โรคเท้าช้าง โรคระบาดจากพยาธิเกิดขึ้นได้อย่างไร และรักษาได้หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคเท้าช้าง ดูเหมือนเป็นโรคไกลตัวของคนเมือง มักมีความเข้าใจว่า เกิดจากการที่เราถูกยุงกัดซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายโรค แต่จริงๆ แล้วโรคเกิดจากพยาธิตัวกลม ที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อีกทั้งพยาธิซึ่งเป็นพาหะของโรคนั้นอาศัยอยู่ได้และเจริญเติบโตได้ในมนุษย์เท่านั้น และเข้าไปทำร้ายร่างกายและระบบต่างๆ ให้การต่อสู้กับเชื้อโรคอื่นๆ น้อยลง

 

โรคเท้าช้าง ที่เกิดจากพยาธิตัวกลมมีความอันตรายอย่างไร

ความอันตรายของโรคเท้าช้าง (Elephantiasis) น่ากลัวกว่าที่คุณคิด เนื่องจากเมื่อพยาธิตัวกลมเข้าไปเจริญเติบโตเต็มที่ในร่างกาย พยาธิชนิดนี้จะเข้าไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง ซึ่งระบบน้ำเหลืองนี้มีหน้าที่ปรับสมดุลของเหลวในร่างกายและต่อสู้กับเชื้อโรค เมื่อระบบน้ำเหลืองล้มเหลว จะมีอาการปวดบวมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เท้าบวม ขาบวม มือบวม ซึ่งรุนแรงที่สุดคือทำให้อวัยวะส่วนนั้นพิการได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากยุงกัดผู้ป่วยโรคเท้าช้าง แล้วไปกัดคนอื่น ยุงนี่แหละคือพาหะนำโรคให้คนนั้นติดเชื้อจากผู้ป่วยโรคเท้าช้างได้

 

โรคเท้าช้างเกิดจากพยาธิ 2 ชนิดคือ

  • พยาธิฟิลาเรีย ชนิด Wuchereria bancrofti เกิดจากยุงที่เป็นพาหะนำโรคคือ ยุงลายชนิด Aedes desmotes, Ae. harinasutai, Ae. annandalei, Ae. imitator และ ยุงเสือชนิด Mansonia dives พบว่าตัวเต็มวัยของพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดภาวะอัณฑะมีถุงน้ำ และปัสสาวะเป็นไขมั
  • พยาธิฟิลาเรีย ชนิด Brugia malayi เกิดจาดยุงที่เป็นพาหะนำโรค คือ ยุงเสือชนิด Mansonia uniformis, M. indiana, M. bonneae, M. annulata และ Coquilletidia crassipes จะทำให้เกิดภาวะโรคเท้าช้างที่ขาเป็นส่วนมาก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องระวัง พยาธิ จากผักสดล้างไม่สะอาด อันตรายกับแม่และลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พยาธิตัวกลม

อาการของโรคเท้าช้างเป็นอย่างไร และติดเชื้อได้อย่างไร

เมื่อยุงเป็นพานะมากัดเรา แล้วนำพยาธิเข้าสู่ร่างกาย แล้วพยาธิตัวเต็มวัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง คนที่เป็นโรคพยาธิฟิลาเรียทั้ง 2 ชนิด จะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของระบบน้ำเหลือง เช่น ท่อน้ำเหลืองอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการไข้เท้าช้าง ท่อน้ำเหลืองขยาย รวมถึงอาการอุดตันทางเดินของน้ำเหลือง ทำให้พังผืดและมีน้ำเหลืองคั่ง จนเกิดภาวะโรคเท้าช้าง คือบวมขึ้นเรื่อยๆ ตรงบริเวณอวัยวะส่วนนั้นที่ต่อมน้ำเหลืองมีปัญหา ซึ่งอาการของโรคเท้าช้างมักเกิดขึ้นและแสดงอาการที่พบได้หลักๆ ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ 

โรคเท้าช้างที่เกิดจากการติดเชื้อและไม่แสดงอาการ และสามารถตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อจากการตรวจเลือดด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ แม้ว่าไม่มีมีอาการเจ็บป่วยหรือสัญญาณให้เห็น แต่การติดเชื้อชนิดนี้ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบน้ำเหลืองและไต ตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลายให้ได้รับความเสียหาย

 

