นี่คือวิธีช่วยให้ลูกวัยรุ่นมีนิสัยเรื่องเงินที่ดี

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองแล้ว เด็กวัยรุ่นบางครั้งก็เหมือนอยู่กันคนละโลก คุณจะคุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเงินและสร้างเสริมนิสัยที่ดียังไงล่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณทำแบบทดสอบว่าตัวคุณเองสอนลูกเรื่องแบบไหนแล้ว และก็พบว่าคุณเป็นผู้พิทักษ์ นั่นหมายความว่าคุณเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่เชื่อในความสำคัญของการมีความมั่นคงทางการเงิน และลูกของคุณก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งนี้ด้วยตัวเอง มีเพียงการแนะแนวทางเล็กๆ น้อยๆ

แต่พอลูกของคุณเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น คุณอาจจะพบว่าการคุยกับลูกมันยากไปซะทุกเรื่องเลย นั่นแหละเป็นเหตุผลว่าทำไมการพูดคุยที่แสนยากเย็นนี้ (แต่เป็นสิ่งสำคัญกับลูก) ถึงเป็นสิ่งจำเป็น หนึ่งในเรื่องที่ต้องคุยก็คือเรื่องเงิน

หน้าที่ของคุณในชีวิตของลูกวัยรุ่น

ผลสำรวจเกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินของพ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย ที่จัดทำโดยอีสต์สปริง อินเวสต์เมนต์ส พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองแบบผู้พิทักษ์ส่วนใหญ่ ปล่อยให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยมีคำแนะนำให้เพียงเล็กน้อย และรูปแบบการเลี้ยงลูกแบบผู้พิทักษ์อย่างคุณ ก็เหมาะสมมากกับวัยรุ่นซึ่งอยู่ในช่วงค้นหาตัวเอง

ในช่วงนี้ ลูกจะพยายามพิสูจน์ความเป็นอิสระของตนเองด้วยการลองและค้นหาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งมันก็ถือเป็นโอกาสให้เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองมากขึ้น ให้รู้จักตนเอง และรับผิดชอบมากขึ้น ด้วยคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ จากคุณ ลูกวัยรุ่นสามารถเรียนรู้ที่จะตัดสินใจอย่างชาญฉลาดได้

มุ่งสู่ประเด็น

เริ่มจากพูดคุยกันอย่างเปิดอก คุณคงจะอยากให้ให้ลูกวัยรุ่นมองคุณว่าเป็นคนที่คุยด้วยได้ ไม่ใช่คนที่ชอบวิจารณ์ขี้ฉอด (ศัพท์วัยรุ่นน่ะ รู้ไว้ก็ดี) และที่สำคัญเลย อย่าให้ลูกมองว่าเป็นคนที่ชอบบังคับให้คิดตาม

อธิบายให้ลูกใจว่าการขาดความรู้ในการจัดการเงิน สามารถส่งผลเสียกับการจัดการชีวิตได้อย่างไรบ้าง อีกไม่กี่ปีลูกก็จะต้องใช้ชีวิตพึ่งพาตนเองหรือทำงานครั้งแรก ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะคุยกันเรื่องเงิน ทำใจให้เป็นกลางและรับฟังอยู่เสมอ จำไว้ว่าในฐานะผู้พิทักษ์ คุณมุ่งที่จะแนะนำและช่วยเหลือ ไม่ใช่ประคบประหงมคอยโอ๋นะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อแนะนำในการสอนลูกวัยรุ่นเรื่องเงิน

  1. จุดประสงค์เป็นหลัก

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่ม วัยรุ่นต้องเข้าใจว่าทำไมเงินถึงเป็นสิ่งสำคัญ ลองถามเรื่องเป้าหมายของลูกดู อย่างเช่น บ้านแบบไหนที่อยากอยู่ หรือในอนาคตอยากขับรถแบบไหน เมื่อรู้ความใฝ่ฝันของลูกแล้วก็พยายามดึงเข้าสู่ความจริง โดยบอกให้ลูกรู้ว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่ถึงจะบรรลุเป้าหมายได้

