สุดยอดวิดีโอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม

ถึงคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องเลี้ยงลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม ในอนาคตลูกคุณจะสามารถทำอะไรได้หลายอย่างและจะอยู่ด้วยตัวเองได้ หากคุณเลี้ยงดูอย่างดี ให้ความรักและเอาใจใส่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สุดยอดวิดีโอ เป็นกำลังใจให้ผู้ที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม

จากข้อมูลทั่วโลก พบตัวเลขภาวะดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)ในเด็กเกิดใหม่ 1 ต่อ 700-1,000 คน กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเป็นโรคที่มีความผิดปกติของอวัยวะของร่างกาย ร่วมกับมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาดาวน์ซินโดรม สาเหตุ มาจากความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 21 ปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสให้เกิดภาวะดาวน์ซินโดรม คือแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีโอกาสที่ลูกจะเป็นดาวน์ได้ประมาณ 1 ใน250 และมีโอกาสเสี่ยง 1 ใน 70 หากแม่มีอายุ 40 ปี และเพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุแม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากดาวน์ซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ จึงสามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้ตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์

พญ.คคนางณ์ จันทรภักดี สาขากุมารเวชศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่าแม้ว่าดาวน์ซินโดรมเป็นกลุ่มโรคที่รักษาไม่ได้ แต่เราสามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองความเสี่ยงดาวน์ซินโดรมได้ก่อนเมื่ออายุครรภ์ 11 สัปดาห์ขึ้นไป  โดยมีวิธีการตรวจดังนี้

l การตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือดคุณแม่ที่อายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์

l อัลตราซาวนด์เมื่อมีอายุครรภ์11-14 สัปดาห์ โดยเป็นการตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก หรือ NT (Nuchal Translucency) ถ้าพบว่าหนามากกว่าปกติ ทารกอาจมีโอกาสผิดปกติได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

l การเจาะน้ำคร่ำ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมอยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 16-18 เนื่องจากเป็นช่วงที่เซลล์ของทารกหลุดลอยอยู่ในน้ำคร่ำในปริมาณที่มาก จึงสามารถนำลักษณะโครโมโซมมาตรวจเพื่อหาความผิดปกติได้

ทั้งนี้ลักษณะของเด็กดาวน์ แต่ละคนมีความรุนแรงแตกต่างกันตามลักษณะความผิดปกติของโครโมโซม แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันและเห็นได้ชัดเจน คือ ศีรษะค่อนข้างแบนเล็กดั้งจมูกแบน ตาเฉียงขึ้น โทนกล้ามเนื้ออ่อนข้อต่อ เอ็นยืดหยุ่นง่าย มือสั้น คอสั้นลิ้นยื่น การเจริญเติบโตน้อยกว่าวัยและมีสติปัญญาช้ากว่าวัย รวมถึงอาจพบอาการออทิสติก (ASD) หรือสมาธิสั้น (ADHD) ร่วมด้วย นอกจากนี้เด็กดาวน์ซินโดรมอาจมีปัญหาสุขภาพและความผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น การได้ยินบกพร่อง ตาเข หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง เป็นต้น

ส่วนการรับมือเมื่อลูกเป็นดาวน์ คุณหมอกล่าวว่า เด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมสามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ หากพ่อแม่ใส่ใจนำลูกเข้ารับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงแรกเกิด-5 ปี เด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม ควรได้รับการดูแลจากสหสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ทั้งในแง่การตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ รวมถึงติดตามความก้าวหน้าทางพัฒนาการและให้การฝึกกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่ในช่วงแรกที่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กกลุ่มอาการดาวน์ จะประกอบทั้งด้านของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กสติปัญญา การพูด รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง ซึ่งควรทำเป็นทีม ทั้งแพทย์นักสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงให้คำแนะนำการฝึกกระตุ้นพัฒนาการแก่ผู้ปกครองเพื่อกระตุ้นพัฒนาการต่อเนื่องได้เองที่บ้าน

เมื่อพบว่าลูกน้อยเป็น ดาวน์ซินโดรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

l ทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่กล่าวโทษว่าใครคือสาเหตุ ควรให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รวมถึงมอบความรักความอบอุ่นแก่เด็ก

l ตรวจสุขภาพตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเด็กดาวน์ซินโดรมส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและระบบทางเดินอาหาร ปัญหาในการได้ยิน การมองเห็น รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าเด็กปกติ

l จงเชื่อมั่นว่าลูกจะมีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป แต่อาจล่าช้าและต้องใช้เวลามากกว่า ทั้งนี้หมั่นปรึกษาแพทย์ รวมถึงพยายามให้ลูกช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

l เข้ารับการฝึกส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์เช่น นักกิจกรรมบำบัดเพื่อส่งเสริมการเตรียมกล้ามเนื้อด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ นักกายภาพเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่เช่น ฝึกทรงตัว ฝึกนั่ง เดิน นักจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา และพบนักแก้ไขการพูด เพื่อฝึกพูดและสื่อสาร รวมถึงทำตามคำแนะนำของนักสหสาขาวิชาชีพ เพื่อทำการฝึกต่อเนื่องเองที่บ้าน และควรติดตามการรักษา ประเมินพัฒนาการกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

l ให้การเลี้ยงดูเหมือนเด็กทั่วไป ไม่ควรตามใจ หรือให้อภิสิทธิ์มากกว่าลูกคนอื่น

l สนับสนุนดูแลลูกเป็นพิเศษ เช่น อาจต้องเข้าโรงเรียนเฉพาะทางหรือได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อเข้าโรงเรียน

เนื่อง จาก ความ ก้าว หน้า ของ เทคโนโลยี  ทาง การ แพทย์ และ การ สื่อสาร   ใน ปัจจุบัน ทำให้ คุณพ่อ คุณแม่ มี ความ เข้าใจ โรค กลุ่ม ดาวน์ซินโดรม มาก ขึ้น อีก ทั้ง การ ตรวจ คัดกรอง ดาวน์ซินโดรม ยัง สามารถ ทำได้ ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์ ทำให้สามารถปัองกันการเกิดภาวะนี้ได้ แต่หากลูกเกิดมามีภาวะดาวน์ซินโดรมแล้วคุณพ่อ คุณแม่ ก็ควรดูแลลูกด้วยความรักความเข้าใจ และพร้อมส่งเสริมให้ลูกเราสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป

 

วิดีโอ: สอนลูกให้คิดเป็น

https://www.matichonacademy.com/content/travel/article_22196

สุดยอดวิดีโอ เป็นกำลังใจให้ผู้ที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา