เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง ฉบับอัปเดต 2567

ไขขอสงสัยให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง บ้านเรามีสิทธิยื่นตัวไหน ยื่นยังไง ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง

สำหรับคุณแม่มือใหม่ อาจจะงง ๆ ว่า เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์เด็ก ต่างกันยังไง บ้านเรามีสิทธิได้รับเงินตรงนี้มั้ย ต้องยื่นอันไหน ยื่นยังไง ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจด้วยกัน จากบทความนี้ได้เลยค่ะ

 

 

เงินอุดหนุนเด็ก

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ถือเป็นสวัสดิการของรัฐ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกของคุณพ่อคุณแม่ โดยที่รัฐจะสนับสนุนเงินเลี้ยงดูบุตรคนละ 600 บาท ต่อเดือน ไปจนกว่าเด็กจะอายุครบ 6 ปี

 

ระยะเวลาการลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

สำหรับเด็กแรกเกิด สามารถยื่นขอลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กได้ตลอดทั้งปี โดยรัฐจะจ่ายเงินตั้งแต่เดือนที่ยื่นขอรับสิทธิ์ จ่ายทุก ๆ เดือน จนกว่าเด็กจะมีอายุครบ 6 ปี ดังนั้นยื่นเร็ว ก็แปลว่าจะได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเร็วด้วยเช่นเดียวกัน แต่ต้องรอคลอดก่อนจึงจะสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ยังไม่สามารถยื่นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่สำหรับใคร ที่ยังไม่ได้ยื่นลงทะเบียน ก็ยังมีสิทธิยื่นขอลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กได้ จนเด็กอายุ 6 ปี เพียงแต่ว่าจะไม่สามารถขอย้อนหลังได้เท่านั้นเอง จำง่าย ๆ ก็คือ “ใครมาเมื่อไหร่ ได้เมื่อนั้น จนลูกอายุ 6 ขวบ แต่ขอย้อนหลังไม่ได้”

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ยื่นขอรับเงินอุดหนุนเด็ก 2567

เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ

  • สัญชาติไทย
  • พ่อและแม่ หรือคนใดคนหนึ่ง ต้องมีสัญชาติไทย
  • เด็กอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่รายได้น้อยตามเกณฑ์ที่ระบุไว้
  • เด็กไม่ได้อยู่ในสถานสงเคราะห์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ปกครองที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ

  • สัญชาติไทย
  • อาศัยอยู่กับเด็กแรกเกิด
  • มีรายได้เฉลี่ยของทั้งครอบครัว ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน (ให้เอารายได้ทั้งปีของทุกคน มาหารด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน รวมตัวเด็กด้วย เพื่อหาค่าเฉลี่ยต่อคนต่อปี)

 

 

เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอรับเงินอุดหนุนเด็ก 2567

  • แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
  • แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
  • สำเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ปกครอง
  • สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง โดยต้องเป็น 3 ธนาคารที่ระบุไว้เท่านั้น ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
  • สำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์
  • กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนและสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท ต้องมีเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา (สลิปเงินเดือน)
  • สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้รับรองบุคคลที่ 1

  • อาสาสมครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.)
  • อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)

 

ผู้รับรองบุคคลที่ 2

  • กํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน
  • ข้าราชการสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่
  • ข้าราชการในระดับปฎิบัติการหรือเทียบเท่าในท้องถิ่น

คุณพ่อคุณแม่ สามารถตรวจสอบสิทธิ์ว่าตัวเองลงทะเบียนผ่านแล้วหรือยัง รวมไปถึงตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่ https://govwelfare.cgd.go.th/welfare/home

 

เงินสงเคราะห์เด็ก ประกันสังคม 2567

เงินสงเคราะห์เด็ก เป็นเงินที่สำนักงานประกันสังคมสนับสนุน โดยให้เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนถึงอายุ 6 ปี เหมือนกับเงินอุดหนุนเด็ก แต่จะต่างจาก เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ตรงที่ เงินสงเคราะห์เด็ก เป็นสิทธิสำหรับผู้ประกันตนประกันสังคม โดยมีเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ต่างจากเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบดูได้ ว่าตัวเองเข้าเกณฑ์อันไหน ก็ให้ยื่นอันนั้น ไม่สามารถยื่นทับซ้อนกันได้ค่ะ

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ยื่นขอรับเงินสงเคราะห์เด็ก

  • เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 คือ ผู้ที่มีรายได้ประจำ และจ่ายเงินสบทบเข้าประกันสังคม หรือ มาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยนำส่งเงินสบทบมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ยื่นขอสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร
  • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  • ยื่นขอรับได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนถึงอายุ 6 ปี ครั้งละไม่เกิน 3 คน

 

เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์เด็ก

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  • กรณีผู้ประกันตนหญิง ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด
  • กรณีผู้ประกันตนชาย ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด พร้อมสำเนาทะเบียนสมรส
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ

 

วิธียื่นเรื่องเพื่อรับประโยชน์เงินสงเคราะห์บุตร

  • กรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อ และนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคม
  • รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐาน และพิจารณาอนุมัติ
  • รอรับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม
  • รอรับเงินสงเคราะห์บุตร เป็นรายเดือน เดือนละ 600 บาท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เงินอุดหนุนบุตรไม่เข้าติดต่อที่ไหน เบอร์โทรติดต่อเจ้าหน้าที่แต่ละจังหวัด เช็กเลย!

พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

คุณแม่ขาชอปมาทางนี้ 8 ชุดคลุมท้อง ราคาหลักร้อย น่ารักสุด ๆ เป็นแม่ท้องก็สวยได้

ที่มา : https://www.sso.go.th/wpr/main https://www.facebook.com/ssofanpage/

บทความโดย

PP.