พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ไตรมาสที่ 2 จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ

อวัยวะของลูกจะเริ่มทำงานเพื่อให้ลูกได้เจริญเติบโตต่อไป รวมถึงในช่วงไตรมาสนี้คุณพ่อคุณเเม่สามารถรู้ได้เเล้วว่าลูกเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ไตรมาสที่ 2 จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 หากใช้หูฟังคุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้นแล้วนะคะ และถ้าคุณแม่ปล่อยตามใจปากมากเกินไปในช่วงนี้ ก็จะเป็นช่วงที่น้ำหนักของคุณแม่พุ่งพรวดได้เช่นกันค่ะ รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อของลูก ก็จะเริ่มมีการทำงานให้เห็นบ้างแล้วนะคะ วันนี้เราขอนำเสนอ

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ไตรมาสที่ 2 ให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตกันค่ะ

 

วิธีสังเกต พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

สัปดาห์ที่ 13 : มีการสร้างปัสสาวะ

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์นี้ ร่างกายจะมีการเชื่อมต่อของสายสะดือกับลำไส้ ตัวลูกจะโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสัปดาห์นี้คือ ร่างกายของลูกจะมีการสร้างปัสสาวะ เมื่อลูกฉี่แน่นอนว่าฉี่ลงในน้ำคร่ำนั่นแหละค่ะ เนื้อเยื่อที่จะกลายเป็นกระโหลกศีรษะจะถูกพัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับกระดูกแขนและขาของลูกค่ะ

สัปดาห์ที่ 14 : รู้แล้วว่าลูกเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

แขนลูกจะพัฒนาเต็มที่ในสัปดาห์นี้ โดยแขนลูกจะยาวแค่ไหนก็ดูได้เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ค่ะ คอลูกจะเรียวยาวเป็นรูปร่างที่ชัดเจนมากขึ้น ม้ามจะเริ่มสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เพศของเด็กๆ จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นแล้ว สำหรับลูกสาวร่างกายจะเริ่มสร้างรังไข่ สำหรับลูกชายต่อมลูกหมากก็จะถูกสร้างขึ้น ตอนนี้ตัวลูกจะยาวประมาณ 3 นิ้วครึ่งหรือประมาณ 90 มิลลิเมตรแล้วค่ะ และจะหนักประมาณ 40 กรัม

สัปดาห์ที่ 15 : สร้างโครงกระดูก

กระดูกทั่วทั้งร่างกายจะถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่ออัลตราซาวน์คุณพ่อคุณแม่และคุณหมอจะมองเห็นโครงกระดูกของลูกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น รวมไปถึงเส้นผมจะถูกสร้างขึ้นในสัปดาห์นี้เช่นกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา


สัปดาห์ที่ 16 : ลูกดูดได้แล้วนะ

ดวงตาลูกจะเริ่มมีการเคลื่อนไหว กรอกไปมาได้ หูจะถูกพัฒนาไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ตอนนี้ลูกสามารถเคลื่อนไหวปากและลิ้น ดูดได้แล้วค่ะ การเคลื่อนไหวของลูกจะเริ่มมีมากขึ้น สอดประสานกันได้อย่างดี คุณแม่อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกเคลื่อนไหวอยู่ในท้อง หรือหากอัลตราซาวนด์ดูก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนค่ะ

จนถึงตอนนี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 4 นิ้วครึ่ง หรือ 120 มิลลิเมตรแล้วนะคะ

สัปดาห์ที่ 17 : ร่างกายเริ่มสะสมไขมัน

ร่างกายลูกเริ่มสร้างเล็บเท้า อีกไม่ช้าก็จะเริ่มมีการสะสมของไขมันในร่างกายลูก ซึ่งจะไปแทรกอยู่ระหว่างผิวหนัง เพื่อให้พลังงานและช่วยให้ลูกน้อยอบอุ่นหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว

สัปดาห์ที่ 18 : ลูกได้ยินเสียงแล้ว

ในสัปดาห์นี้การทำงานของหูลูกจะเริ่มสมบูรณ์แล้ว ซึ่งทำให้ลูกได้ยินเสียงต่างๆ โดยเฉพาะเสียงของคุณแม่ค่ะ ณ ตอนนี้ความยาวของลูกคือ 5 นิ้วครึ่ง และหนักประมาณ 200 กรัมแล้วนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 19 : ลูกสาวเริ่มสร้างมดลูก

ไขมันที่เคลือบผิวลูก หรือที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักในชื่อของ ไขทารกแรกเกิด จะเริ่มเคลือบผิวที่บอบบางของลูกเพื่อปกป้องผิวจากการถลอกที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และในลูกสาวร่างกายจะเริ่มสร้างมดลูกแล้วค่ะ

