นอนข้างกันทุกคืน รู้บ้างไหม สามีกรนแบบนี้เสี่ยงหยุดหายใจ

อันตรายจากการนอนกรน ซึ่งอาจทำให้สามีหยุดหายใจในขณะหลับได้ อาการเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร ตามไปหาคำตอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สามี กรน แบบนี้เสี่ยงหยุดหายใจ

เสียงกรนดังๆ ที่ภรรยาได้ยินทุกค่ำคืน ใครจะรู้ว่าเป็นสัญญาณอันตราย สามี กรน แบบนี้เสี่ยงหยุดหายใจ ได้เลยนะ

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เสียงที่ดังขึ้นขณะหลับนั้น เป็นเสียงจากการสั่นสะเทือนของลมหายใจ ซึ่งผ่านช่องทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลง และหายใจออก

การนอนกรนขณะหลับ เสียงที่ดังขึ้น นั้นเป็นเสียงจากการสั่นสะเทือนของลมหายใจ ซึ่งผ่านช่องทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลง และหายใจออก ซึ่งอาการนอนกรนที่เกิดในขณะหลับ อาจนำไปสู่การหยุดหายใจในขณะหลับได้

สังเกตอาการเหล่านี้ของสามีให้ดี

ผู้ที่มีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) มักจะมีอาการ ดังนี้

  • นอน กรน เสียงดัง
  • หยุดหายใจ
  • หายใจสะดุด หรือเฮือกสำลัก

ทำให้สมองพักผ่อนไม่เพียงพอ สามีจะตื่นนอนด้วยอาการเพลีย หงุดหงิดง่าย ความจำไม่ดี ดูไม่สดชื่นเหมือนคนนอนไม่อิ่ม อาจมีอาการมึนศีรษะ ระหว่างวันรู้สึกง่วงนอน อาจมีเผลอหลับได้ด้วย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น สาเหตุเกิดจากอะไร

ภาวะอ้วน หรือความหย่อนของกล้ามเนื้อในช่องคอหรือโครงสร้างกระดูกใบหน้าที่เล็กผิดปกติ ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยบางคนมีปัจจัยเดียว ส่วนผู้ป่วยที่ผอมก็มีอาการหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน ต้องระวังการสูบบุหรี่ ทำให้เมือกในช่องคอเหนียวข้นมากขึ้น การดื่มสุราทำให้กล้ามเนื้อช่องคอหย่อนขึ้น

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวก็มีความเสี่ยง หยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. โรคความดันโลหิตสูง
  2. ความผิดปกติทางอารมณ์
  3. โรคหลอดเลือดหัวใจ
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. ภาวะหัวใจวาย

ถ้าสามีที่นอนกรนเสียงดังอยู่ข้างๆ เข้าข่ายเสี่ยงแบบนี้ ต้องรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการการนอนหลับ เพื่อประเมินความรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อการกรน

ผู้ที่นอนกรนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น อาจต้องใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก เพื่อลดปัญหาการอุดตันของทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการรักษาการหายใจผิดปกติได้โดยตรง นอกจากนี้ อาจใช้ทันตอุปกรณ์เพื่อกันลิ้นตกหรือปรับตำแหน่งของกรามในขณะที่นอนหลับ ก็จะลดปัญหาการนอนกรนได้

วิธีง่ายๆ ที่ภรรยาช่วยได้คือ ให้สามีฝึกท่านอนให้นอนตะแคง เพราะการนอนหงายมีผลทำให้นอนกรน แต่ถ้ายังมีอาการผิดปกติ ขอแนะนำให้ไปหาคุณหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียดจะดีที่สุดค่ะ

รวม 5 วิธีแก้นอนกรน ลดความเสี่ยงโรคร้ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ!

“คุณเป็นคนนอนกรนไหม” ไม่มีใครหรอกที่จะยอมรับว่าตัวเองเป็นคนนอนกรนหากไม่ได้ฟังจากปากคนที่นอนอยู่ข้างๆ หรือมีหลักฐานแน่นหนารัดตัว แต่รู้หรือไม่ว่า ยิ่งคุณปฏิเสธอาการนอนกรนมากเท่าไหร่ร่างกายของคุณก็จะเสี่ยงต่อการที่โรคภัยถามหามากเท่านั้น!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะอาการนอนกรนที่เกิดขึ้นนั้นคือ สัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของพฤติกรรมการนอนและสุขภาพที่เริ่มจะย่ำแย่ เช่น การเผชิญหน้ากับโรคอ้วนทำให้อาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่มากซึ่งทำให้เกิดอาการกรน อาการต่อมทอนซิลโต ผู้ป่วยที่มีอาการลิ้นโต หรือคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจแบบไม่รู้ตัว ฯลฯ

โรคร้ายจากอาการการนอนกรนที่คุณอาจไม่เคยรู้

เนื่องจากอาการนอนกรนเริ่มต้นจากความผิดปกติในร่างกายอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น ย่อมส่งผลเสียให้กับร่างกายได้มากกว่าที่คุณคิด

ไม่ว่าจะเป็นผลเสียเล็กๆ น้อยๆ อย่างอาการอ่อนเพลีย ง่วง รู้สึกไม่สดชื่นจากการที่สะดุ้งตื่นในช่วงกลางดึก เพราะรู้สึกหายใจไม่สะดวก ในบางคนอาจรู้สึกปวดหัว มึนศีรษะมีความรู้สึกเหมือนว่าไม่ได้หลับนอนมาทั้งคืน ทั้งๆ ที่ได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ร่วมด้วย

