หลายคน เฝ้ารอคอยการช่วยเหลือเยียวยาจากทางภาครัฐ เพราะดสถานการณ์โควิด-19 นั้น ยาวนานกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ทำให้หลายคนต่างใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก การได้รับการเยียวยาจากทางภาครัฐนั้น ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง แม้จะไม่ได้มากมาย แต่ก็ทำให้ช่วยให้เรื่องของค่าครองชีพได้บ้าง โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมาทาง ครม. เคาะอนุมัติ 4 โครงการเยียวยาโควิด ให้ประชาชนได้ใจชื้น
ภายใต้โครงการที่ทาง ครม. เคาะอนุมัติ 4 โครงการเยียวยาโควิด จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขคือ ประชาชนจำเป็นจะต้องเลือกเพียงมาตรการเดียว ที่คิดว่าตอบสนองการใช้จ่าย และการดำรงชีวิตของตนเองได้มากที่สุด
4 โครงการเยียวยาโควิด
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้ทางกระทรวงการคลัง ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 โดยมีด้วยกัน 4 โครงการ และจะสามารถครอบคลุมการช่วยเหลือประชาชนได้ถึง 51 ล้านคน โดยประมาณ โดยทั้ง 4 โครงการมีดังนี้
1. โครงการเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (สำหรับผู้ที่มีบัตรฯอยู่แล้ว)
โดยทางภาครัฐจะเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นระยะที่ 3 โดยปัจจุบัน มีผู้ถือบัตรฯ อยู่ประมาณ 13.65 ล้านคน โดยจะช่วยเหลือเกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) และสินค้าและบริการร้านที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง โดยจะจ่ายให้จำนวน 200 บาท ต่อคน ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
แต่ถ้าหากผู้ถือบัตร ประสงค์จะใช้สิทธิ์ในโครงการอื่น เช่น คนละครึ่ง หรือ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้แทน จำต้องสละสิทธิ์การเป็นผู้มีบัตรฯ โดยจะต้องนำบัตรฯ ไปคืนที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 แล้วจึงจะสามารถไปลงทะเบียนกับโครงการอื่นได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
2. โครงการเติมเงินให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
โครงการนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียน หรือใช้แอป “เป๋าตัง” ใช้จ่ายได้) หรือที่เรียกว่า “กลุ่มเปราะบาง” โดยมีจำนวนประชากรที่อยู่ในกลุ่มนี้ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยจะมีการเติมเงินเข้าให้ 200 บาท ต่อคน ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
ทั้งนี้ หากผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ ประสงค์จะรับสิทธิ์จากโครงการอื่น จะต้องทำการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ภายในวันที่ 28 มิ.ย. 2564 และจะถือเป็นการสละสิทธิ์โครงการปัจจุบัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ โครงการช้อปดีมีคืน เช็คให้พร้อมก่อนยื่น ลดหย่อนภาษี
3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 (Co-Pay)
โครงการนี้ จะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการไม่เกิน 31 ล้านคน จะได้รับสิทธิ์จากภาครัฐด้วยการจ่ายคนละครึ่งกับทางภาครัฐ ไม่เกิน 150 บาทต่อคน ต่อวัน รวมเป็นเงินจำนวน 3,000 บาท และจะทำการแบ่งจ่ายเงินเป็นช่วยเดือน กรกฎาคม – กันยายน จำนวน 1,500 บาท และ ตุลาคม – ธันวาคม จำนวน 1,500 บาท
ซึ่งเดิมมีผู้ลงทะเบียนอยู่จำนวน 15 ล้านคน และจะเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เพิ่มอีก 16 ล้านคน โดยกำหนดงบประมาณส่วนนี้ที่ 9.3 หมื่นล้านบาท แต่สำหรับโครงการนี้ เดิมที ผู้ที่มีสิทธิ์อยู่แล้วจะได้รับการอนุมัติผ่านโดนอัตโนมัติ แต่มาในครั้งนี้ จำเป็นจะต้องทำการลงทะเบียนใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิ์ โดยกำหนดการลงเบียนในวันที่ 14 มิ.ย. 64 จนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
เป็นโครงการเพื่อกระตุ้นผู้ที่มีกำลังซื้อ โดยจะมีกลุ่มเป้าหมายที่ 4 ล้านคน และเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) โดยทางภาครัฐจะสนับสนุนในรูปแบบของ e-Voucher ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน และจะสามารถใช้จ่ายได้ในเดือน สิงหาคม – ธันวาคม 2564 โดยจะจ่ายเป็นเงินคืนในอัตรา 10 – 15% สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน
โดยวิธีใช้จ่ายในโครงการนี้ ทำได้ด้วยการนำเงินเข้าในวอลเลตบนแอป “เป๋าตัง” เมื่อใช้จ่ายแล้ว ก็จะได้รับเป็น e-Voucher คืน ทุก ๆ ต้นเดือนของเดือนถัดไป หลังมีค่าใช้จ่าย วงเงินสิทธิ์ที่ได้รับ จะเข้ามาในวอลเลต “เป๋าตัง” ดังนั้นเงินจำนวนที่คืนนั้น ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้
โดยโครงการนี้ จะเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็ปไซต์ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com จึงจะมีการเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้
ที่มา : posttoday
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รวมพิกัด 155 ร้าน บุฟเฟ่ต์รับทุกโครงการ คนละครึ่ง เราชนะ ม.33 อร่อยจัดเต็ม
ยิ่งใช้ยิ่งได้ รัฐบาลแจก E-Voucher ให้ประชาชนใช้จ่ายสูงสุด 7,000 บาท
ม.33 เรารักกัน ใช้ซื้อสินค้า จ่ายค่าบริการ ได้ที่ไหนบ้าง