ภาพ อิริยาบถสุดน่ารัก ของสัตว์เลี้ยงขณะให้นมลูก
เมื่อเว็บไซต์ดังอย่าง Bored Panda รวบรวมเอาภาพ อิริยาบถสุดน่ารัก ของเหล่าสัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์ ให้นม ไม่ว่าจะเป็นน้องหมาหรือน้องแมวที่กำลังให้นมลูก มาให้สมาชิกแฟนเพจได้ดู งานนี้จะน่ารัก และขำขนาดไหน บอกเลยต้องดู เพราะพวกเขานั้น สีหน้ามาเต็ม
น้องหมาตัวนี้มีชื่อว่า โซอี้ ลองดูตาเธอเสียก่อน … เหมือนจะบ่งบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการเป็นคุณแม่มือใหม่
เบื้องหลังความสุขของชีวิตแม่แมว บอกคำเดียวงานนี้ “หมดแรง”
น่าร๊ากกก ดูดีมีระเบียบเรียบร้อย
แม่จ๋า แม่จ๋า แม่จ๋า … ไม่ใช่แต่มนุษย์เท่านั้นนะ ที่เอะอะอะไรก็เรียกแต่แม่ ลูกแมวเหมียวพวกนี้ก็ด้วยเหมือนกัน
เอ่อ … อย่าแย่งกัน ๆ ได้กินทุกตัว
อิ่มแล้วก็นอน … นอนตรงนี้แล้วแม่จะลุกยังไงละลูก
ดูสายตาของแม่แมวสิ คงอยากที่จะรู้ว่า อีกนานไหมกว่าลูก ๆ จะอิ่ม
เอาให้เต็มที่ … ไม่ต้องห่วงท่าทางของแม่
สัตว์ ให้นม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ อย่างชัดเจน มีลักษณะทั่วไปคือ ตลอดทั่วทั้งลำตัวมีขนปกคลุม(hair) บางชนิดอาจวิวัฒนาการร่างกายให้มีจำนวนเส้นขนลดน้อยลง มีผิวหนังที่ปกคลุมทั้งร่างกาย มีต่อมเหงื่อ(sweat glands) ต่อมกลิ่น (scent glands) ต่อมน้ำมัน (sebaceous glands) และต่อมน้ำนม (mammary glands) มีฟันที่แข็งแรงสำหรับล่าเหยื่อและบดเคี้ยวอาหารจำนวน 2 ชุด (diphyodont) ทั้งบริเวณขากรรไกรด้านบนและขากรรไกรด้านล่าง มีฟันชุดแรกคือฟันน้ำนม (milk teeth) ที่จะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ (permanent teeth) มีเปลือกตาที่สามารถเคลื่อไหวได้ นัยน์ตา 2 ข้างสามารถกลอกไปมาเพื่อใช้สำหรับมองเห็นและป้องกันตัวเองจากศัตรู รวมทั้งมีใบหูที่อ่อนนุ่ม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด มีการวิวัฒนาการด้วยการปรับเปลี่ยนรยางค์ทั้ง 2 คู่ ให้เป็นไปตามแบบของแต่ละสายพันธุ์หรือในการดำรงชีวิต เช่น วาฬที่แต่เดิมจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยบนบก แต่มีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยการลดรยางค์จากเดิมที่เป็นขาคู่หน้า ให้กลายเป็นครีบ เพื่อสำหรับอาศัยในท้องทะเล จากหลักฐานโครงกระดูกของวาฬ เมื่อทำการเปรียบเทียบลักษณะของกระดูกบริเวณครีบหน้า จะเห็นว่ามีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงด้วยการลดรยางค์คู่หน้า จากเท้าหน้าให้กลายเป็นครีบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิดอาจลดรยางค์ลงหรือหายไปเลยก็มี ทั้งนี้ก็เพื่อการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ และสำหรับการดำรงชีวิต
สามารถหายใจได้ด้วยปอดและมีกล่องเสียงสำหรับขู่คำราม เช่น แมว เสือ สิงโต เป็นต้น มีกระบังลม (diaphragm) มีลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเนื้อทำหน้าที่กั้นระหว่างช่องอกและช่องท้องมีระบบขับถ่ายที่ประกอบไปด้วยไตแบบเมทาเนฟรอส (metanephros) และมีท่อปัสสาวะ (ureter) ที่ทำหน้าที่เปิดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) และมีสมองที่มีการเจริญอย่างดีเยี่ยม