หรือผลเสียขนาดใหญ่ที่ขยายในวงกว้างจากการละเลยไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการรักษานั่นก็คือ การเป็นโรคแทรกซ้อนต่อเนื่องซึ่งมีสาเหตุมาจากสุขภาพการนอนที่ไม่ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยเฉพาะโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea, OSA) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ ตลอดการนอนหลับ และเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รวมไปถึงอาการป่วยที่เป็นโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า ฯลฯ

ซึ่งถ้าหากปล่อยให้อาการกรนนี้หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะส่งผลเสียทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาจากอาการที่สะสมในระยะยาวแล้ว เสียงกรนยังส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนข้างกายที่ต้องนอนฟังเสียงรบกวนในทุกๆ คืนทำให้เกิดความหงุดหงิดและทะเลาะกันได้อีกด้วย

รวมวิธีการแก้ นอนกรน

ก่อนที่โรคร้ายจะรุมเร้า คุณควรรีบแก้ไขปัญหานอนกรนให้ได้ก่อนจะสาย ด้วย 5 วิธีแก้นอนกรนที่จะช่วยทำให้สุขภาพการนอนของคุณดีขึ้นได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่านอน

ใครจะรู้ล่ะว่าแค่ปรับเปลี่ยนท่านอนจะสามารถช่วยแก้อาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งการรับประทานยาเข้าช่วย เพราะคนที่มีปัญหาด้านการนอนส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ อย่างการนอนผิดท่า ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ส่งผลให้เกิดอาการกรน ละเมอ หรือฝันร้ายตามมา

ซึ่งถ้าคุณมีปัญหาด้านการนอนกรนเป็นหลักก็อาจจะลองสำรวจท่าทางการนอนของตนเองดูว่าเป็นท่านอนหงายที่มักจะทำให้โคนลิ้นและเพดานอ่อนปิดกั้นช่องลมหายใจจนทำให้เกิดเสียงกรนหรือไม่

2. จัดเตรียมบรรยากาศที่พร้อมสำหรับการนอน

แค่ปรับเปลี่ยนท่านอนอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ วิธีแก้นอนกรนวิธีที่ 2 นี้จะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้คุณสบายและหลับได้ลึกมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดเตรียมบรรยากาศและสถานที่ให้พร้อมสำหรับการนอนมากที่สุด

เริ่มต้นจากการปรับหมอนหนุนนอนให้เหมาะสมเพียงแค่หาหมอนมารองศีรษะให้สูงขึ้นประมาณ 4 นิ้ว เพื่อเป็นการช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น

รวมถึงการทำความสะอาดเตียงนอน ด้วยการหมั่นซักปลอกหมอน ผ้าห่ม และผ้าปูเตียงอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันไรฝุ่นสะสมที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจจนสุดท้ายกลายเป็นโรคภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการนอนกรนได้ด้วยเช่นกัน

3. ดูแลสุขภาพ

    • ลดน้ำหนัก

เมื่อน้ำหนักขึ้นจะทำให้ช่วงคอหนาส่งผลให้ไขมันที่พอกพูนบริเวณช่วงคอ อก รวมไปถึงหน้าท้องเบียดช่องทางการหายใจจนเกิดอาการกรน ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงเป็นหนทางที่จำเป็นที่สุดในการแก้ไขอาการดังกล่าว ซึ่งก็ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพในด้านอื่นๆ ที่ถูกต้องในหัวข้อต่อๆ ไป

    • ควบคุมการรับประทานอาหารกลางดึก

สำหรับหลักในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องของผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนจะต้องเริ่มจากการหยุดกินในเวลาก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง และงดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อคอหย่อนคล้อยกว่าปกติ และเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์มาตรฐานได้อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
    • หมั่นออกกำลังกาย

นอกจากจะเป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักและรักษาหุ่นให้สวยเพรียวได้สมใจแล้ว การออกกำลังกายยังสามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ดึงรั้งช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อภายในปากของเราไม่หย่อนลงมาขัดขวางทางเดินหายใจนั่นเอง

    • งดสูบบุหรี่

เพราะบุหรี่มีสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดและเป็นสาเหตุให้คัดจมูก รวมถึงอาการหายใจไม่สะดวกได้ ดังนั้นใครที่มีอาการกรนและอยากรักษาให้หายก็ควรที่จะงดการสูบบุหรี่ก่อนเวลานอนให้เป็นนิสัย

4. หาเทคโนโลยีช่วยแก้นอนกรน

สำหรับใครที่ใจร้อนอยากจะหาตัวช่วยในการแก้ไขปัญหานอนกรน ในปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมต่างๆ ที่ช่วยทำให้อาการนอนกรนทุเลาลงได้จากการปรับสภาพอากาศ ปรับวิธีการหายใจ และบางเครื่องมือยังช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนที่เป็นผลเสียกับร่างกายได้ด้วย

เช่น การเปิดเครื่องช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อแก้ปัญหาอากาศแห้งซึ่งเป็นสาเหตุของการตีบแคบลงของทางเดินหายใจ การใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น เป็นต้น

5. เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แต่ถ้าคุณมีอาการกรนที่อยู่ในขั้นอันตราย เช่น มีอาการหยุดหายใจในขณะที่นอนหลับร่วมด้วย ขอแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของอาการนอนกรนว่าจริงๆ แล้วมีที่มาจากโรคอื่นๆ หรือเป็นเพราะพฤติกรรมที่คุณทำในชีวิตประจำวันกันแน่

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สามีกรน

บ้านไหนสามีกรนดัง ต้องนี่เลย! น้ำผักผลไม้ ขจัดเสียงกรน

https://www.sanook.com/women/146413/

 

 

บทความโดย

Tulya