5 วิธีรับมือ คนท้องเป็นตะคริวบ่อย ช่วงกลางคืน ให้นอนสบายขึ้น

lead image

คนท้องเป็นตะคริว พบมากที่ขา น่องและท้อง จนต้องตื่นกลางดึก เรามี 5 วิธีรับมือคนท้องเป็นตะคริวบ่อย ให้แม่ท้องนอนหลับสบายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องเป็นตะคริวบ่อย คืออาการที่เกิดขึ้นได้กับว่าที่คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ถึงปลายไตรมาสที่ 3 ค่ะ อาการเกร็งและปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นอาจทำให้ไม่สบายตัว นอนไม่หลับ ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและใจ อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจสาเหตุและวิธีดูแลที่ถูกต้อง ก็สามารถบรรเทาอาการและป้องกัน คนท้องเป็นตะคริว เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สบายขึ้นและมีความสุขมากขึ้นได้ 

 

สารบัญ

คนท้องเป็นตะคริวบ่อย มีสาเหตุจากอะไรบ้าง 

ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจเริ่มเป็นตะคริวที่น่อง ขา และเท้า ทำให้ตกใจตื่นกลางดึกบ่อยๆ จะว่าไปแล้วอาการคนท้องเป็นตะคริวนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ และมักหายได้เองในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่ส่งผลต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยสาเหตุคนท้องเป็นตะคริว ที่พบบ่อย ได้แก่ 

  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

เมื่อลูกน้อยในครรภ์เติบโตขึ้น มดลูกที่ขยายตัวอาจไปกดทับหลอดเลือดและเส้นประสาทบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณขาและน่องเกิดตะคริวได้ง่าย

  • เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

การนั่งหรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน รวมถึงมดลูกที่ขยายไปกดทับเส้นเลือด อาจทำให้กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนจนเกิดตะคริว

  • ภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของเกลือแร่

ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการแคลเซียมและแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปพัฒนากระดูกและฟันของทารก หากคุณแม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ อาจทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งจนเกิดตะคริวได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กล้ามเนื้อฝืดและไม่ยืดหยุ่น

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่วมกับน้ำหนักตัวคนท้องที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้กล้ามเนื้อล้าและสูญเสียความยืดหยุ่น จนทำให้คนท้องเป็นตะคริวได้

  • การคั่งของของเหลว (Edema)

คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีอาการบวมน้ำบริเวณขา ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวง่ายขึ้น

  • ภาวะอื่น ๆ

เช่น การสะสมของกรดแลคติกในกล้ามเนื้อ ความเหนื่อยล้า หรือภาวะขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) ก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนท้องเป็นตะคริวได้

 


คนท้องเป็นตะคริว อาการและวิธีบรรเทา

อาการตะคริวในคนท้องอาจเกิดขึ้นในบริเวณต่างๆ เช่น

  • ตะคริวที่น่องและเท้า มักเกิดขึ้นตอนกลางคืนหรือขณะเปลี่ยนท่านั่ง เดิน หรือไอ
  • ตะคริวที่ต้นขา อาจเกิดจากการยืนนาน ๆ หรือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว
  • ตะคริวที่ท้อง เกิดจากมดลูกที่ขยายตัว หรืออาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อน

อาการตะคริวมักเริ่มจากความรู้สึกตึงหรือเกร็งของกล้ามเนื้อ และอาจรุนแรงจนทำให้เจ็บปวดได้ แม้ว่าตะคริวจะเป็นภาวะปกติของการตั้งครรภ์ แต่หากมีอาการรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีดูแลที่เหมาะสม 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คนท้องเป็นตะคริวบ่อย แค่ไหนไม่ปกติ

ตะคริวในคนท้องเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากคนท้องเป็นตะคริว ที่ท้องบ่อยๆ ร่วมกับอาการอื่น เช่น ปวดท้องมาก เลือดออก หรือเวียนศีรษะ อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือการคลอดก่อนกำหนด ควรรีบพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสม 

ปกติแล้วตะคริวจะหายได้เองภายในเวลาไม่นาน แต่หากไม่หายไปเอง อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติอื่น เช่น เส้นเลือดขอด และลิ่มเลือดอุดตันจากแรงกดทับที่หลอดเลือดดำบริเวณขา หากรู้สึกว่าตนเองมีอาการตะคริวครั้งละนานๆ ไม่ค่อยหาย จึงควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา ก่อนส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

 

