ลูกคนโปรดมีจริงมั้ย แม้ว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ แต่ ก็ต้องยอมรับว่า แม้แต่ตัวคุณเอง ในตอนที่ยังเด็ก ก็อาจจะมีความรู้สึกว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันจริง ๆ เด็ก ๆ เขาอาจจะสัมผัสถึงตรงนี้ได้ พ่อแม่ทั้งหลายอมรับกับตัวเองได้ค่ะว่า คุณไม่ได้รักลูกทุกคนเท่า ๆ กัน แม้ว่ามันจะเป็นความจริงที่ไม่มีใครกล้าขุดคุ้ยให้เกิดรอยร้าวในครอบครัว แต่มีงานวิจัยที่บอกว่า นี่เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นกับทุก ๆ ครอบครัว สิ่งสำคัญก็คือ คุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้อยู่แก่ใจ แต่อย่าเอ่ยปากให้ลูกรู้ เพราะจะทำให้เด็ก ๆ เกิดความน้อยใจได้
จากก้นบึ้งของจิตใจ ลูกคนโปรดมีจริงมั้ย พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันจริงหรือ
นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกัน เจฟฟรีย์ คลูเกอ เจฟฟรีย์ คลูเกอร์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส และนักเขียนอาวุโสนิตยสารไทม์ โดยเขาใช้เวลาค้นคว้าศึกษานานหลายปี กว่าจะรวบรวมข้อมูล มาเขียนหนังสือ “THE SIBLING EFFECT” เผยให้เห็นถึง ก้นบึ้งของจิตใจคนเป็นพ่อแม่
- 95% ของพ่อแม่ทั้งโลก รักลูกไม่เท่ากัน และมักจะโอ๋ลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ
- พ่อแม่อีก 5% เป็นพวกโกหกตัวเอง แม้แต่ตัวผู้เขียน ยังยอมรับว่าเขากับภรรยา ก็มีความลำเอียงไม่ต่างจากพ่อแม่ทั่วไป เพียงแต่เป็นเรื่องต้องห้ามที่ไม่ควรให้หลุดจากปากคนเป็นพ่อแม่
- ลูกชายคนโตจะเป็นที่โปรดปรานของแม่โดยธรรมชาติ
- ขณะที่ลูกสาวคนเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มขี้อ้อน มักได้รับการโอ๋จากพ่อ
- สำหรับลูกคนกลาง หรือ Wednesday child ซึ่งมักน้อยอกน้อยใจว่า ไม่ได้รับความรักความสนใจจากพ่อแม่
ลูกรักของพ่อกับแม่อาจไม่ใช่คนเดียวกัน
“ลูกรัก” ของพ่อและแม่ อาจจะไม่ใช่คนเดียวกันเสมอไป บางครั้งพ่อมักจะรักลูกคนโตมากกว่า ส่วนแม่จะเอนเอียงให้กับลูกคนเล็กมากกว่า บางครั้ง ก็อาจจะเป็นลูกชาย หรือลูกสาวที่เป็น “ลูกรัก” ของพ่อแม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบ เช่น ลูกคนไหนเหมือนพ่อ เหมือนแม่มากกว่ากัน ลูกคนไหนเข้ากับพ่อแม่ได้ดีกว่ากัน ลูกคนไหนประสบความสำเร็จ เจริญรอยตาม หรือชดเชยในสิ่งที่พ่อแม่ไม่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน ใครเข้มแข็ง หรืออ่อนแอกว่ากัน ใครได้ดังใจพ่อแม่ หรือทำให้พ่อแม่ปลื้มมากกว่ากัน เป็นต้น
พ่อแม่ทุกคนล้วนสองมาตรฐาน
นักวิจัยอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบว่า อย่างน้อยที่สุด กว่าร้อยละ 70 ของพ่อแม่มักจะมี “ลูกรัก” ที่รักมากกว่าลูกคนอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่สืบสายเลือดเดียวกัน นักวิชาการเชื่อว่า หากพูดกันจริง ๆ แล้ว พ่อแม่ทุกคน ล้วนแต่มีความรักสองมาตรฐาน ที่ให้กับลูกแต่ละคน งานวิจัยเหล่านี้ยังยืนยันได้ ในระดับหนึ่งว่า หัวอกของคนเป็นพ่อแม่ นั้นมีธรรมชาติที่รักลูกไม่เท่ากัน หรือ พ่อแม่ทุกคนล้วนแต่มีสองมาตรฐานในความรักที่มีต่อลูก ๆ
