ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย

ยาลดไข้สำหรับเด็กที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ พาราเซตามอล (paracetamol) และ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen ) ยาทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันอย่างไร คุณแม่ควรเลือกใช้อย่างไรให้ฉลาดและปลอดภัย คำตอบอยู่ที่นี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาลดไข้สำหรับเด็ก ยาลดไข้ เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย

เมื่อลูกมีไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ก่อน แล้วจึงพิจารณาใช้ยาลดไข้ เนื่องจากการใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะอาจเกิดผลข้างเคียงหากใช้ในปริมาณที่เกินขนาด หรือใช้บ่อยเกินไป ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทราบวิธีเลือกใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กอย่างถูกต้องค่ะ ยาลดไข้สำหรับเด็ก เลือกใช้ให้ฉลาดและปลอดภัยเพื่อลูกน้อย ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ ไอบูโปรเฟน แอสไพริน และพาราเซตามอลยาทั้ง 3 ชนิดต่างกันอย่างไร

ท านยาพาราเซตามอลครั้ง

ยาลดไข้

  1. ยาพาราเซตามอลเป็นยาลดไข้ที่มีความปลอดภัยสูงในเด็ก ตัวยาพาราเซตามอล เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย และคุณหมอนิยมจ่ายยานี้เป็นอันดับแรก โดยยาพาราเซตามอลมีทั้งชนิดน้ำ สำหรับเด็กเล็ก และชนิดเม็ด สำหรับเด็กโต โดยขนาดยาที่ใช้คือ 10-15 มิลลิกรัมของยา ต่อน้ำหนักตัวของเด็กหนึ่งกิโลกรัม ใช้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมงเวลามีไข้ แต่วันหนึ่งไม่ควรเกิน 5 ครั้ง และไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3-5 วัน หากเด็กมีอาการไข้ติดต่อกันนานเกิน 3 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้
  2. ยาไอบูโปรเฟน บลูเฟ่น เป็นยาแก้ปวดลดไข้ในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ สามารถลดอาการไข้สูงได้ดี แต่มีผลข้างเคียงคือ ทำให้เลือดออกง่ายเนื่องจากเกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ยังไม่ทราบว่าเป็นไข้จากโรคไข้เลือดออกหรือไม่ และอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน จากกระเพาะอาหารอักเสบ

ถึงแม้ว่ายาพาราเซตามอลเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่ถ้าใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงคือ ตับถูกทำลาย และตับล้มเหลวซึ่งจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง และอาจมีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ยาลดไข้เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน และเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด ที่สำคัญการให้ยาต้องให้ในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของลูก ไม่ควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลบ่อยกว่าทุกๆ 4 ชั่วโมง หากให้ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด หรือมีไข้ติดต่อกันหลายวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขนาดของยาที่ควรใช้

การเลือกใช้ยาแต่ละประเภทและการป้อนยาให้เด็กในปริมาณเท่าไรในแต่ละครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาปริมาณการให้ยาลูกโดยดูจากคำแนะนำข้างกล่อง หรือจากฉลากของยา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะบอกโดยคร่าวๆ เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 2  ปี ควรกินครั้งละ… ช้อนชา เด็กอายุประมาณ…ปีควรกินครั้งละ…ช้อนชา แต่จากคำแนะนำดังกล่าว เป็นเพียงปริมาณการให้ยาโดยเฉลี่ยกับเด็กส่วนใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีน้ำหนักที่แตกต่างกันไป แม้ว่าจะอยู่ในวัยไล่เลี่ยกันก็ตาม

ดังนั้นเวลาไปซื้อยา เภสัชกรจึงมักสอบถามถึงน้ำหนักตัวลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่เป็นหลักก่อน เพื่อสามารถคำนวณปริมาณของตัวยาที่จะให้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยปริมาณหรือขนาดยาที่จะให้แต่ละครั้งก็คือ ตัวยาพาราเซตามอลปริมาณ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ดังนั้นไม่ว่าเด็กจะมีอายุเท่าใด หากน้ำหนักตัวเท่าๆ กัน คือ ประมาณ 16 กิโลกรัม ก็ควรจะกินยาเท่ากันคือ ประมาณ 160-250 มิลลิกรัมต่อครั้ง

