ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิต สำหรับเด็กมัธยม ศิลป์คำนวณเรียนอะไรบ้าง แล้วต่างกับสายวิทย์-คณิต หรือสายศิลป์ภาษาอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ สำหรับการเลือกเรียนศิลป์คำนวณนั้น แน่นอนว่านักเรียนจำเป็นต้องรักษาเกรด เพื่อนำไปใช้ในการเลือกสายการเรียนได้ หรือเด็กที่กำลังจะสอบเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมปลาย ก็ควรจะศึกษาข้อมูลของสายการเรียนต่าง ๆ ไว้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกเรียนชั้นมัธยมปลาย สำหรับการเรียนศิลป์คำนวณนั้น จะเรียนอะไรบ้าง ยากกว่าสายอื่นหรือไม่ และจบไปแล้ว สามารถเข้าคณะไหนได้บ้าง พร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยค่ะ
ศิลป์คำนวณเรียนอะไรบ้าง ?
สำหรับวิชาหลัก ๆ ที่เด็กสายศิลป์คำนวณต้องเจอนั้น คือ “วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ” ซึ่งจะเรียนตั้งแต่ระดับง่าย ไปถึงยากตามปกติ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์นั้น นักเรียนสายนี้จะได้เรียนเหมือนกับแผนการเรียนวิทย์-คณิต ซึ่งประกอบด้วยวิชาคณิตหลัก และคณิตเพิ่มเติม ส่วนในการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนจะได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น ตามทักษะของการพูด การอ่าน การฟัง และการเขียน
นอกจากนี้ นักเรียนสายศิลป์คำนวณ ยังได้เรียนวิชาภาษาที่ 3 หรือวิชาเพิ่มเติม ตามที่ในแต่ละโรงเรียนนั้นกำหนด ส่วนวิชาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ หรือสังคมนั้น จะลดน้อยลงกว่าแผนการเรียนวิทย์-คณิต หรือสายศิลป์อื่น ๆ ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาในการเรียนจะไม่หนักเท่าสายวิทย์-คณิต แต่สายศิลป์คำนวณ ก็มีโอกาสได้เลือกเรียนต่อ ในคณะที่หลากหลายได้เช่นกัน แม้ว่าจะไม่เท่ากับเด็กสายวิทย์ก็ตาม
ข้อดีของการเรียนสายศิลป์คำนวณ
- ได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์เท่านักเรียนสายวิทย์ : สำหรับนักเรียนที่ชอบวิชาคณิต และชอบการคำนวณเป็นพิเศษ บอกได้เลยว่า เหมาะที่จะเข้าเรียนสายศิลป์คำนวณอย่างยิ่ง เพราะสายศิลป์คำนวณจะเน้นเรียนวิชาคณิตเป็นพิเศษ ซึ่งมีทั้งวิชาคณิตศาสตร์หลัก และวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม โดยเนื้อหาจะมีตั้งแต่เรื่อง เซต ตรรกศาสตร์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ลำดับ อนุกรม และแคลคูลัส เป็นต้น ซึ่งเทียบเท่ากับการเรียนสายวิทย์ ดังนั้น นักเรียนที่จะเลือกเข้าสายศิลป์คำนวณนั้น ควรมีทักษะความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดี ในการเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมปลาย
- ได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษมากกว่านักเรียนสายอื่น : นอกจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แล้ว นักเรียนสายศิลป์คำนวณ ยังได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษหลายวันต่อสัปดาห์ ซึ่งจะเป็นการเรียนในรูปแบบหลากหลายวิชา โดยนักเรียนจะได้เรียน และได้ฝึกทักษะการเรียนภาษาอังกฤษ ครบทั้งหมด 4 ทักษะ อันได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจ และถนัดในภาษาอังกฤษนั้น จะมีพื้นฐานที่ดี สำหรับการเรียนในชั้นมัธยมปลาย และนำไปต่อยอดในการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ดีกว่านักเรียนสายอื่น ๆ
- มีตัวเลือก ในการเลือกคณะเรียนมากกว่านักเรียนสายศิลป์อื่น ๆ : แม้ว่าการเรียนศิลป์คำนวณ อาจจะมีทางเลือกสำหรับการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย น้อยกว่านักเรียนสายวิทย์-คณิต แต่ยังมีอีกหลายคณะ และมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เปิดรับนักเรียนศิลป์คำนวณเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางแห่งเปิดเข้ารับมากกว่านักเรียนสายศิลป์อื่น ๆ ดังนั้น นักเรียนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลการเข้ารับศึกษา ของคณะ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ ในการเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปลายของตัวเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : โครงการเด็กดีมีที่เรียน ของ มศว. ต้องทำ portfolio แบบไหน ควรใส่อะไรในพอร์ตบ้าง
ศิลป์คำนวณ ต่างจากศิลป์ภาษาอย่างไร ?
