บทสรุปที่ว่ามาจากศาสตราจารย์ชาวอเมริกันนามว่า แบร์รี่ โคมิสารัค นักวิจัยเรื่องเพศวัย 72 ปีผู้นี้บอกว่าการถึงจุดสุดยอดทางเพศทำให้เราได้ใช้งานสมองทุกส่วนไม่ใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเหมือนตอนเล่นเกมปริศนาทั้งหลาย
เขากล่าวว่าความรู้สึกที่ได้สามารถใช้ระงับอาการปวด และดังนั้นจึงเชื่อว่าสามารถเอามาใช้บรรเทาความเจ็บปวดจากการคลอดได้อีกด้วย
นักวิจัยผู้นี้เชื่อว่า หากนักวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมกลไลผลิตความสุขในสมองซึ่งสามารถทำให้คนเราถึงจุดสุดยอดความฟินทางเพศจะสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้ ตั้งแต่การบำบัดความเศร้าสลดหดหู่ ความกระวนกระวายใจ การเสพย์ติด
วิธีการศึกษาวิจัย
ศาสตราจารย์บอกกับหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ว่า เมื่อคนเราถึงจุดสุดยอด เราสามารถพบได้ว่ามีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองมากเป็นพิเศษ ดังนั้นเขาจึงเชื่อว่า การถึงจุดสุดยอดสามารถช่วยให้สารอาหารและออกซิเจนได้ไปหล่อเลี้ยงสมองมากยิ่งขึ้นกว่าปกติ หากเปรียบเทียบกับการบริหารสมองด้วยเกมต่าง ๆ เช่น อักษรไขว้และซูโดขุ ซึ่งสามารถช่วยบริหารสมองได้เพียงบางส่วนแล้ว ศาสตราจารย์ผู้นี้กล่าวว่าการถึงจุดสุดยอดจะช่วยบริหารสมองได้ทุกส่วนมากกว่า
ข้อสรุปดังกล่าวได้มาจากการศึกษาการแสกนสมองวัดปริมาณเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองของอาสาสมัครหญิงเมื่อถึงจุดสุดยอดทางเพศที่ห้องทดลองในภาควิชาจิตวิทยาของทางมหาวิทยาลัย
เพื่อวัดระดับการหล่อเลี้ยงเลือดดังกล่าว อาสาสมัครต้องลงไปนอนในท่อแคบ ๆ ของเครื่องสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กและพยายามถึงจุดสุดยอดทางเพศท่ามกล่างภาวะแวดล้อมของการทดลอง
เกี่ยวกับนักวิจัยผู้นี้
ศาสตราจารย์แบร์รี่ โคมิสารัค เป็นผู้วิจัยเรื่องความสุขทางเพศของผู้หญิงมาตั้งแต่ช่วงปี 1960 เขาเริ่มการทดลองกับหนูก่อนที่จะเริ่มทำการวิจัยกับผู้หญิงในปี 1982 ในเวลาต่อมา
กว่าสิบ ๆ ปีของการอุทิศตนเพื่อการวิจัยในเรื่องดังกล่าวทำให้พวกนักวิชาการร่วมสถาบันที่มหาวิทยาลัยรัทเจอร์สในนิวเจอร์ซีย์ตกอกตกใจกันมาแล้ว และทำให้เขาเป็นเหมือนผู้เผยแพร่ความรู้เรื่องพลังและประโยชน์ของการเข้าถึงจุดสุดยอดทางเพศ
อย่างไรก็ดีศาสตราจารย์กล่าวว่านี่เป็นศาสตร์บุกเบิกและยังคงมีเรื่องราวให้เรียนรู้อีกมาก เพราะคนเรารู้น้อยมากเกี่ยวกับเรื่องความสุขทางเพศและนับเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเข้าใจว่าสมองทำงานอย่างไรเพื่อผลิตสารความสุขทางเพศหรือเราจะนำกระบวนการนั้นมาใช้ประโยชน์อื่นได้อย่างไร
ปลุกอารมณ์ทางเพศให้แม่หลังคลอด