EQ นั้นสำคัญไฉน? ทั้งพ่อและแม่ต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนา EQ ของลูก

ทำไมเราจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของลูกเท่า ๆ กับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจว่าทำไม IQ จึงเป็นส่วนประกอบเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

EQ สำคัญพอ ๆ กับ IQ

ใครว่าเป็นเด็กไม่เครียด? เด็ก ๆ ต้องประสบกับความเครียดตั้งแต่ยังเล็ก ตั้งแต่วันที่ไปโรงเรียนวันแรก ต้องไปเจอคนแปลกหน้า แปลกที่ ไหนจะโดนรุ่นพี่รังแก หรือทะเลาะกับเพื่อนในวันถัด ๆ มา

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าความสามารถในการรับมือกับอารมณ์จะมีผลต่อคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของเรามากกว่าความสามารถทางสติปัญญา หากมีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดีตั้งแต่เล็ก เด็กจะเติบโตและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

ทั้งพ่อและแม่ต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนา EQ ของลูก ลองอ่านข้อแนะนำของเราต่อไปนี้ ซึ่งจะช่วยคุณสร้างฐานทางอารมณ์ที่มั่นคงให้กับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก เอาใจใส่กับสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่เสมอ เมื่อคุณใช้เวลาอยู่ด้วยกัน
  • สอนคำศัพท์เกี่ยวกับอารมณ์ ช่วยให้ลูกรู้จักอธิบายอารมณ์ด้วยคำพูด โดยการสอนคำศัพท์เกี่ยวกับอารมณ์ต่าง ๆ
  • รับฟังด้วยความเข้าใจ เมื่อลูกคุณบอกคุณว่าเขารู้สึกอย่างไร
  • ยอมรับ และประเมินอารมณ์ของลูก แทนที่จะบอกลูกว่า “ไม่เห็นต้องหงุดหงิดเลย” พยายามสังเกตว่าอารมณ์ตามธรรมชาติของเขาเป็นอย่างไร สอนให้ลูกรู้จักจัดการกับอารมณ์ เช่น บอกพ่อแม่ว่ารู้สึกโกรธอย่างไร แทนที่จะไปพาลกับน้อง
  • อย่าเก็บอารมณ์ การห้ามไม่ให้ลูกแสดงอารมณ์โกรธหรือกลัวไม่ได้ช่วยให้อารมณ์เหล่านั้นหายไป การเก็บอารมณ์จะส่งผลเสียกับเด็กมากกว่า เช่น ทำให้ฝันร้าย หรือเกิดความเครียด
  • ช่วยลูกแก้ปัญหา เมื่อเด็กรู้สึกว่าคุณเข้าใจและยอมรับอารมณ์ของเขา เขาจะเปิดใจและพร้อมจะแก้ปัญหามากขึ้น อย่าแก้ปัญหาให้ลูก แต่กระตุ้นให้เขาได้คิดวิธีแก้ปัญหาเอง นี่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เขาว่าเขาสามารถรับมือกับสถานการณ์ยาก ๆ ได้ด้วยตัวเอง
  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก โดยการทำตัวสงบนิ่ง อธิบายความรู้สึกด้วยคำพูด แทนที่จะโวยวาย หรือลงไม้ลงมือเมื่อคุณเครียดหรือโมโห อธิบายว่าคุณไม่พอใจเพราะอะไร และจะทำอย่างไรกับมัน เด็กจะทำตามแบบอย่างที่พวกเขาเห็น

แม้จะพยายามเป็นแบบอย่างที่ดีอย่างไร แต่ก็มีบางกรณีที่พ่อแม่ควรระวังและอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ เช่น ถ้าลูกอยู่ในสภาวะเครียดหรือหวาดกลัวเรื้อรังเมื่อไปโรงเรียน มีข้อจำกัดด้านภาษาเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน หรือลูกไม่ยอมเข้าสังคมหรือเล่นกับเพื่อน

เด็กจะมีพัฒนาการด้านอารมณ์ตามอายุและสภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน โรงเรียน หรือสนามเด็กเล่น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่เหมาะสมได้โดยการให้เวลากับลูก เป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team