ทั้งนี้ยาน้ำลดไข้ ก็มีอยู่หลายรูปแบบทั้ง น้ำใส น้ำข้น และแบบหยด ซึ่งปัจจุบันยาน้ำลดไข้แก้ตัวร้อนสำหรับเด็ก ที่มีตัวยาหลักคือ พาราเซตามอลนั้น มีให้เลือกมากมายหลายแบบ ตั้งแต่ยาน้ำเชื่อมใสที่ใช้หยอดใส่ปากเด็ก ยาน้ำเชื่อมใสที่กินเป็นช้อนชา และยาน้ำเชื่อมชนิดข้นที่เภสัชกรเรียกว่ายาน้ำแขวนตะกอน ยาเหล่านี้ยังมีความแรงหรือความเข้มข้นของตัวยาพาราเซตามอลแตกต่างกันออกไป … แต่ที่สำคัญคือ ในการเลือกใช้ ก็ให้เลือกใช้ตามขนาดน้ำหนักตัวของเด็ก และเลือกรสชาติตามความชอบของเด็กแต่ละคน ซึ่งตรงนี้คุณพ่อคุณแม่คงต้องเป็นคนบอกเภสัชกรที่ร้านยาให้ทราบ จะได้หยิบยาได้ถูกใจ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนผสมยาน้ำลดไข้

ยาน้ำเชื่อมทั่วไปรวมทั้งยาน้ำเชื่อมแบบหยดจะเป็นยาที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในปริมาณสูง เพื่อช่วยในการกลบรสขมของยา จึงอาจมีผลทำให้เด็กฟันผุได้ง่ายและไม่เหมาะกับเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก และยาลดไข้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่ควรมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คุณแม่สามารถขอแนะนำจากเภสัชกรให้เลือกใช้ยาน้ำสูตรไร้แอลกอฮอล์ Free Alcohol

เวลาการให้ยา ให้อย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลืมกินยาก่อนอาหาร หลังอาหาร

การให้ยาที่ถูกต้องคือทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อหายไข้ให้หยุดยาได้ ตัวพาราเซตามอลเองจะออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างช้า ไข้จะลดลงภายหลังรับประทานยาประมาณครึ่งชั่วโมง ระหว่างรอให้ยาออกฤทธิ์ ควรระมัดระวังไม่ให้ไข้ขึ้นสูงเกินขนาด ด้วยการหมั่นเช็ดตัวบ่อยๆ หากให้ยาและเช็ดตัวให้แล้วอาการไข้ของลูกยังไม่ลดลง ไม่ควรให้ยาเกิน 5 ครั้งต่อ 1 วัน หรือทำซ้ำอยู่เช่นนั้นเพื่อหวังให้ไข้ลดลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตับ และไตจนทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ในกรณีเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน

นอกจากการใช้ยาเพื่อช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อนให้แก่เด็กแล้ว ขอแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลเด็ก ควรให้เด็กได้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ และมากๆ และกินอาหารที่มีประโยชน์ และในกรณีที่มีไข้สูง (มากกว่า 39 องศาเซลเซียส) ควรเช็ดตัวให้เด็กอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่เด็กเคยมีประวัติของโรคลมชักเมื่อไข้สูง ควรได้รับยากันชักตลอดเวลาที่เด็กมีไข้ และในกรณีที่เด็กเคยมีประวัติของโรคหืดหอบ เมื่อเป็นไข้โดยเฉพาะไข้หวัด อาจชักนำให้เด็กมีอาการจับหอบได้ จึงควรระวังในสองกรณีดังกล่าวนี้ด้วย ถ้าเด็กเป็นไข้ติดต่อกันเกินมา 3-5 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรแนะนำให้พาเด็กไปพบแพทย์

 

ที่มา : 1

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมื่อลูกมีไข้สูง: สิ่งที่ห้ามทำและวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team