มาทำความรู้จัก โรคเฮอร์แปงไจน่า กัน!
โรคเฮอร์แปงไจน่า เกิดจากอะไร? herpanginaคือ
โรคเฮอร์แปงไจน่า เกิดจากเชื้อไวรัส ที่อยู่ในกลุ่ม เอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) หลายชนิด ได้แก่ คอกแซคกีไวรัส และ เอคโคไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย ติดต่อได้จาก การคลุกคลีกับผู้ป่วย แล้วสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ของผู้ป่วย
อาการของ โรคเฮอร์แปงไจน่าเป็นอย่างไร?
อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่า คล้ายกับโรคมือเท้าปาก คือ
- ผู้ป่วยจะมีแผลในปาก ที่บริเวณเพดานปาก ลิ้นไก่ ด้านหลัง ของคอหอย
- แต่จะไม่มีมีผื่นสีแดง หรือ ตุ่มน้ำ ที่บริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า
- อาจมีไข้สูง กว่าโรคมือเท้าปาก
- อาการไข้จะลดลง ภายใน 2-4 วัน
- แผลในปาก อาจคงอยู่ได้ ประมาณ 1 สัปดาห์
การรักษาโรคเฮอร์แปงไจ น่าทำได้อย่างไร?
เนื่องจาก โรคเฮอร์แปงไจน่า เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส จึง ไม่มียาที่ใช้รักษาได้ จำเพาะเจาะจง
การดูแลผู้ป่วย จะใช้การรักษาตามอาการ ได้แก่
- การเช็ดตัวลดไข้ ทานยาแก้ปวดลดไข้ เพื่อ บรรเทาอาการไข้ และการเจ็บแผลในปาก
- หยดยาชาในปาก เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ก่อนรับประทานอาหาร
- ทานอาหารอ่อน ไม่ควรทานอาหารร้อนจัด เพราะ อาจกระตุ้นให้เจ็บแผลในปากได้
- แพทย์อาจใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาชา เพื่อลดอาการคออักเสบ
- อาจดื่มนมเย็น หรือ ไอศครีมได้ เพราะเนื่องจาก ความเย็นทำให้ชา ไม่เจ็บเวลากลืน และ ควรดื่มน้ำมาก ๆ นะคะ
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง คือ ไข้สูงลอย กินอาหารไม่ได้ มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะออกน้อย และ มีสีเข้มผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจรักษาแยกจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคมือเท้าปาก หรือ การติดเชื้อแบคทีเรีย ในลำคอ
เราจะป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า ได้อย่างไร?
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า จึงต้องใช้การป้องกันโรคด้วย วิธีรักษาสุขอนามัยทั่วไป เพื่อป้องกันการติดต่อของโรค และ เนื่องจาก โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน วิธีการติดต่อก็เหมือนกับโรค มือ เท้า ปาก การป้องกันโรคจึงใช้หลักการเดียวกัน ได้แก่
- เมื่อมีการระบาดของโรคไม่ควรนำเด็กเข้าไปในที่แออัด
- ไม่ใช้ข้าวของเครื่องใช้ของเด็ก แต่ละคนปะปนกัน
- ทางโรงเรียน ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นต่าง ๆ เพราะ อาจปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือ สิ่งขับถ่ายของเด็ก ได้ตลอด
- ควรมีการสอบถามประวัติอาการเด็กรวมทั้ง ตรวจร่างกาย เพื่อคัดกรองเด็กป่วยที่หน้าโรงเรียน ทั้งอาการไข้ และ ตุ่มน้ำที่ปาก ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่วง ที่มีการระบาดของโรค
- ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในชุมชน พื้นที่สาธารณะ ที่มีคนอยู่จำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ในช่วงที่มีการระบาด
- ล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำสบู่ และน้ำสะอาด
โรคมือ เท้า ปาก VS โรคเฮอร์แปงไจน่า แตกต่างกันอย่างไร?
ถึงแม้ว่าโรคมือ เท้า ปาก และ โรคเฮอร์แปงไจน่า จะเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่อาการแสดงของโรคทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกัน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ ดังนี้
โรคมือ เท้า ปาก
- มีไข้
- มีผื่น
- มีตุ่มน้ำใสหรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
- บางรายอาจมีอาการอาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง ร่างกายขาดน้ำ ปอดบวมน้ำ หอบเหนื่อย ซึม ชัก เกร็ง ช็อกเสียชีวิต
โรคเฮอร์แปงไจน่า
- ไม่มีผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
- สังเกตอาการได้ค่อนข้างลำบากในช่วงแรก
- เมื่อเริ่มมีผื่นขึ้น คออักเสบ จึงจะสามารถสังเกตอาการได้
- บางรายอาจพบเพียงผื่นและแผลตื้นๆ กรายๆ ในช่องปากเท่านั้น
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัว ไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา: Paolo Hospital, samitivej hospital
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระวังเด็กป่วย โรคมือ เท้า ปาก กรมควบคุมโรคเตือนพ่อแม่ ดูแลลูก 1-3 ปี สังเกตอาการ โรคมือเท้าปาก
อาร์เอสวี เชื้อไวรัสร้าย ทารก เด็กเล็ก ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ง่าย ช่วงหน้าฝน