ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้ ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ อย่ามองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ให้ลูกมากไปก็ไม่ดี ให้ลูกน้อยเกินก็มีปัญหา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้ …สิ่งที่มากเกินไป อย่างไรก็ไม่ดี เช่นเดียวกับการเลี้ยงลูก ซึ่งพ่อแม่ต้องตระหนัก ทั้งการเลี้ยงลูกที่ให้มากเกินไป เกินกว่าความจำเป็น จนกลายเป็นสปอยล์ลูกอย่างไม่รู้ตัว หรือแม้แต่การไม่ให้เลย ก็สร้างปมในใจให้ลูกได้เช่นกัน มาดูข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้ ว่าส่งผลอย่างไรต่อลูกกันบ้าง

 

ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป

เพจคลินิกพัฒนาการและส่งเสริมการเรียน โพสต์ ว่าด้วยเรื่องสปอยล์ ไว้ตอนหนึ่งว่า การเลี้ยงลูกแบบตามใจมีอยู่จริง ครอบครัวที่มีปัญหานี้ยังไปหาผู้เชี่ยวชาญขอความช่วยเหลืออยู่ ทุกวัน และมากขึ้นด้วย

อย่างไรคือ เลี้ยงลูกสปอยล์การเลี้ยงลูกตามใจเกินไปจนเกิดผลกระทบ ด้านพัฒนาการ อารมณ์ และจิตใจตามมา การสปอยล์เด็กมีได้ หลายรูปแบบ บางอย่างคุณพ่อคุณแม่ไม่คิดว่าเกิดจากการตามใจ ด้วยซ้ำไป แต่มีผู้ปกครองเข้ามาปรึกษาหมอด้วยเรื่องลักษณะนี้ เกือบทุกวันและนับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

ลักษณะการตามใจเกิน ไปที่เห็น ได้ชัดๆ คือ เด็กเอาแต่ใจตัวเองมาก ถ้าไม่ได้อะไรตามที่ตนเองต้องการจะร้องโวยวายรุนแรงจนคน ในบ้านต้องยอมทําให้ถึงจะหยุด อีกแบบคือ ออกมาในรูปของ เด็กที่ไม่สามารถเติบโตทางด้านสังคมจิตใจตามวัย เพราะมีคน คอยทําทุกสิ่งให้ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ แต่งตัวให้ เก็บของเล่น ที่เล่นแล้วให้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Q: ถ้าเราไม่หยุดสปอยล์ลูกจะเกิดอะไรขึ้น

A: ผลเสียหลัก ๆ เลยของการสปอยล์ลูกคือ เด็กไม่มีการเติบโตทางด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ เรียกง่าย ๆ ว่า เป็นเด็กอีคิวไม่ดี ขยายความมากขึ้นได้ว่า

ด้านสังคม เด็กจะเติบโตมาเป็นเด็กที่ไม่รู้จักการให้ การแบ่งปัน และการเสียสละ ไม่เคารพการตัดสินใจของคนอื่น ถือความคิด ตัวเองเป็นใหญ่ เพราะอยากได้อะไรก็ได้มาตลอด แน่นอนว่า คงไม่มีเพื่อน ๆ คนไหนชอบ สักพักเขาจะเป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีเพื่อน ไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมในที่สุด

ด้านอารมณ์เด็กจะเติบโตมาโดยไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความก้าวร้าวรุนแรง เพราะเขาเรียนรู้ว่าการแสดงอารมณ์แบบนี้ ทําให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ จนในที่สุดเด็กก็ไม่สามารถควบคุม อารมณ์ตนเองได้เวลาไม่พอใจ จนอาจเกิดเป็นความรุนแรงเหมือน ดังที่เป็นข่าวในปัจจุบันว่า ไม่พอใจ ขับรถปาดหน้า ก็ถึงขั้น เอาชีวิตกัน เป็นต้น

ด้านจิตใจในที่นี้หมายถึงพัฒนาการทางจิตใจตามวัย เช่น การที่เด็กสามารถแยกจากผู้เลี้ยงดู กล้าที่จะเผชิญอุปสรรคและ สิ่งท้าทายต่าง ๆ อย่างมั่นใจ แต่เด็กที่ถูกตามใจ มีพ่อแม่หรือ คนทําให้ทุกอย่าง ไม่ต้องลงมือทําเอง ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ในที่สุดเด็กจะไม่กล้าทําอะไรคนเดียว ไม่มีความอดทน มุมานะ พยายาม กลัวความล้มเหลวผิดพลาด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ว่าด้วยเรื่องสปอยล์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อเสียเลี้ยงลูก เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

ด้านเพจ Psycho OK จิตวิทยาน่ารู้ ได้โพสต์ถึงประเด็น จิตวิทยากับการเลี้ยงดู ไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า

#จิตวิทยากับการเลี้ยงดู
#แฟนเพจรีเควสต์
.
ผลลัพธ์ของเด็กที่พ่อแม่ไม่เคยซื้ออะไรให้เลย ที่แน่ๆ เลยก็คือ
เด็กจะกลายเป็นคนขี้อิจฉา
จากการเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ
จนกลายเป็นความเก็บกด
ที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น เหมือนคนอื่นเขา
.
ซึ่งเมื่อโตขึ้นและได้ใช้ชีวิตอิสระเสรี
ก็มักจะชดเชย “ปม” นี้ด้วยการซื้อทุกอย่างที่อยากได้
กินทุกอย่างที่อยากกิน ทำทุกอย่างที่อยากทำ
.
อีกมุมหนึ่งก็อยากให้เข้าใจว่า
พ่อแม่ท่านถูกปู่ย่าตายายเลี้ยงมาแบบนี้เหมือนกัน
จึงคิดและจำฝังใจว่าเลี้ยงลูกแบบนี้แล้วไม่เสียคน
เหมือนบ้านอื่นๆ ที่เลี้ยงด้วยเงินเป็นหลัก
ฉะนั้น ถ้าอยากจะหาทางออก
ก็ต้องเริ่มที่ตัวเราเป็นหลัก
.
มองให้รอบด้านเพื่อหาคำตอบนะครับ ^^

 

จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงลูกแบบสุดโต่งจะเกิดปัญหากับลูกในระยะยาว การตามใจมากเกินไป การสปอยล์ลูกจนเกินเหตุ หรือแม้แต่ไม่เคยซื้ออะไรให้เลย ล้วนแต่ส่งผลเป็นปมในใจลูกจนโต อย่างที่ทางเพจ Psycho OK จิตวิทยาน่ารู้ บอกไว้ว่า มองให้รอบด้านเพื่อหาคำตอบนะครับ…

 

ที่มา : facebook.com/psychook/ และ facebook.com/คลินิกพัฒนาการและส่งเสริมการเรียน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกชายยังไง ไม่ให้โตขึ้นมีนิสัยแย่ๆ เหมือนพ่อ

5 วิธีเลี้ยงลูกของผู้ใหญ่สมัยก่อนมักจะบอกว่า

 

บทความโดย

Tulya