เป็นความจริงที่ยากจะมีพ่อแม่คนไหนกล้ายอมรับตรง ๆ ว่ารักลูกไม่เท่ากัน แต่ภาษากาย และพฤติกรรมต่าง ๆ เป็นความรู้สึกที่คนเป็น “ลูกชัง” รู้สึกถึงความลำเอียงนี้ได้ไม่ยาก และนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาในอนาคต ทั้งต่อตัวลูก พ่อแม่ และสังคม
มาถึงตรงนี้ ลูกคนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองอาจจะไม่ใช่ลูกคนโปรดของพ่อแม่ ก็อย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจไป ถึงจะไม่ใช่ลูกสุดที่รัก แต่เชื่อเถอะค่ะว่า ไม่มีพ่อแม่คนไหนไม่รักลูกแน่นอน
ต้องทำยังไงดี เมื่อลูกรู้สึกว่ารักพวกเขาไม่เท่ากัน
บทความ : ทำอย่างไร เมื่อลูกรู้สึกว่าพ่อแม่รักพวกเขาไม่เท่ากัน
พ่อและแม่ ควรเริ่มจาก การสังเกตพฤติกรรมของตน ว่าเข้าค่ายรักลูกคนใดคนนึง มากกว่ารึเปล่า ลองสังเกตจากคำพูด หรือ วิธีการปฏิบัติตัวต่อลูกทุกคน เมื่อเราหาปัญหาเจอแล้ว ให้ลองพูดคุยกับลูก และเริ่มดูแลใส่ใจลูกทุกคนให้เท่ากัน เราอาจจะชมลูก ให้รางวัล กอด หรือ แสดงความรักที่มีต่อลูก แม้เรื่องนี้จะไม่เป็นที่นิยมนักในหมู่พ่อแม่คนไทย หรือในหมู่พ่อแม่คนจีนสมัยก่อน ที่มักจะไม่เคยชมเชยลูกเลยสักครั้ง เอาแต่ต่อว่าลูก ทำให้เมื่อโตมาลูกมีปัญหาทั้งกับคนในครอบครัว และพ่อแม่
สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถทำได้อีกเรื่องก็คือ การไม่เปรียบเทียบลูก เพราะ เด็กแต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกัน การที่ลูกสองคนจะมีความเก่ง หรือโดดเด่นที่แตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องที่ดี และพ่อแม่ควรสนับสนุนพวกเขาเติบโต เป็นสิ่งที่พวกเขาอยากจะเป็น ให้เวลาลูกได้พัฒนาตัวเอง ให้ความอิสระแก่เขาและให้พื้นที่ส่วนตัว สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ลูกแต่ะคนรู้สึกว่าพวกเขาเท่าเทียมกันก็คือ สร้างความแฟร์ขึ้นภายในครอบครัว เมื่อทำดีก็จะได้รับรางวัลเหมือนกัน เมื่อทำผิดก็ต้องได้รับคำตักเตือนที่เหมือนกัน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง อาจจะหากิจกรรม ที่ทุกคนในครอบครัวสนใจ และสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้มีเวลาที่ได้ใช้ร่วมกัน
การที่พ่อกับแม่ จะแสดงออกว่า ลูกทุกคนเท่าเทียมกันนั้น อาจจะดูไม่ยาก แต่จริงๆแล้วเราเชื่อว่า พ่อแม่ทุกคน ก็คงรู้สึกว่าตนรักลูกเท่ากันอยู่แล้ว แต่อาจจะเป็นเพราะ พฤติกรรมบางอย่างที่ตัวผู้ปกครองไม่ได้สังเกต ทำให้เกิดอาการน้อยใจเกิดขึ้นได้ พ่อและแม่ต้องลองสังเกตให้ดีว่า ลูกแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง สอบถามสารทุกข์สุขดิบ ช่วยรับฟังปัญหาแบบไม่ตัดสิน หรือต่อว่าก่อนที่จะฟังเหตุผลหรือที่มาที่ไปของลูก และที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่างเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น หรือกับพี่น้องด้วยกัน เพราะ สำหรับเด็กแล้วการที่บอกเขาว่าเขาไม่เก่ง ไม่มีความสามารถด้านนี้ อาจจะทำให้เขา หมดกำลังใจ และไม่พยายามต่อไปเลยก็เป็นได้
ที่มา : 1, 2
บทความอื่น ๆ เกี่ยวข้อง
10 สิ่งที่เรียกคืนมาไม่ได้ ตอนที่ลูกยังตัวเล็กอยู่
ลูกชายต้องสอนให้อดทน ลูกสาวต้องสอนให้อ่อนโยน ยังจริงอยู่ไหม?!
อย่าให้ลูกต้องพูด “พ่อแม่ไม่รักหนู” เพราะมือถือที่พวกเราก้มหน้าก้มตาเล่น