผ้าเด็ก ผ้าอ้อม นม และเครื่องอุ่นนม เปลนอน เครื่องอาบน้ำ อาหารสำหรับเด็ก และตลอดระยะเวลาการเลี้ยง จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนอีกราว 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว) ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ อาจจะต้องดูว่า สิ่งของไหนจำเป็น สิ่งของไหน อาจจะยังไม่จำเป็น เพื่อจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ค่าอาหารการกินของลูก
ช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนแรก ให้ลูกกินนมแม่ จะช่วยประหยัดค่าอาหารไปได้มาก หลังจากนั้น ค่าอาหารการกินของลูก จะเกิดขึ้นทุกวัน จนเรียกได้ว่าเป็น ค่าใช้จ่ายประจำ ซึ่งค่าอาหารลูก อยู่ที่ราว 3,000 – 5,000 บาทต่อเดือน
4. ค่าพี่เลี้ยงเด็ก
คุณแม่ที่เป็นเวิร์กกิ้งมัม เมื่อต้องกลับไปทำงานประจำ หมดระยะเวลาลางานแล้ว จำเป็นต้องใช้บริการ พี่เลี้ยงเด็ก ค่าใช้จ่ายพี่เลี้ยงเด็กสมัยนี้มีตั้งแต่หลักพัน ถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาจ้าง จ้างเป็นชม. หรือตลอดทั้งวันทั้งคืน คร่าวๆ กันเงินส่วนนี้ไว้เดือนละ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน เพื่อให้ครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้ แต่บางครอบครัวที่คุณแม่สามารถ เลี้ยงลูก
5. ค่าเล่าเรียนลูก
เมื่อลูกโตขึ้น และ ถึงวัยต้องเข้าเรียนอนุบาล ค่าเล่าเรียน หรือ ค่าเทอมลูก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ในช่วงอนุบาลจนจบชั้นประถม ลูกต้องเรียนอย่างน้อย 9 ปี ค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากเลือกเรียนในโรงเรียนรัฐบาลจะไม่มากเท่าไร แต่ถ้าลูกเรียนโรงเรียนเอกชน คุณพ่อคุณแม่จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และมากขึ้นไปอีกในชั้นประถมและมัธยม
การวางแผนการเงินสำหรับค่าเทอมลูก ผู้ปกครองต้องคำนวณให้เหมาะสมกับสภาพคล่องของตัวเอง โดย ค่าเล่าเรียน เฉลี่ยต่อปีราวๆ 20,000 – 50,000 บาท รวมตลอด 9 -10 ปี อยู่ราวๆ 200,000 – 500,000 บาท ยังไม่รวมอุปกรณ์การเรียนขึ้นอยู่กับโรงเรียน และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
6. ค่าใช้จ่ายเสริม
สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนเสริม เช่น ค่ารักษา หาหมอ ค่าวัคซีนต่างๆ ที่ต้องฉีดให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 ปี ค่าเดินทางท่องเที่ยว ของเล่นลูก ค่ายานพาหนะ ฯลฯ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะขึ้นลง ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละครอบครัว ภายในระยะเวลา 10 ปี กะไว้คร่าวๆ ว่าอยู่ที่ 500,000 – 1,000,000 บาท
เบ็ดเสร็จแล้ว มีลูกหนึ่งคน มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,200,000 บาท (โดยประมาณ)
ช่วงเวลา 10 ปีนั้น แม้จะต้องใช้เงินค่อนข้างสูง แต่เชื่อว่าไม่เกินความพยายามของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถบริหารให้เพียงพอได้ ถ้าสามีภรรยาไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รู้จักออมเงิน ลงทุนเติมเงินเก็บ ใช้แต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ รู้จักวางแผนการเงินเป็นอย่างดีค่ะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : theasianparent
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีสอนลูกเก็บเงิน สอนลูกให้ประหยัด รู้คุณค่าของเงินตั้งแต่เด็ก
วิธีเก็บเงินแบบแม่ญี่ปุ่น เก็บเงินอย่างไรให้เหลือเยอะๆ เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น
เก็บเงินขวัญถุง ตามปีเกิด มีเคล็ดลับอะไรบ้างนะ