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของลักษณะทั่วไปของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือ การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ แม้สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้พลังงานความร้อนที่เกิดจากเมทาโบลิซึมภายในร่างกาย (endothemic) หรืออาจจะกล่าวได้ในอีกในอีกทางหนึ่งที่ว่า อุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม (homeothemic) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสัตว์เลือดอุ่น (warm-blooded)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีเพศที่แบ่งแยกชัดเจน ทำให้สามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย(dioeceous) สืบพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมีย ตัวอ่อนภายในท้องจะมีสายรกสำหรับยึดเกาะ (placental attachment) และเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูก มีเยื่อห่อหุ้มตัวอ่อน (fetal membrane) และมีน้ำนมจากต่อมน้ำนม เพื่อสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกาย เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนาการสูงสุด จึงเรียกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพราะว่าในเพศเมียจะมีต่อมน้ำนมเพื่อผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน เราสามารถแบ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตามลักษณะของการออกลูกและเลี้ยงลูกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ออกลูกเป็นไข่ พวกนี้จะวางไข่เหมือนสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีเปลือกแข็งหุ้ม พบว่ามีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด ซึ่งเป็นสัตว์พบเฉพาะออสเตรเลีย และนิวกินีเท่านั้นภายหลังตัวอ่อนออกจากไข่ แล้วกินนมจากแม่เพื่อเจริญเติบโตต่อไป
2. กลุ่มที่มีถุงหรือกระเป๋าบริเวณหน้าท้อง พวกนี้จะมีถุงบริเวณ หน้าท้องไว้สำหรับเลี้ยงดูตัวอ่อนซึ่งมีขนาดเ ล็กมากเพราะมดลูกของสัตว์กลุ่มยังไม่พัฒนาดีนัก จึงให้ลูกเจริญเติบโต ภายในมดลูกได้เพียงระยะสั้นๆ แล้วต้องให้ตัวอ่อนมาเจริญอยู่ภายในถุงบริเวณหน้าท้อง ได้แก่ จิงโจ้หมีโคอะม่า และวัลลาบี ( คล้ายจิงโจ้แต่มีขนาดเล็กกว่า ) ซึ่งพบเฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น
3. กลุ่มที่มีรก พวกนี้จะมีมดลูกที่พัฒนาดี โดยมีการสร้างรกเชื่อมระหว่างถุงหุ้มตัวอ่อนกับผนังมดลูกของแม่ ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างแม่กับตัวอ่อนรวมทั้งอาหารต่างๆ จากแม่ก็จะถูกส่งไปยังตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในมดลูก โดยผ่านทางรก ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในมดลูกของแม่จนสมบูรณ์เต็มที่ จึงคลอดออกมาและดูดกินนมจากแม่อีกระยะหนึ่งจนโตพอที่จะดำรงชีวิตได้เอง ได้แก่ คน ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว หมู เสือ สิงโต หมี
ลักษณะที่สำคัญ มีขนลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ปกคลุมลำตัว ตัวเมียมีต่อมผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีหัวใจ 4 ห้อง มีแขน ขา ไม่เกิน 2 คู่ ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นบางชนิดออกเป็นไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด บางชนิดยังอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬปลาโลมา ปลาพะยูน บางชนิดบินได้ เช่น ค้างคาว การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยมีการปฏิสนธิภายในร่างกายตัวเมีย ส่วนตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกของแม่จนคลอดออกมาเป็นตัว ยกเว้นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัว เพราะสัตว์พวกนี้ไม่มีมดลูก และพวกที่มีมดลูกไม่พัฒนาดีนักพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น เสือ กระรอก สิงโต สุนัข ลิง แมว
ที่มา: boredpanda.com , instagram.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
11 ภาพ จิก มันส์ ฮา สาเหตุที่ภรรยาเบื่อสามี
เมื่อเบบี๋อยากทำสวย ภาพน่ารักใจละลายแบบนี้จึงมีให้เห็น