การติดเชื้อแบบเรื้อรัง 

โรคเท้าช้างที่เกิดภาวะติดเชื้อเรื้อรัง คือ การติดเชื้อแล้วรักษา แต่เชื้อโรคยังหลงเหลืออยู่ในร่างกาย จะแสดงอาการบวมน้ำเหลืองและอาจนำไปสู่อาการเท้าช้างอีก สังเกตดูว่า ผิวหนังเริ่มแข็งขึ้นและหนาขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นที่ขา เท้า บางรายเข้าใจว่าเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรือบางรายก็ไม่เกิดที่เท้าแต่เกิดที่แขน นอกจากนี้ในเพศหญิงอาจเกิดเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะเพศและเต้านม ส่วนเพศชายอาจส่งผลต่ออัณฑะ เกิดแผลในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะมีสีขุ่นเหมือนนม แม้จะพบได้น้อยมาก แต่ถ้าพบลักษณะอาการนี้รีบพบแพทย์ด่วน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน

โรคเท้าช้างที่เกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลัน มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง สาเหตุมากจากการที่ร่างกายมีความอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคอ่อนลงมาก และระบบน้ำเหลืองในร่างกายไม่แข็งแรง ซึ่งทำให้เชื้อโรคหรือพยาธิตัวกลมเข้าไปทำลายได้ง่าย โดย การติดเชื้อเฉียบพลันแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • การติดเชื้อชนิดเฉียบพลันชนิด Acute Filarial Lymphangitis: AFL 

การติดเชื้อประเภทนี้พบได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากพยาธิที่โตเต็มวัยแล้วและกำลังจะตาย เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าพยาธินั้นจะตายเองโดยธรรมชาติหรือตายเพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาก็ตาม ผู้ป่วยที่ติดโรคนี้มาจะมีอาการแสดงเป็นตุ่มก้อนเจ็บขนาดเล็กขึ้นบริเวณที่พยาธิตาย หรือขึ้นตามท่อน้ำเหลืองหรือบริเวณอัณฑะด้วยก็ได้ ส่งผลให้ระบบน้ำเหลืองฟกช้ำและโตขึ้น แต่การติดเชื้อแบบเฉียบพลันชนิดนี้จะไม่มีไข้และหลายครั้งที่ตรวจไม่พบอาการไม่รุนแรงมาก

  • การติดเชื้อเฉียบพลันชนิด Acute Adeno-Lymphangitis: ADL 

โรคเท้าช้างที่ติดเชื้อประเภทนี้ พบได้บ่อยกว่าการติดเชื้อแบบ AFL เพราะจะแสดงอาการชัดเจน เช่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตจนเจ็บบริเวณขาหนีบและใต้วงแขน มีอาการเจ็บ ฟกช้ำ แดง บางคนนึกว่าเป็นฝี โดยการติดเชื้อนี้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียทับซ้อน และเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในแต่ละปี โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีความชื้นมากขึ้นบริเวณง่ามนิ้วเท้า นำไปสู่การติดเชื้อราที่จะทำให้ผิวหนังเกิดความเสียหาย จึงทำให้พยาธิชอนไชเข้าสู่ร่างกาย ฉะนั้น เราต้องสวมรองเท้าเวลาออกจากบ้านเสมอ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :  5 วิธีปกป้องลูกรักจากยุงร้าย

 

โรคเท้าช้างมีการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างไร

การวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคเท้าช้างหรือไม่ ค่อนข้างซับซ้อนและต้องเลือกเวลาสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น วิธีวินิจฉัยโรคเท้าช้างขั้นพื้นฐานที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจหาการติดเชื้อพยาธิที่ยังไม่โตเต็มวัยซึ่งอยู่ภายในเลือดของผู้ป่วย แต่เจ้าพยาธิเหล่านี้จะไม่เคลื่อนไหวในเลือดช่วงเวลากลางวัน ฉะนั้น การตรวจหาเจ้าพยาธิอาจจะยากมากหรือไม่พบเลย ดังนั้นการเก็บตัวอย่างเลือดจึงต้องทำตอนกลางคืน ตรงนี้แพทย์อาจนัดเวลาตรวจที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีการให้ยาไดเอทิลคาร์บามาซีนแก่ผู้ป่วยในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเร่งให้พยาธิออกมาเคลื่อนไหวในกรณีที่ไม่พบเจ้าพยาธิ นอกจากการตรวจเลือดแล้วยังมีวิธีอื่นๆ ดังต่อไปนี้

 

  1. ตรวจหาปริมาณสารแอนตี้บอดี้ ซึ่งแพทย์จะตรวจดูปฏิกิริยาจากสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากพยาธิ โดยใช้เครือ่งมือทดสอบเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองเริ่มบวมให้เห็น
  2. ตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจดูความขุ่นคล้ายน้ำนมของปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากที่ท่อน้ำเหลืองอุดตัน จึงสามารถตรวจหาพยาธิต้นเหตุของโรคเท้าช้างในปัสสาวะได้
  3. การถ่ายภาพ แพทย์จะใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจดูการอุดตันของท่อน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบและถุงอัณฑะ แล้วถ่ายภาพออกมาเพื่อวินิจฉัยถึงขั้นตอนการรักษาต่อไป

