ลูกชักจากไข้สูง อาการชักจากไข้สูงในเด็กอันตรายแค่ไหน? พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกชักจากไข้สูง อาการชักจากไข้สูงในเด็กเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีป้องกันไหม หากลูกมีอาการไข้สูงควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ลูกชักดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชักจากไข้สูง ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่เมื่อเกิดขึ้น โดยเฉพาะครั้งแรก คุณพ่อ คุณแม่มักจะมีความเครียด วิตกกังวลสูง และทำอะไรไม่ถูก เรามาทำความรู้จักกับภาวะนี้ และเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดขึ้น กันดีกว่าค่ะ

 

ลูกชักจากไข้สูง ควรทำอย่างไรดี

อาการชักจากไข้สูง เกิดจากการที่สมองของเด็กเล็ก ยังพัฒนาเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีอุณหภูมิร่างกายสูงมาก อาจทำให้เกิดอาการชักได้ จึงมักเกิดในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี อาการนี้ สามารถพบได้ในเด็กเล็ก คืออายุตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนกระทั่ง 5 ปี ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคืออายุ 1 - 2 ปี
อาการชักจะเกิดขึ้น หลังจากมีไข้สูง (อุณหภูมิสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) ภายในไม่เกิน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากที่มีไข้สูง ลักษณะอาการชักจะเป็นชักแบบเกร็ง กระตุกทั้งตัว เป็นทั้งข้างซ้าย และขวาเท่า ๆ กัน ระยะเวลาที่ชักมักเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่นานกว่า 15 นาที อาการชักมักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3 - 5 นาที หลังจากชักเด็กจะรู้สึกตัวดี

ลักษณะอาการชักจะเป็นชักแบบเกร็ง กระตุกทั้งตัว เป็นทั้งข้างซ้าย และขวาเท่า ๆ กัน ระยะเวลาที่ชักมักเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่นานกว่า 15 นาที และมักหยุด ๆ ได้เอง

 

อาการชักจากไข้สูงในเด็ก อันตรายแค่ไหน ?

โดยทั่วไปภาวะนี้จะไม่มีอันตรายร้ายแรง ไม่ส่งผลต่อระดับสติปัญญา พัฒนาการหรือการเรียนรู้ของเด็ก ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะชักต่อเนื่องกันนานมากกว่า 30 นาที จนมีภาวะตัวเขียว เนื่องจากขาดออกซิเจน กรณีนี้อาจส่งผลต่อสมองได้

***ข้อควรระวัง คือ เด็กที่เคยชักจากไข้สูง มีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำ ประมาณ 30% หากมีไข้สูงอีก จนกว่าจะอายุมากกว่า 5 ปี ก็มักจะหายไป หากไม่ได้เป็นโรคลมชัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

**สิ่งที่หมอมักจะย้ำเตือนกับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกมีอาการชักจากไข้สูงก็คือ เมื่อลูกมีไข้สูงควรรีบเช็ดตัวลดไข้ และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลทันที อย่าปล่อยให้ไข้สูงนาน เพราะลูกอาจเกิดอาการชักขึ้นมาได้อีก***

เด็กที่เคยชักจากไข้สูง มีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำ ประมาณ 30% หากมีไข้สูงอีก จนกว่าจะอายุมากกว่า 5 ปี ก็มักจะหายไป หากไม่ได้เป็นโรคลมชัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กที่มีอาการชักจากไข้สูง ไม่ได้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคลมชักในอนาคต สูงกว่าเด็กปกติทั่วไป ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้คือ มีอาการชักนานกว่า 15 นาที มีอาการชักซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง มีความผิดปกติทางสมอง และพัฒนาการก่อนมีอาการชัก หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก ก็จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักสูงกว่าเด็กปกติได้

 

วิธีดูแลลูก หากมีอาการชักจากไข้สูงควรทำอย่างไร ?

สิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นอันดับแรก หากมีอาการชักจากไข้สูงคือ “ควบคุมสติ” อย่าตกใจ แล้วรีบจับให้ลูกนอนท่าตะแคง หัวต่ำ เพื่อป้องกันการสำลัก ห้ามใช้นิ้ว หรือวัสดุใด ๆ เช่น ช้อน ไปล้วง หรืองัดปากลูกโดยเด็ดขาด และควรรีบพาลูกโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาในทันที หากมีอาการชักนานมากกว่า 5 นาที หรือรอบปากมีรอยเขียวคล้ำ

***ทั้งนี้ หากลูกมีอาการชักเป็นครั้งแรก ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด ไม่ว่าจะมีไข้ หรือไม่ ก็ควรพาลูกไปโรงพยาบาล เพื่อจะได้สาเหตุของอาการชักให้ชัดเจน และได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากลูกมีอาการชักเป็นครั้งแรก โดยไม่ทราบสาเหตุ คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์จะดีที่สุด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ระวังเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก กรมควบคุมโรคเตือนพ่อแม่ ดูแลลูก 1-3 ปี สังเกตอาการโรคมือเท้าปาก

โรคที่เกิดขึ้นในวัยทารก โรคยอดฮิตในหมู่เด็กมีอะไรบ้าง พ่อแม่จะรู้ได้ไงว่าลูกป่วย

ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ คนท้อง ทารก เด็กเล็ก วัยเรียน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ โรคร้ายเสียชีวิตได้

ที่มา : 1, 2