แจกฟรี! คัดลายมือน่ารัก ๆ พร้อมรูปภาพสวย ๆ เด็ก ๆ จะต้องชอบ การที่เราสอนเด็ก ๆ คัดลายมือในแต่ละครั้ง เรื่องของขนาดและฟ้อนต์ตัวหนังสือก็เป็นอะไรที่เราควรใส่ใจและให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน วันนี้แอดเลยนำลายมือน่ารัก ๆ มาให้เด็ก ๆ ได้ลองคัดลายมือตามกันสักหน่อย บอกเลยว่าถ้าเขาได้ลองทำจะต้องชอบและไม่แน่เขาอาจจะเป็นเด็กที่คัดลายมือสวยขึ้นมาเลยก็ได้ ส่วนจะน่าสนใจขนาดไหนนั้น เรามาชวนเด็ก ๆ คัดลายมือน่ารัก ๆ ไปพร้อมกันเลยดีกว่า
วิธีการสอนลูกคัดลายมือในแต่ละช่วงวัยทำอย่างไร?
หากคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะสอนให้เด็ก ๆ ได้ลองฝึกคัดลายมือ แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มยังไงดี ก่อนอื่นต้องบอกว่าด้วยความที่เด็ก ๆ ในแต่ละช่วงวัย อาจจะมีพัฒนาการที่ค่อนข้างแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะมีวิธีในการสอนที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน เอาเป็นว่าไม่ต้องห่วงเลย เพราะวันนี้เราได้นำเทคนิคการสอนลูกเขียนหนังสือ หรือสอนลูกคัดลายมือมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนแล้ว ส่วนจะต้องทำยังไงบ้าง มาดูกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกฟรี!! แฟลชการ์ด แบบฝึกหัดมาตรา ตัวสะกด แม่ ก กา ดาวน์โหลดเลย
1. เด็กอายุ 1 – 2 ขวบ
เมื่อลูกของเราอยู่ในช่วง 1 – 2 ขวบ แน่นอนว่าเด็ก ๆ ก็อาจจะเริ่มฝึกคัดลายมือเป็นครั้งแรก เพราะฉะนั้นการเขียนของเขาก็อาจจะไม่ได้ตรงเส้นประสักเท่าไหร่ และอย่างที่รู้กันว่าเด็ก ๆ เขาก็อาจจะยังจับดินสอไม่ค่อยถนัด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเลือกดินสอที่ค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยมหน่อยๆ เพื่อที่เวลาเด็ก ๆ เขียนเขาจะได้ไม่รู้สึกลื่นมือ หรือเขียนยากนั่นเอง
2. เด็กอายุ 2 – 3 ขวบ
เมื่อลูกของเราเริ่มเข้าสู่ช่วงวัย 2 – 3 ขวบ แน่นอนว่าหากเขาได้มีการจับดินสอบ่อย ๆ เขาก็อาจจะมีทักษะในการเขียนที่ค่อนข้างแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งการจับดินสอของเขาก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ในขณะเดียวกันเด็กที่อยู่ในช่วงอายุประมาณนี้ก็อาจจะยังไม่ได้คัดลายมือเป็นตัวอักษรได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะบังคับลูกให้เขียนขนาดนั้น อาจจะให้เขาใช้จินตนาการในการเขียนเป็นรูปต่าง ๆ จะดีกว่า
3. เด็กอายุ 3 – 4 ขวบ
เมื่อลูกของเราเริ่มโตขึ้น เด็ก ๆ เขาก็จะชินกับการจับดินสอเพิ่มมากขึ้น การจับดินสอก็จะเริ่มคล้ายผู้ใหญ่ รวมถึงกล้ามเนื้อมือของเด็ก ๆ ก็จะมีการแยกส่วนได้ เริ่มที่จะมีการควบคุมการหมุนได้ เพราะฉะนั้นการคัดลายมือของเขาก็จะมีการเขียนตรงกับเส้นประตามไปด้วยเช่นกัน เอาเป็นว่าหากคุณพ่อคุณแม่อยากที่จะฝึกให้เด็ก ๆ คัดลายมือสวยและน่ารักตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็อาจจะนำแบบฝึกหัดคัดลายมือต่าง ๆ มาให้เด็ก ๆ ได้ลองเขียนจะดีที่สุด
4. เด็กอายุ 4 – 6 ขวบ
มาถึงช่วงอายุที่ลูกของเราเริ่มเข้าโรงเรียน แน่นอนว่าเมื่อลูกของเราโตขึ้น เขาก็จะได้ลองเขียนและคัดลายมือตามเส้นประเพิ่มมากขึ้น การจับดินสอหรือการใช้ทักษะในการเขียนก็อาจจะดูแม่นยำกว่าช่วงที่ยังเป็นเด็ก เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่อยากฝึกให้เขาเริ่มเขียนชื่อตัวเอง หรืออยากฝึกให้เขาเขียนเป็นคำสั้น ๆ ได้ เราก็อาจจะฝึกให้เขาได้ลองอ่าน ลองเขียนได้เลย ยิ่งถ้าใครสอนให้ลูกคัดลายมือตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วล่ะก็ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องยากแน่นอน