 

แพทย์จะรักษาโรคเท้าช้างอย่างไร

1. ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ

การรักษาโรคเท้าช้าง แพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้เชื้อติดต่อไปยังผู้อื่นก่อนเสมอ ต่อมาจึงมีการรับยากำจัดพยาธิเพื่อลดปริมาณพยาธิให้น้อย จนกระทั่งผู้ป่วยไม่สามารถกระจายเชื้อต่อไปได้ หากสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างแม่นยำ อย่างที่กล่าวไป มีบางรายเป็นโรคเท้าช้างแต่ไม่แสดงอาการ แพทย์จึงให้ผู้ป่วยรับประทานยา Albendazole ขนาด 400 มิลลิกรัมร่วมกับ Hetrazan (diethylcarbamazine, DEC) ขนาด 6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานปีละครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ผู้ป่วยที่แสดงอาการ

สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคเท้าช้างและรักษาด้วยยาแล้วแพทย์จะย้ำให้รักษาความสะอาดบริเวณที่มีอาการของโรคร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เช่น การบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บวมโตเพื่อเพิ่มการไหลเวียนดีขึ้น จริงอยู่การใช้ยาสามารถฆ่าพยาธิต้นเหตุของโรคที่อยู่ในเลือดและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกต่อไป แต่ก็ไม่สามารถฆ่าพยาธิที่โตเต็มวัยที่ได้หมด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะต่อมน้ำเหลืองบวมโดยเฉพาะหากเป็นโรคเท้าช้างปีละหลายๆ ครั้ง ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ควรจะปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้

  • หมั่นดูแลทำความสะอาดส่วนที่มีอาการบวมอย่างระมัดระวัง เช่น ล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ กับน้ำสะอาดทุกวัน
  • ระมัดระวังอย่าให้ติดเชื้อในบริเวณที่เกิดแผล สามารถใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราร่วมด้วย
  • หมั่นออกกำลังกายบริเวณแขนหรือขาที่บวม เพื่อให้น้ำเหลืองในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น

 

การป้องกันโรคเท้าช้าง สามารถทำได้อย่างไร

สิ่งสำคัญที่สุดของการป้องกันโรคเท้าช้างคือ พยายามไม่ให้ถูกยุงกัด โดยยุงที่เป็นพาหะของโรคเท้าช้างมักจะออกกัดในช่วงหัวค่ำและใกล้รุ่ง ดังนั้น หากเราอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และดูแล้วบริเวณบ้านเรามีความเสี่ยงมาก เช่น ชุกชุมไปด้วยยุง มีน้ำขัง มีดินเฉอะแฉะ ควรนอนในห้องที่ปิดมิดชิด มีมุ้งลวดกั้นประตู หน้าต่างทุกบาน อีกทั้งพยายามสวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว หรือทายากันยุง ฉีดสเปรย์กันยุงในช่วงพลบค่ำหรือหากต้องออกไปที่ชุมชนนอกบ้าน นอกจากนี้ พยายามติดต่อทางสำนักงานเขตให้มาฉีดฆ่ายุงเสมอ

 

ข้อควรระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคเท้าช้าง

แม้ว่าโรคเท้าช้างอาจไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างลำบาก สุขภาพย้ำแย่ลง โดยอาการเจ็บป่วยจากโรคเท้าช้างส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปฏิกิริยาต่อพยาธิโรคเท้าช้างหรือการแพร่กระจายของพยาธิที่โตเต็มที่แล้วในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  1. ทำให้สมรรถภาพและประสิทธิภาพในการทำงานลดลงมาก
  2. โรคเท้าช้างสามารถเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด จะก่อให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลือง
  3. ทำให้มีน้ำเหลืองสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ คือ ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณแขนขาหนาและแข็งตัวขึ้น
  4. ทำลายผิวหนังบริเวณเต้านม อวัยวะสืบพันธุ์ ลูกอัณฑะบวมโตและเจ็บ
  5. ลักษณะอาการอาจสร้างความหวาดกลัวต่อคนรอบข้าง เช่นเท้าบวมมาก แขนขาบวมน่ากลัว ผิวหนังหนามาก

 

หมายเหตุ: พยาธิตัวกลมสาเหตุของโรคเท้าช้าง สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 5-7 ปี และจะเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นล้าน ๆ ตัวภายในเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีพยาธิอยู่เลือดนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไปโดยมียุงเป็นพาหะ

 

บทความน่าสนใจ :

วิธีป้องกันทารกจากยุงร้าย หนียุงยังไงให้ลูกรอด!

คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

รู้หรือไม่? การตั้งท้องทำให้ขนาดเท้าบวมใหญ่ขึ้นได้

 

ที่มา:tm.mahidol , med.cmu , pobpad

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan