สุนัขฮีโร่ ช่วยชีวิตเด็กชายป่วยเบาหวาน

เพราะความแสนรู้ของเจได ทำให้มันกลายเป็นฮีโร่ ช่วยชีวิตเด็กชายที่ป่วยเบาหวานได้ทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สุนัขฮีโร่

ดอลลี่ คุณแม่วัย 37 ปีจากรัฐแคลิฟอร์เนีย พบว่า ลุค นัททัล ลูกชาย ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่หนึ่ง เมื่อเขาอายุได้เพียงสองขวบ เธอบอกว่า “เพราะร่างกายของลุคไม่สามารถผลิตกรดอินซูลินได้ทัน ทำให้ระดับน้ำตาลของเขานั้นตกลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อน้ำตาลของเขาอยู่ในระดับที่ต่ำ เขาจะเริ่มมีอาการหน้ามืด มือและเท้าไร้ความรู้สึก และจะเริ่มปวดท้อง แต่ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดของเขาสูง อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเขาก็จะเริ่มผิดปกติ”

ภาพเดไดและลุค เมื่อเขายังเด็ก

เจได สุนัขพันธุ์อิงลิชลาบาดอร์ถูกส่งไปฝึกให้เป็นผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่มันยังเป็นลูกสุนัขอยู่ มันสามารถบอกได้เลยว่า เวลาไหนที่ลุคมีระดับน้ำตาลขึ้นสูง และเวลาไหนที่เขามีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติ และวิธีที่มันใช้ส่งสัญญาณคือ การใช้อุ้งเท้ายกขึ้นยกลง

และเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อคืนหนึ่งจู่ ๆ เจไดก็กระโดดขึ้นกระโดดลงบนเตียงที่ดอลลี่นอนอยู่ แต่ดอลลี่ก็ยังไม่ยอมตื่น จนกระทั่งเจไดต้องกระโดดขึ้นมานอนทับบนตัวเธอ ดอลลี่จึงรู้ทันทีว่า มีบางอย่างเกิดขึ้นกับลุคแน่นอน และเมื่อไปถึงยังห้องนอนของลุค ถึงรู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดของเขานั้นตกต่ำกว่าเกณฑ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาพเหตุการณ์ในวันที่เจได ช่วยชีวิตเด็กน้อยจากโรคเบาหวาน

ดอลลี่กล่าวว่า “จริง ๆ แล้วเครื่องวัดระดับน้ำตาลของลุคนั้น จะเชื่อมต่อกับมือถือของเธอ ซึ่งจะสามารถคอยแจ้งถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่เคยทันเจไดเลย เพราะทุกครั้งที่มีความผิดปกติ เจไดจะแจ้งก่อนล่วงหน้าทุกครั้งที่เครื่องจะเตือน”

ทั้งลุคและเจได เป็นมากกว่าเพื่อน พวกเขาจะตัวติดกันตลอดเวลา และเพราะเจไดนี่แหละ ที่ทำให้ลุคมีรอยยิ้มได้เสมอ” ดอลลี่กล่าว

การฝึกสุนัข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกอาจกลายเป็นสุนัขก้าวร้าวและเป็นอันตรายกับเจ้าของได้ เจ้าของควรเริ่มฝึกสุนัขตั้งแต่ยังเล็กๆจะง่ายกว่า โดยฝึกให้คุ้นเคยกับการรับคำสั่ง การเดินโดยใช้สายจูง การเล่นเกม สุนัขที่ได้รับการฝึกตั้งแต่เล็กถ้าพฤติกรรมที่ไม่ดีตอนโตจะแก้ไขได้ง่ายกว่าสุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อฟังคำสั่ง

เมื่อไหร่ที่ควรเริ่มฝึก

คุณไม่ควรจริงจังกับการฝึกสุนัขมากนัก ถ้าสุนัขอายุยังไม่ถึง 7-8 เดือน นักจิตวิทยาสัตว์บางคนบอกว่า ลูกสุนัขบางตัวสามารถเริ่มฝึกได้เมื่ออายุตั้งแต่ 7 สัปดาห์ แล้วเทคนิคต่าง ๆ ค่อย ๆ สอนภายหลัง แต่ จริง ๆ แล้วเรื่องของเทคนิคต่าง ๆ ปล่อยให้นักฝึกสุนัขอาชีพเป็นผู้ฝึกดีกว่า ขณะที่ลูกสุนัขของคุณยังอยู่ในช่วงต้น ๆ ของความเป็นลูกสุนัข ตั้งใจเอาชนะใจมันให้ได้ มันจะรักและนับถือคุณ การฝึกพื้นฐานจะเริ่มได้เมื่ออายุ 3-4 เดือน ช่วงอายุนี้ควรฝึกให้เดินสวยขณะที่คุณจูง นั่ง นอน ตามคำสั่ง และเข้ามาหาคุณเวลาคุณเรียกมัน

คุณมีส่วนในการฝึก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณต้องมีความอดทนในการชี้แจงให้สุนัขเข้าใจว่าแต่ละคำที่คุณออกคำสั่งนั้นหมายถึงอะไร ทำมันด้วยมือหรือเชือกจูงสำหรับฝึกก่อน ทำให้มันแน่ใจในคำสั่งด้วยเสียงของคุณ สอนมันเป็นประจำทุกวันถึงสิ่งที่คุณต้องการจะให้มันรู้ ทบทวนคำสั่งพร้อมกับแสดงอาการประกอบ สาธิตให้มันดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้สุนัขได้มีโอกาสรับรู้จดจำไว้
เมื่อมันเริ่มเรียนรู้ให้ใช้เพียงคำพูดเป็นคำสั่งโดยไม่ต้องออกท่าทาง จ้ำจี้จ้ำไชกับมันบ่อย ๆ เมื่อมันทำผิดก็แก้ไขมันมันถูก แรก ๆ ก็ใจดีกับมันก่อน แล้วค่อย ๆ เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ตามความก้าวหน้าของการฝึก อย่าหมดความอดทนหรือฉุนเฉียวเสียก่อน อย่าตีมันด้วยมือหรือเชือกจูงขณะที่ฝึก เพียงแค่คุณดุมันหรือว่ามันก็รู้สึกผิดมากพอแล้ว
เมื่อสุนัขทำในสิ่งที่คุณต้องการ ชมเชยมันพร้อมกับลูบหลังมันไปด้วย อย่าตบรางวัลสุนัขด้วยขนมหรือปฏิบัติกับมันดีเกินไปขณะฝึก สุนัขที่ชินกับนิสัยการรับรางวัลเช่นนี้จะไว้ใจไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันจะไม่ค่อยยอมทำอะไรถ้าไม่ได้กลิ่นขนมหรือของรางวัล ถ้าหากฝ่าฝืนคำสั่งหรือทำอย่างไม่ค่อยเต็มใจ (เหลวไหล) คุณควรจะพูดกับมันดี ๆ ต่อไปมันจะดีขึ้นเรื่อย ๆ

เสียงที่ใช้ฝึก

เมื่อคุณฝึกสุนัขให้ใช้เสียงในการออกคำสั่งที่แข็งขันและชัดเจน ครั้งแรกคุณออกคำสั่งไปแล้วต้องยืนกรานคำสั่งเดิมไปจนกระทั่งมันเชื่อฟัง หรือแม้แต่จะฉุดมันให้มาฟังคุณก็ตามที มันต้องเรียนรู้ว่าการฝึกนั้นต่างจากการเล่น เมื่อใดที่มีการออกคำสั่งมันต้องเชื่อฟังไม่ว่าจะมีอะไรมาทำให้วอกแวกก็แล้วแต่ จงจำไว้ว่าน้ำเสียงและน้ำหนักเสียงของคุณ (ต้องไม่ดังลั่น) จะมีอิทธิพลต่อสุนัขเป็นส่วนใหญ่ ต้องพูดด้วยคำพูดที่เน้นหนักแน่น ในการใช้คำพูดระหว่างฝึกจำกัดคำสั่งของคุณให้ใช้คำเพียงแค่ 2-3 คำ ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าเปลี่ยนคำสั่ง มันเป็นการดีที่สุดถ้าจะมีผู้ฝึกสุนัขเพียงคนเดียว คนอื่น ๆ อาจใช้คำสั่งแตกต่างกันออกไป วิธีฝึกก็ต่างไปซึ่งอาจทำให้สุนัขสับสนได้ สุนัขที่ได้ยินคำสั่งประเภท “มานี่” “มาหาหน่อย” “เร็ว ๆ เข้า” หรือคำสั่งทำนองนี้แต่มีความต้องการเดียวกันคือให้มันมาหา ถ้าคุณใช้คำสั่งมากมายขนาดนี้มันจะสับสนมาก ให้ใช้คำไหนคำนั้นดีที่สุด