ฝึกลูกเขียนหนังสือครั้งแรกแบบง่าย ๆ
คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกังวลว่าเราควรฝึกให้ลูกเขียนหนังสือ หรือคัดลายมือครั้งแรกอย่างไรดี เพื่อที่เขาจะได้เขียนได้และตรงกับเส้นประมากที่สุด วันนี้เราได้นำเคล็ดลับการเขียนมาฝากทุกคนแล้ว ส่วนขั้นตอนการสอนเด็ก ๆ จะยากไหม และมีขั้นตอนอะไรบ้าง มาฝึกเด็ก ๆ ไปพร้อมกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกฟรี! แบบฝึกหัด คัดลายมือภาษาจีน คำศัพท์สำหรับเด็ก 40 คำ
1. การสอนลูกจับดินสอ
ก่อนที่เราจะสอนเด็ก ๆ ให้เขียนหนังสือได้ เรื่องของการจับดินสอก็เป็นอะไรที่สำคัญและเราควรใส่ใจ อย่างแรกเราอาจจะให้เด็ก ๆ เอียงปลายดินสอ พร้อมกับให้ดินสออยู่บริเวณปลายนิ้วกลาง จากนั้นใช้นิ้วก็ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับ และในขณะเดียวกันไม่ควรที่จะเกร็งนิ้ว และให้นิ้วอื่น ๆ งอเข้าหาฝ่ามือนั่นเอง
2. การฝึกวางสมุด
สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็ก ๆ คัดลายมือได้ง่ายขึ้นนั่นเอง การวางสมุดให้ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งการที่เราจะวางสมุดให้เด็ก ๆ เขียนงานได้ง่ายขึ้น อาจจะต้องวางสมุดในลักษณะตรง แต่เอียงแขนเล็กน้อยเพื่อเด็ก ๆ จะได้เขียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกันหากเราวางตำแหน่งสมุดให้ลูกไม่เหมาะสม สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกไม่ถนัดในการเขียน หรือบางคนก็อาจจะเขียนลำบากขึ้นมาได้เลย เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะฝึกให้เด็ก ๆ คัดลายมือได้อย่างสวยงาม การวางตำแหน่งสมุดจึงเป็นอะไรที่สำคัญเช่นกัน
3. ท่านั่งเขียนหนังสือ
สิ่งสำคัญอีกข้อคือเรื่องท่านั่งในการเขียนก็เป็นอะไรที่เราต้องใส่ใจเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่กำลังฝึกให้เด็ก ๆ หัดเขียนหรือคัดลายมือในครั้งแรก เราก็อาจจะให้ลูกนั่งในท่าที่ถนัดและเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งอาจจะให้เขานั่งตัวตรง หรือสามารถมอบเขียนได้ และที่สำคัญอาจจะต้องให้สมุดห่างจากสายตาลูกประมาณ 1 ฟุตจะดีมาก ๆ และถือเป็นการถนอมสายตาที่ดีให้กับลูก ๆ อีกด้วย
4. ฝึกเขียนหัวพยัญชนะก่อน
มาต่อกันอีกข้อ สำหรับการคัดลายมือโดยส่วนใหญ่หากใครที่อยากจะเขียนคำต่าง ๆ ให้ดูง่ายและถูกต้องมากขึ้น เราก็มักจะต้องเขียนหัวพยัญชนะของตัวอักษรก่อนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นทุกครั้งของการฝึกให้เด็ก ๆ ได้เขียนอักษรหรือตัวพยัญชนะต่าง ๆ เราจะต้องฝึกให้เด็ก ๆ เริ่มเขียนที่หัวของพยัญชนะกันก่อน เพราะสิ่งนี้จะช่วยฝึกให้เด็ก ๆ เขียนตัวหนังสือได้ถูกต้องตามหลักของภาษาไทยตามไปด้วย
5. ฝึกการเขียนวางสระ วรรณยุกต์ให้สัมพันธ์กัน
อีกหนึ่งข้อที่เราควรสอนเด็ก ๆ และไม่ควรมองข้ามรายละเอียดเหล่านี้ เอาเป็นว่านอกจากเราจะสอนให้ลูกของเราฝึกเขียนพยัญชนะให้ถูกต้องแล้ว เรื่องของการวางสระและวรรณยุกต์ก็เป็นอะไรที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเราสอนให้ลูก ๆ ได้ฝึกคัดลายมือ หรือเขียนคำต่าง ๆ เราอาจจะต้องดูกับลูกด้วยว่าคำที่เขาเขียนนั้น มีการวางสระหรือวรรณยุกต์ที่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะหากเขามีการวางคำที่ผิด สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาจำคำศัพท์ที่ผิดตามไปด้วย ดังนั้นควรต้องระวังนะคะ
แจกแบบฝึกหัดฟรี! คัดลายมือน่ารัก ๆ พร้อมรูปภาพระบายสี
- แบบฝึกหัดลายเส้นรูปบ้านน่ารัก ๆ
- แบบฝึกหัดลายเส้นรูปดวงอาทิตย์น่ารัก ๆ
- แบบฝึกหัดลายเส้นรูปสายรุ้งน่ารัก ๆ
- แบบฝึกหัดลายเส้นรูปขนมปังน่ารัก ๆ
- แบบฝึกหัดลายเส้นรูปดาวน่ารัก ๆ
- แบบฝึกหัดลายเส้นรูปหัวใจน่ารัก ๆ
เคล็ดลับการเขียนพยัญชนะแบบง่าย ๆ
สำหรับใครที่กำลังมองหาเทคนิคในการฝึกให้ลูกคัดลายมือด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำตามได้ไม่ยาก หมดห่วงได้เลยเพราะปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากเราทำตามสิ่งเหล่านี้ ส่วนจะต้องทำยังไงเพื่อที่ลูกของเราจะได้คัดลายมือได้ง่ายมากขึ้น มาฝึกเด็ก ๆ ไปคัดลายมือกันต่อเลยดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจก! แบบฝึกหัดจับคู่ ภาษาอังกฤษ สำหรับเด็ก โยงเส้นจับคู่คำศัพท์
1. ใช้รูปแบบตัวอักษรที่เขียนง่าย
การคัดลายมือในแต่ละครั้ง หากเราอยากฝึกให้เด็ก ๆ ได้ลองเขียนหนังสือหรือพยัญชนะต่าง ๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น การที่เรานำตัวอักษรมาให้ลูกได้ฝึกคัดลายมือ หรือฝึกเขียนก็เป็นอะไรที่เราต้องให้ความสำคัญไม่น้อย เมื่อไหร่ที่เรานำตัวอักษรที่ดูง่ายและเขียนตามได้ไม่ยาก สิ่งนี้ก็จะทำให้เด็ก ๆ มีการคัดลายมือที่สวยขึ้นตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกันหากเราเลือกตัวอักษรที่ค่อนข้างซับซ้อน และดูเข้าใจยาก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ ไม่ยากคัดลายมือได้เลย ดังนั้นการเลือกฟอนต์ตัวอักษรจึงเป็นอะไรที่สำคัญ
2. ทำตารางหรือทำช่องคัดลายมือ
อีกหนึ่งข้อที่เรียกได้ว่าเป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้การคัดลายมือของเด็ก ๆ ดูง่ายขึ้นมานั่นคือการทำตาราง หรือช่องคัดลายมือให้กับเด็ก ๆ แน่นอนว่าในสมุดการคัดลายมืออาจจะมีเส้นประให้เด็ก ๆ ได้ลองเขียน แต่ด้วยความที่เขาอาจจะยังไม่สามารถบังคับข้อมือหรือยังไม่สามารถบังคับการหมุนข้อมือของตัวเองได้สักเท่าไหร่ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ คัดลายมือตัวใหญ่หรือตัวเล็กกว่าที่กำหนดได้ เพราะฉะนั้นการที่เราทำตารางหรือทำช่องสำหรับคัดลายมือ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยทำให้ลูกของเราคัดลายมือได้เร็ว อีกทั้งยังเป็นเด็กที่คัดลายมือสวยขึ้นมาด้วยนะ
บางครั้งการที่ลูกของเราปิดเทอม หรือหยุดอยู่บ้านเฉย ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเบื่อขึ้นมาได้ หากคุณพ่อคุณแม่อยากที่จะเปลี่ยนช่วงเวลาเหล่านี้ ให้เป็นช่วงเวลาที่ดีและเป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ๆ มากยิ่งขึ้น อย่าลืมเข้ามาโหลดเอกสารคัดลายมือสวย ๆ ให้เด็ก ๆ ได้ลองทำกันนะคะ เชื่อว่าเขาจะต้องมาก ๆ เลยแหละ
บทความที่น่าสนใจ :
แจกฟรี แบบฝึกหัด เขียนตามรอยประ 0-9 เลขอารบิก เลขไทย แบบฝึกหัดเตรียมอนุบาล
แบบฝึกหัดมาตราตัวสะกด แม่กม แบบฝึกหัดคัดคำโรงเรียนประถม
แม่กก แบบฝึกหัดคัดคำโรงเรียนประถม แบบฝึกหัดมาตราตัวสะกด
ที่มา : gotoknow, cottonbaby