คนท้องเป็นตะคริวบ่อย แก้ยังไง

คนท้องมักเป็นตะคริวที่น่อง ขา และท้อง ซึ่งแต่ละบริเวณก็มีวิธีรับมือต่างกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • คนท้องเป็นตะคริวที่น่อง เมื่อมีอาการ ให้พยายามเหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวให้สุด อาจให้สามี หรือคนใกล้ตัว ช่วยใช้มือประคองส้นเท้าข้างที่เป็นแล้วดันปลายเท้าขึ้นลงช้าๆ และนวดที่น่องเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
    หากอยู่คนเดียวขณะเป็นตะคริว หลังจากเหยียดขาออกไปให้ตรงแล้ว กระดกปลายเท้าขึ้นค้างไว้ประมาณ 20–30 วินาทีโดยไม่เกร็งนิ้วเท้า เพราะจะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและรู้สึกเจ็บมากขึ้น อาการตะคริวจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
  • คนท้องเป็นตะคริวที่ท้อง ไม่ควรนวดที่ท้องโดยตรง คุณแม่ตั้งครรภ์อาจค่อยๆ ขยับเปลี่ยนอิริยาบถในท่าที่สบายขึ้น พร้อมหายใจเข้าออกช้าๆ หากไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ 


ทำไม คนท้องเป็นตะคริวบ่อย ช่วงกลางดึก

เรามักพบว่าคนท้องเป็นตะคริวช่วงกลางดึกบ่อยๆ ส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุที่คนท้องมักเป็นตะคริวในช่วงกลางคืน หรือใกล้เช้า เพราะเวลาดังกล่าวมีอากาศค่อนข้างเย็น และมีเลือดคั่งบริเวณน่องมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและเป็นตะคริว
ในกรณีที่เป็นตะคริวกลางดึกบ่อยๆ แนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่น หรือนวดขาเบาๆ ก่อนนอน รวมทั้งใส่ถุงเท้าเพื่อให้ขาอบอุ่น ลดอาการตะคริวที่เกิดจากอากาศเย็น นอกจากนี้ การเปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคงข้างซ้าย ก็จะข่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดโอกาสเกิดตะคริวในเวลานอน 

 

 

ตะคริวคนท้อง ป้องกันได้ใน 5 วิธี

ตะคริวขณะตั้งครรภ์อาจเป็นอาการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถลดความถี่และความรุนแรงลงได้ หากคุณแม่ดูแลร่างกายอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการออกกำลังกายเบาๆ ต่อไปนี้เป็นวิธีที่อาจช่วยป้องกันคนท้องเป็นตะคริวได้ไม่มากก็น้อยค่ะ

  1. ยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ

    การยืดกล้ามเนื้อช่วยลดอาการตะคริวและป้องกันการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่องและเท้า คุณแม่สามารถนั่งเหยียดขาตรง กระดกปลายเท้าขึ้นค้างไว้ 20–30 วินาที และทำสลับกันเป็นประจำ นอกจากนี้ การบริหารร่างกายก่อนนอน เช่น ยืนยืดขากับกำแพง ดันสะโพกไปด้านหน้า และหายใจเข้าลึก ๆ ค้างไว้ 30 วินาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดโอกาสเกิดตะคริว

  2. ขยับร่างกายและเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

    การนั่งหรือยืนนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและเกิดตะคริวได้ง่าย คุณแม่จึงควรลุกเดินทุก 1–2 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน โยคะ หรือว่ายน้ำ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ

  3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

    ภาวะขาดน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนท้องเป็นตะคริว คุณแม่จึงควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 6–8 แก้ว (แก้วละ 240 มิลลิลิตร) เพื่อช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ลำเลียงสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด และกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น

  4. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและแมกนีเซียม

    แคลเซียมและแมกนีเซียมมีส่วนช่วยลดอาการตะคริว และยังช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ อาหารที่อุดมแคลเซียม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย และเต้าหู้ ส่วนแมกนีเซียมพบมากในถั่ว ธัญพืช และผักใบเขียว

  5. เลือกสวมรองเท้าและถุงน่องให้เหมาะสม

    การสวมถุงน่องซัพพอร์ตช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการบวมและป้องกันตะคริว ลดเส้นเลือดขอด แม่ท้องควรเลือกรองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับหรือหลวมเกินไป รองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ หลีกเลี่ยงรองเท้าที่ไม่มีสายรัดด้านหลัง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสะดุดล้ม

สุดท้ายแล้วการดูแลร่างกายอย่างเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดโอกาสแม่ท้องเป็นตะคริว และทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกสบายตัว นอนหลับได้ดีขึ้น พร้อมดูแลลูกน้อยในครรภ์อย่างมีความสุขค่ะ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: โรงพยาบาลบางปะกอก, Pobpad   

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team