บทเรียนที่ใช้ฝึก

การฝึกเป็นงานหนักทั้งสุนัขและผู้ฝึก สุนัขเล็ก ๆ ใช้เวลาฝึกในช่วงหนึ่งได้ไม่เกิน 10 นาที ก็จะไม่อยากฝึกต่อดังนั้นควรจำกัดอย่าให้บทเรียนบทแรกยาวเกินไปนัก แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาไปเป็นระยะจนกระทั่งถึง 30 นาที คุณเองก็อาจพบได้ว่าคุณก็เริ่มหมดความอดทนเหมือนกันเมื่อใกล้ ๆ จะหมดเวลาฝึก เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณอารมณ์ไม่ดีให้หยุดฝึก ใช้เวลาที่เหลืออยู่ทบทวนบทเรียนเก่า ๆ ไปก่อน และก่อนหรือหลังบทเรียนควรมีช่วงเวลาพักเล่นด้วยไม่ใช่เล่นระหว่างเรียน แม้แต่สุนัขที่เด็กที่สุดก็จะเรียนรู้ได้เองว่าเวลาที่ต้องเรียนนั้นเป็นช่วงที่ต้องเคร่งครัดจริงจัง ส่วนความสนุกจะตามมาหลังจากนี้
อย่าใช้เวลาในการฝึกช่วงแรก ๆ มากนัก มิฉะนั้นสุนัขก็จะเบื่อ พยายามจบบทเรียนในช่วงที่ดี ๆ ถ้าหากสุนัขไม่ได้ทำในสิ่งที่คุณต้องการนั้นเป็นเพราะคุณไม่สามารถทำให้มันจดจำได้ดีพอ

เครื่องมือในการฝึก

 

  1. เชือกที่ใช้จูงสุนัข ใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า “ตัวนำ” ดังนั้นเราจะใช้คำนี้แทน ตัวนำ ที่ดีที่สุดสำหรับฝึกนั้นเป็นผ้าทอหรือสาน ยาว 6 ฟุต ส่วนใหญ่ใช้สีทึม ๆ มอ ๆ หรือจะใช้เป็นหนังขนาดเท่ากัน หรือจะใช้แบบเป็นสีสันก็มีใช้กันอยู่บ้าง แล้วแต่คุณจะเลือก
  2.  ต้องใช้ปลอกคอฝึกสุนัขควบคู่ไปด้วย ปลอกคอฝึกส่วนใหญ่ทำด้วยไนล่อนหรือ โซ่เหล็ก ซึ่งมีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วใช้ตัวนำคล้องกับปลายห่วงทั้งสอง ใช้ผ่อนหรือดึงบังคับสุนัข แม้ว่าจะฟังดูน่าตกใจ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้สุนัขของคุณต้องเจ็บแต่อย่างใด และมันก็จะต้องใช้ในการฝึกด้วย ควรฝึกวิธีการใช้ปลอกคอให้ถูก ปลอกคอฝึกควรจะใส่รอบคอสุนัข เพื่อคุณจะสามารถล่ามตัวนำกับห่วงตรงปลายปลอกคอ อย่าใส่ห่วงใต้คอ มันเป็นสิ่งสำคัญในการใส่ปลอกคอฝึกให้ถูก มันจะได้แน่นเวลาคุณดังตัวนำ และง่ายเวลาคุณผ่อนหรือไม่ได้รั้งตัวนำ
  3.  วิธีในการจับตัวนำก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะปลอกคอควรจะหย่อนอยู่ตลอดเวลา นอกจากเวลาดึง จับวงเชือกไว้ด้วยมือขวา ไขว้มือไปด้านข้าง ส่วนมือซ้ายจับตัวนำไว้ให้ใกล้ปลอกคอฝึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนที่เหลือของตัวนำก็จะขมวดเป็นวงได้ (ที่คุณถือด้วยมือขวา) แนบแขนข้างนี้กับลำตัว การผ่อน ดึง หรือคลาย ทุกอย่างทำด้วยมือซ้าย ด้วยการกระตุก

ที่มา: ABC News

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

สุนัขฮีโร่

เด็ก ๆ ก็เป็นโรคเบาหวานได้

ทำไมต้องเลือกอาหารทดแทนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth