การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป

การสูญเสียการได้ยิน สามารถรับมือตั้งแต่แรกเกิดได้อย่างไร การตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็ก ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรรู้ และอุปกรณ์ช่วยเหลือการได้ยินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้หรือไม่ ในปี 2564 ที่ผ่านมา อาจมีเด็กไทยถึง 500 – 1,000 คน ที่มีภาวะ การสูญเสียการได้ยิน

เมื่อพูดถึงการตรวจคัดกรองโรค และภาวะต่าง ๆ ในเด็กแรกเกิดนั้น เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่มือใหม่ทุกคนก็น่าจะรู้จักกับชนิดของการคัดกรอง และได้ผ่านการตรวจหลาย ๆ ชนิดกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับ การตรวจคัดกรองการได้ยิน ถือเป็นการตรวจคัดกรอง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่กำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองดังกล่าว 

สำหรับในประเทศไทยเอง นอกจากจะไม่ได้มีข้อกำหนดให้มีการตรวจคัดกรองในเด็กแรกเกิดทุกรายแล้ว ยังมีเพียงไม่กี่โรงพยาบาลในประเทศไทย ที่มีเครื่องมือ สถานที่ หรือบุคลากร ที่สามารถทำการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดได้ 

 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2564 ระบุว่ามีจำนวนประชากรเกิดในประเทศไทยประมาณ 544,570 คน ซึ่งในจำนวนนี้ อาจมีเด็กไทยจำนวนถึง 500 – 1,000 คน ที่มีภาวะ การสูญเสียการได้ยิน โดยปัญหานี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ในปัจจุบัน การตรวจคัดกรองการได้ยิน ถือเป็นมาตรฐานใหม่ ที่กำลังพัฒนาให้เกิดความครอบคลุมในการตรวจทั่วทั้งประเทศ

การสูญเสียการได้ยินในเด็ก ปัญหาเร่งด่วน ที่ควรใส่ใจ เพราะไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องหูของลูก

เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ รับรู้ เข้าใจ และสามารถเตรียมตัวรับมือกับภาวะ การสูญเสียการได้ยินในเด็กได้มากยิ่งขึ้น เรามีโอกาสได้พูดคุยกับนายแพทย์ ดาวิน เยาวพลกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประจำแผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งได้อธิบายความเร่งด่วนของปัญหาดังกล่าวไว้ว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ผลกระทบของการสูญเสียการได้ยินในเด็กนั้น ไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องหูไม่ได้ยินเฉย ๆ แต่ยังส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เมื่อเขาโตขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของภาษา เพราะเมื่อเด็กไม่ได้ยิน ก็จะพูดไม่ได้ เพราะจริง ๆ แล้วการฟังของเราไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่หู หูเป็นเพียงอวัยวะที่รับเสียงเข้ามา แล้วส่งสัญญาณประสาทไปที่สมอง ดังนั้น ปัญหาการสูญเสียการได้ยินนั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นปัญหาที่ส่งผลถึงสมองของเด็กด้วย เพราะเมื่อไม่ได้ยินเสียง เสียงส่งไม่ถึงสมอง สมองของเด็กก็จะไม่ได้รับการ กระตุ้น ซึ่งในช่วงเวลา 5 ขวบปีแรกของเด็กนั้น ยิ่งเด็กมีการได้ยินที่ดีเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลต่อการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ ของเขามากเท่านั้น 

นอกจากนี้ ผลกระทบของการไม่ได้ยินในระยะยาว ก็ไม่ได้ส่งผลแค่กับตัวเด็กเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสังคมรอบข้างของเขาอีกด้วย เนื่องจากเด็กที่สูญเสียการได้ยิน ต้องอาศัยการพึ่งพาคนอื่นในการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังอาจพลาดโอกาสในการประกอบอาชีพต่าง ๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น ภาวะการสูญเสียการได้ยินในเด็ก จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรใส่ใจ และเป็นสาเหตุว่า ทำไมเด็กแรกเกิดทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน”

ในการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า OAE หรือ Otoacoustic Emission ใส่เข้าไปที่หูของเด็ก และใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการตรวจ ก็สามารถทราบผลลัพธ์ได้ จากนั้น แพทย์จะทำการประเมินอาการ แนะนำแนวทางในการรักษา และฟื้นฟูการได้ยิน ตามแต่ลักษณะ และความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งปัญหาบางส่วนสามารถทำการแก้ไขให้หาย หรือดีขึ้นได้ จากการใช้ยา หรือในบางรายที่จำเป็น ก็สามารถใช้เครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้น

คุณหมอดาวิน กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ภาวะการสูญเสียการได้ยิน เป็นความพิการที่มองไม่เห็นจากภายนอก จึงมักจะถูกมองข้ามไปทั้งที่เราสามารถตรวจ ทำการคัดกรองได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์”

  

หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกสงสัย ว่าบุตรหลานของตนมีความผิดปกติทางการได้ยิน สามารถเริ่มจากการสังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น พบว่า เรียกแล้วไม่หัน ได้ยินเสียงดังแล้วไม่สะดุ้ง หรือไม่สามารถส่งเสียงที่เป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ เมื่อมีอายุ 1 ขวบขึ้นไป คุณหมอดาวินแนะนำว่า ควรพาลูกไปตรวจคัดกรองการได้ยินโดยทันที เพราะเด็กที่ตรวจพบอาการได้เร็ว และได้รับการแก้ไขภาวะการสูญเสียการได้ยินอย่างเหมาะสม และทันท่วงที ก็สามารถที่จะเติบโต  และใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติได้ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป 

ยิ่งตรวจพบเร็ว ก็สามารถรักษาได้เร็ว รู้จักกับ ประสาทหูเทียม อุปกรณ์ที่ช่วยในการฟื้นฟูภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็ก

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์มากมายที่ใช้สำหรับช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟัง ซึ่งจะทำหน้าที่ในการขยายเสียง เพื่อให้เสียงมีความดัง และชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องช่วยฟังอาจไม่ได้ผลในเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงหูหนวก เนื่องจากเด็กจะไม่เข้าใจเสียงที่ได้ยิน จึงไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ที่จะพูด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งประสาทหูเทียมนี้เองที่จะช่วยให้เด็กในกลุ่มนี้สามารถได้ยิน และเข้าใจเสียงได้ ประสาทหูเทียมจะทำการกระตุ้นไปยังเส้นประสาทการได้ยินโดยตรง โดยไม่ผ่านหูชั้นในที่มีความบกพร่องอยู่ เพื่อให้เสียงและคำพูดที่ลูกได้ยินมีความชัดเจน จนสามารถเข้าใจความหมายของเสียงนั้นได้

เพื่อให้เด็กสามารถมีพัฒนาการที่ดีที่สุด แพทย์แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยิน ตั้งแต่ลูกยังอายุไม่เกิน 3 เดือน และหากพบความผิดปกติ ก็ควรได้รับการรักษาภายในอายุไม่เกิน 6 เดือน เพื่อให้สมอง และพัฒนาการของลูกได้รับการกระตุ้นได้ดีที่สุด

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสาทหูเทียม และภาวะสูญเสียการได้ยิน เพิ่มเติมได้ที่นี่

เกี่ยวกับ Cochlear Limited

คอคเคลียร์คือผู้นำด้านเทคโนโลยีประสาทหูเทียมของโลก ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ประกอบด้วยประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมแบบนำเสียงผ่านกระดูก และประสาทหูเทียมแบบอะคูสติก เริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนิวเคลียส ซึ่งได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX)

คอคเคลียร์มุ่งมั่นในการส่งเสริมให้ประสาทหูเทียมเป็นมาตรฐานในการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินในระดับปานกลางไปจนถึงระดับรุนแรง ช่วยให้ผู้ใช้ประสาทหูเทียมทุกเพศทุกวัยมากกว่า 600,000 รายทั่วโลก ได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเพิ่งได้รับการฝังประสาทหูเทียม หรือได้รับการฝังแล้วมาแล้วหลายปี

คอคเคลียร์มุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้คนตามเป้าหมายของเราคือ “Hear now. And always (ได้ยินตอนนี้ และตลอดไป)” เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถได้ยินเสียงตลอดชีวิตด้วยการสนับสนุนที่ดีที่สุด

ทำความรู้จักกับคอคเคลียร์เพิ่มเติมได้ ที่นี่

หรือทาง Line Official Account @CochlearThai 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team