  1. ตั้งเป้าและงบ

ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า คนเจนแซด (คนที่เกิดระหว่างช่วงกลางของทศวรรษ 1990 กับช่วงต้นของทศวรรษ 2000) จำนวน 69% บอกว่าไม่ค่อยเข้าใจว่าควรจะใช้เงินเท่าไหร่และควรออมเงินเท่าไหร่เพื่อเป้าหมายระยะยาว และมีความเป็นไปได้สูงที่ลูกวัยรุ่นของคุณจะเป็นแบบคล้ายๆ กันนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในฐานะผู้พิทักษ์อย่างคุณ การรู้วิธีออมเงินคือหัวใจหลักของการบรรลุเป้าหมายความมั่นคงทางการเงิน และนี่คือสิ่งที่คุณต้องการส่งต่อให้กับลูก ลองแบ่งปันวิธีที่ใช้ดูรายรับรายจ่ายให้ลูกฟัง รวมถึงพื้นฐานของการจัดการงบใช้จ่ายด้วย คุณสามารถทำให้มันเป็นเรื่องง่ายได้ อย่างเช่นใช้กฎ 50 30 20 โดยเงิน 50% ใช้กับสิ่งจำเป็น เงิน 30% ใช้กับค่าใช้จ่ายส่วนตัว และอีก 20% ให็เก็บออม คุณสอนลูกให้วางแผนงบใช้จ่ายของตัวเองด้วยนะ คุณบอกให้ลูกรู้ว่าจัดการงบใช้จ่ายของครอบครัวยังไงก็ได้นะ ลูกจะได้เข้าใจมากขึ้นเมื่อเห็นตัวเลขจริงๆ

  1. หาเลี้ยงตนเอง

วัยรุ่นมีสำนึกคิดต่อตนเอง และเป็นเรื่องปกติที่จะอยากได้ของแบบเดียวกับที่เพื่อนมี แม้ว่ามันจะแพงก็ตาม นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะให้ลูกหาเงินบางส่วน (หรือทั้งหมดเลยก็ได้) เพื่อซื้อของที่อยากได้ สิ่งนี้ตรงกับผู้พิทักษ์แบบคุณด้วย คุณเชื่อว่าเงินเป็นสิ่งที่ควรลงแรงเพื่อให้ได้มา และลูกของคุณเองก็ต้องลงแรงหาเงินเช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นงานเสริม งานสอนติวเตอร์ หรือทำงานบ้าน ก็คอยสนับสนุนให้ลูกหาเงินเอง สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้การทำงาน การออมเงิน และการบรรลุเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ยึดโยงกัน มันยังช่วยปลูกฝังความรู้สึกเป็นอิสระในช่วงวัยรุ่นที่แสนลำบากนี้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. มองภาพใหญ่

พอลูกคุณมีพื้นฐานแล้ว เริ่มแนะนำแนวคิดเรื่องทำเงินให้งอกเงย ให้ลูกเห็นพลังของการลงทุนและดอกเบี้ย ไม่ว่าจะด้วยบัญชีออมเงินของลูกเอง (ที่คุณน่าจะเปิดไว้ให้ลูกแล้ว) หรือด้วยการจำลอง อย่างเช่น คุณอาจจะให้ลูกวัยรุ่นฝากเงินไว้ที่คุณเป็นประจำสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วคุณก็คืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงสิ้นสุดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้

คุณอธิบายให้ลูกรู้เรื่องระบบเครดิตและสรุปความเสี่ยงด้วยก็ได้ และเนื่องจากคุณเป็นแบบผู้พิทักษ์ คุณเองไม่สบายใจที่จะเป็นหนี้ และถ้าเป็นไปได้ละก็ คุณอยากให้ลูกหลีกเลี่ยงการก่อหนี้เช่นกัน

ในขณะที่คุณพูดเรื่องนี้ คุณลองบอกลูกคร่าวๆ ว่าในอนาคต คุณจะช่วยเหลือทางการเงินให้ลูกเท่าไหร่ ให้ลูกจัดการเป้าหมายของตนเอง รวมถึงวิธีการที่จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายด้วยตัวเอง คุณจะคอยแนะนำและช่วยเหลืออยู่เสมอ ดังนั้นปล่อยให้ลูกได้คิดด้วยนะ

  1. ปรับตัวให้ทันสมัย ใช้แอป

วัยรุ่นชอบโลกดิจิทัล มีแอปดีๆ หลายอันที่ใช้งานง่ายและมีประโยชน์ อย่างเช่นแอปที่ช่วยจัดการเงินและออมเงิน กระตุ้นให้ลูกวัยรุ่นของคุณค้นหาว่าอันไหนเหมาะ และบางทีลูกอาจจะกำลังก้าวไปสู่ความมั่นคงทางการเงินแบบคุณก็ได้นะ

เยี่ยมยอดเลย ! พ่อแม่แบบผู้พิทักษ์ การสอนลูกวัยรุ่นเรื่องเงินมันไม่ยากเลยใช่ไหม ช่วงเวลาวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโต นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงสำคัญที่จะต้องคุยเรื่องเงินตอนนี้ รวมถึงแนะนำ ช่วยเหลือ และแนะแนวลูกวัยรุ่นให้ไปถูกทาง การมีคุณอยู่เคียงข้าง จะช่วยให้ลูกอุ่นใจในการค้นหาตัวเองอันยาวไกลนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team