สัปดาห์ที่ 20 : มาถึงครึ่งทางแล้วนะคะ

ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวในท้องได้มากขึ้น ทั้งเตะ ทั้งถีบ หรือดิ้นไปมาอยู่ในครรภ์ ถ้าคุณแม่เคยตั้งครรภ์มาก่อนอาจเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นครั้งแรกก่อนหน้านี้ซัก 2-3 อาทิตย์ค่ะ แต่ถ้าเป็นท้องแรกคุณแม่ก็จะเริ่มรู้สึกประมาณสัปดาห์นี้ค่ะ ตอนนี้ลูกจะยาว 6 นิ้วกว่าๆ แล้ว หรือประมาณ 160 มิลลิเมตร

สัปดาห์ที่ 21 : ลูกกลืนได้แล้วนะคะ

สัปดาห์นี้ลูกจะน้ำหนักขึ้นเร็วพอสมควรเลยนะคะ และค่อนข้างแอคทีฟ คุณแม่จะรู้สึกได้เลยว่าลูกดิ้นมากขึ้น มีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้น แรงขึ้น และนานขึ้น และตอนนี้ลูกเรียนรู้การกลืนได้แล้วนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 22 : เส้นผมชุดแรกของลูก

คุณแม่ที่ลูกเกิดมาไม่ค่อยมีผมอย่าได้กังวลใจไปค่ะ เดี๋ยวผมลูกก็ดกดำ แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกผมดกนั้น ในสัปดาห์นี้ผมชุดแรกของลูกจะเริ่มยาวจนปกคลุมศีรษะของลูก เพื่อปกป้องผิวบริเวณศีรษะที่ยังบอบบางอยู่นะคะ รวมไปถึงคิ้วของลูกก็จะเริ่มเห็นเส้นขนขึ้นมาแล้วค่ะ ตอนนี้ลูกจะยาวประมาณ 7 นิ้วครึ่ง หรือประมาณ 190 มิลลิเมตร และหนักประมาณ 460 กรัมแล้วนะคะ

สัปดาห์ที่ 23 : เริ่มสร้างลายนิ้วมือและลายนิ้วเท้า

ในสัปดาห์ผิวหนังของลูกจะเริ่มมีรอยย่นบ้างแล้ว โดยจะมีลักษณะค่อนข้างโปร่งแสง และมีสีชมพูหรือแดง ดวงตาของลูกจะเริ่มเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมากขึ้น ลิ้นจะมีการพัฒนาของต่อมรับรส ลายนิ้วมือลายนิ้วเท้าเริ่มก่อตัวขึ้น สำหรับลูกชายลูกอัณฑะจะลงมาจากช่องท้อง และสำหรับลูกสาวนั้นมดลูกและรังไข่จะอยู่ในที่ของมันเรียบร้อยแล้วค่ะ

หากคุณแม่คนใดที่มีปัญหาสุขภาพ หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และลูกต้องคลอดก่อนกำหนดในอาทิตย์นี้ ลูกที่คลอดออกมาก็สามารถมีชีวิตรอดได้แล้วนะคะ

สัปดาห์ที่ 24 : ผมยาวมากขึ้น

เชื่อไหมว่าลูกในท้องของคุณแม่นั้นสามารถเดินเล่นและนอนหลับได้แล้วนะคะ การเดินเล่นคือการที่เขาเคลื่อนไหวแขนขาไปรอบๆ นั่นเหละค่ะ และหากลูกหลับแน่นอนว่าคุณแม่จะรู้สึกถึงการดิ้นของลูกได้น้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง ส่วนเส้นผมก็จะเริ่มยาวมากขึ้นๆ ค่ะ ถึงตอนนี้ลูกจะยาวประมาณ 8 นิ้ว และหนักประมาณ 630 กรัม

สัปดาห์ที่ 25 : มีปฏิกิริยาต่อเสียง

มือของลูกจะเริ่มมีการพัฒนาเพื่อมีปฏิกิริยาต่อสิ่งอื่นๆ มากขึ้น ลูกจะตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยอย่างเสียงของคุณแม่ ผ่านการเคลื่อนไหวของเขานะคะ

สัปดาห์ที่ 26 : เล็บยาวเต็มที่

ปอดจะเริ่มมผลิตสารลดแรงตึงผิว เพื่อให้สารนี้ถูกใช้ในการช่วยให้ถุงลมในปอดได้ยืดขยายมากขึ้น และยังช่วยไม่ให้พื้นผิวของถุงลมในติดกันเมื่อยุบตัวลง ตอนนี้ลูกจะยาว 9 นิ้วแล้วนะคะ น้ำหนักก็อยู่ที่ 820 กรัมค่ะ

สัปดาห์ที่ 27 : สิ้นสุดไตรมาสที่ 2

ปอดและระบบประสาทจะเริ่มมีการทำงานอย่างเสถียรภาพมากขึ้น เพื่อให้ลูกเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นยังไงละคะ

ที่มา mayoclinic


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

แม่ท้องไตรมาส 3 ต้องรับมือกับอาการสุขภาพอะไรบ้าง

ชม คลิปพัฒนาการท้องแม่ ของคุณแม่คนสวย ที่ยอดวิวเป็นล้าน!

27 ภาพจริง สุดซึ้ง สะเทือนใจ หลายอารมณ์เกิดขึ้นในห้องคลอด