- ศิลป์คำนวณ เรียนวิชาคณิตศาสตร์มากกว่าศิลป์ภาษา : นักเรียนในแผนการเรียนศิลป์คำนวณ จะได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์มากกว่าสายศิลป์อื่น ๆ โดยจะได้เรียนวิชาคณิตหลัก และคณิตเพิ่มเติม ตามที่แต่ละโรงเรียนกำหนด โดยวิชาคณิตในสายศิลป์คำนวณนั้น จะเรียนแบบเดียวกับนักเรียนสายวิทย์ ซึ่งมีความยากที่มากกว่าสายศิลป์ภาษา สำหรับนักเรียนที่ไม่ถนัดในรายวิชาคณิต ควรศึกษาแผนการเรียนเบื้องต้น และทบทวนกับตัวเองว่าสามารถเรียนได้ไหม หากนักเรียนไม่ชอบตัวเลข หรือการคำนวณ ก็อาจส่งผลในการเรียนชั้นสูง ๆ ได้ค่ะ
- ศิลป์คำนวณ เรียนวิชาภาษาอังกฤษมากกว่าศิลป์ภาษา : แน่นอนว่าการเรียนสายศิลป์คำนวณ นักเรียนจะได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มากกว่า นักเรียนสายศิลป์ภาษา เพราะนักเรียนสายศิลป์ภาษา จะเน้นเรียนภาษาที่สามมากกว่า ซึ่งเป็นวิชาที่ตนเองเลือก ดังนั้นการเรียนในสายศิลป์คำนวณ นักเรียนจะได้เรียนภาษาอังกฤษในชั่วโมงที่สูงกว่า และมีเนื้อหาที่เข้มข้นกว่าสายอื่น อย่างไรก็ตาม ในบางโรงเรียนอาจกำหนดให้นักเรียนสายศิลป์ภาษา เรียนภาษาอังกฤษเท่ากับสายศิลป์คำนวณเช่นกัน ดังนั้น นักเรียนจำเป็นต้องค้นคว้าข้อมูล แผนการเรียนของแต่ละโรงเรียน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ ประกอบการเลือกแผนการเรียนต่อ
- ศิลป์คำนวณ เรียนภาษาที่สามน้อยกว่าศิลป์ภาษา : นักเรียนสายศิลป์ภาษา จะมีโอกาสได้เรียนภาษาที่สามมากกว่านักเรียนสายศิลป์คำนวณ ตามที่ตัวเอกได้เลือกเรียน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในประเทศไทยนั้น มีการเรียนการสอนภาษาที่สาม อยู่หลายภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาเกาหลี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเรียนสายศิลป์คำนวณจะได้เลือกเรียนภาษาที่ 3 เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะได้เรียนน้อยกว่าสายศิลป์ภาษา
- ศิลป์คำนวณ สามารถเรียนต่อคณะสายบริหาร หรือเศรษฐศาสตร์ได้มากกว่า : นักเรียนสายศิลป์คำนวณ มีโอกาสได้เลือกเรียนต่อในคณะต่าง ๆ มากกว่านักเรียนสายศิลป์อื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคณะ และมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม นักเรียนสายศิลป์คำนวณมีโอกาสได้เลือกเรียนในกลุ่มบริหารธุรกิจ การจัดการ และการออกแบบ มากกว่านักเรียนสายศิลป์ภาษา
เรียนศิลป์คำนวณ ต่อคณะอะไรได้บ้าง ?
- กลุ่มสังคมและเศรษฐศาสตร์
-
-
- คณะนิติศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะการจัดการ
- คณะสังคมศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
-
- กลุ่มบริการธุรกิจและการจัดการ
-
-
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
- คณะโลจิสติกส์
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม
-
- กลุ่มการสื่อสาร
-
-
- คณะนิเทศศาสตร์
- คณะวารสารศาสตร์
- คณะการสื่อสารมวลชน
- คณะโบราณคดี
-
- กลุ่มสายสุขภาพ
-
-
- คณะแพทยศาสตร์ (รอบ กสพท.)
-
- กลุ่มการออกแบบ
-
-
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิดรับเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
- คณะวิจิตรศิลป์ (เปิดรับเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
-
- กลุ่มคอมพิวเตอร์
-
-
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- คณะดิจิทัลมีเดีย
-
- กลุ่มมนุษยศาสตร์
-
-
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะจิตวิทยา (เปิดรับเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
-
- กลุ่มครู-อาจารย์
-
-
- คณะครุศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
-
- กลุ่มดนตรีและการแสดง
-
-
- คณะดนตรีและการแสดง
- คณะดุริยางคศิลป์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
-
เห็นได้ชัดว่าแผนการเรียนสายศิลป์คำนวณนั้น เป็นอีกแผนการเรียนหนึ่งที่มีความเข้มข้นไม่กับแพ้แผนการเรียนอื่น โดยนักเรียนจะได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นวิชาหลัก และยังได้เลือกเรียนวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาที่ 3 ตามที่แต่ละโรงเรียนกำหนด ดังนั้น นักเรียนที่กำลังจะขึ้นศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย จึงควรศึกษาข้อมูล รายวิชา และแผนการเรียน ของสายต่าง ๆ เผื่อนำไปตัดสินใจในการเลือกเรียนในอนาคตต่อไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พาไปดู โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม กับแนวคิดปั้นเด็กให้เก่งตามความถนัด
การสอบ O-NET สำคัญอย่างไร และทำไมต้องสอบ 9 วิชาสามัญ
นอกจาก O-NET เด็กไทยต้องสอบอะไรบ้าง สรุปกการสอบที่เด็กไทยต้องสอบ
ที่มา : campus.campus-star, admissionpremium, ww7.rtn-d