อ่านกันให้ชัด ๆ ทำไม อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ถึงไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

เรามักจะได้ยินกันเสมอ เรื่อง อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ว่ามักจะไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ แต่มันเป็นเพราะอะไรกันล่ะ บทความนี้มีคำตอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไม อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) ถึงไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่

จากหลักฐาน ตามสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ในจีน แสดงให้เห็นว่า อาการ เด็กติดโควิด (COVID-19) มักจะมีอาการไม่รุนแรง เท่ากับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ทำไมไวรัสถึงส่งผลกระทบต่อเด็ก ต่างกันกับผู้ใหญ่ล่ะ บทความนี้มีคำตอบ

เด็ก ๆ สามารถติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ได้มั้ย?

แน่นอนค่ะ เด็ก ๆ เองก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ได้เหมือนกันคนอื่น ๆ แต่จากสถิติทั้งหลายแล้ว เลยพอจะบอกได้ว่า เด็ก ๆ จะมีภูมิต้านทานที่ดีกว่าผู้สูงอายุ ดังนั้นก็เลยไม่น่าวิตกกังวลเท่ากับเวลาผู้สูงอายุติดเชื้อ

แต่ถึงแม้ว่า เด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีรายงาน เด็กที่เสียชีวิตจากโควิด-19 (COVID-19) มาบ้างเหมือนกันนะ จากสถานการณ์ข้อมูลทั่วโลก มีเด็กหญิงวัย 12 ปี เสียชีวิตที่ประเทศเบลเยียม เด็กชายวัย 13 ปี เสียชีวิตที่ประเทศอังกฤษ แล้วจากข้อมูลในจีน ก็มีเด็กวัย 14 ปี เสียชีวิตจากโควิด-19 (COVID-19) ด้วย

เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเด็ก ต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร?

จากสถิติของจีน เปิดเผยว่า เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) จะแสดงอาการน้อย เด็กจะมีไข้อ่อน ๆ ไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล อาการคล้าย ๆ กับไข้หวัดทั่วไป สอดคล้องกับที่กระทรวงสาธารณะสุขไทย ได้เคยแถลงข่าวไว้ว่า เด็กจะมีอาการไอ เจ็บคอ ผิดกับผู้ใหญ่ ที่มักจะไข้สูงนำมาก่อน

ส่วนผู้ติดเชื้อในเด็กนั้น มีเพียงแค่ 1 ใน 3 ที่จะมีอาการหนักถึงขั้นปวดบวม ไข้สูง และหายใจติดขัด สำหรับเด็กส่วนใหญ่ที่ติด โควิด-19 (COVID-19) ก็สามารถหายใจได้เป็นปกติดี ไม่ได้มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เกรแฮม โรเบิร์ต (Graham Roberts) กุมารแพทย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน (University of Southampton) ได้อธิบายไว้ว่า เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) จะแสดงอาการตรงระบบทางเดินหายใจส่วนบน นั่นก็คือ ปาก จมูก ลำคอ อาการก็เลยเหมือนไข้หวัดธรรมดา ส่วนผู้ใหญ่ จะแสดงอาการตรงระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอด ก็เลยมักมีอาการปอดบวม ปวดอักเสบ หายใจลำบาก

ตามสถิติผู้ป่วยแล้ว เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) แล้วมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) หรือรุนแรงถึงขั้นช็อค มีเพียงแค่ 6% เท่านั้น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเด็กอีก 1% ที่มีเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในตัว แต่ไม่แสดงอาการใดใดก็มี ในขณะที่จากสถิติผู้ป่วยในจีน ที่เป็นผู้ใหญ่ มักจะมีอาการเหล่านี้สูงถึง 19% และผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือเกี่ยวกับโรคหัวใจอยู่แล้ว ก็มักจะอาการหนักกว่าเด็กอีกมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมร่างกายเด็ก ถึงจัดการกับไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ได้ดีกว่าผู้ใหญ่?

เกรแฮม โรเบิร์ต (Graham Roberts) ได้อธิบายไว้ว่า ในร่างกายของเรา ก่อนที่ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกาย จะต้องมีพาหะนำเข้าไป ไม่อย่างนั้น เซลล์เม็ดเลือดขาว จะไม่ยอมให้เชื้อไวรัสเข้าไปได้

ซึ่งเจ้าไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เนี่ย พอเข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะไปจับตัวเข้ากับโปรตีนบนผิวเซลล์ ที่เรียกว่า Angiotensin converting enzyme II (ACE-2) แล้วก็เริ่มแฝงตัวเข้าไปในร่างกายเรา

ประเด็น มันอยู่ที่เจ้า Angiotensin converting enzyme II (ACE-2) เนี่ยแหละ เด็กจะมีตัวรับ ACE-2 ในระบบทางเดินหายใจตอนบน มากกว่าระบบทางเดินหายใจตอนล่าง เด็กก็เลยแสดงอาการผ่านทาง จมููก ปาก หรือลำคอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ต่างจากผู้ใหญ่ ที่มี ACE-2 ในระบบทางเดินหายใจตอนล่างมากกว่า ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เลยแสดงอาการหนักกว่า จนถึงขั้นปอดอักเสบ

ดังนั้นการที่เด็กแสดงอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ไม่ได้หมายความว่า น้องไม่ได้มีเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในตัวหรอกนะคะ แถมยิ่งต้องระวังด้วย เพราะถึงเด็กจะอาการไม่หนัก แต่น้องอาจแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปสู่ผู้ใหญ่ ยิ่งบ้านไหนมีผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ยิ่งต้องระวัง เพราะถ้าหากรับเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) อาการจะน่าเป็นห่วงกว่าเด็ก

เชื้อโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเด็กในวัยต่างกันหรือไม่?

ข้อมูลจากประเทศจีน ชี้ให้เห็นว่า เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ในจีนพบว่า มีทารกอัตราส่วน 1 ใน 10 คน ติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ส่วนเด็กโตขึ้นมาหน่อย 5 ขวบขึ้นไป จะพบเพียง 3-4 คน จาก 100 ที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) และมีอาการป่วยหนัก

อ้างอิงตามสถิติของจีน ระบุว่า ไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี เสีบชีวิตด้วยโรคโควิด-19 (COVID-19) มีเพียงรายเดียว คือเด็กอายุ 14 ปี เท่านั้น

ทารกแรกเกิด สามารถติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ได้หรือไม่?

จากข้อมูลผู้ป่วยโดยรวมทั่วโลก ทารกแรกเกิด สามารถติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ได้เช่นเดียวกับทุก ๆ คน แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ว่าติดเชื้อผ่านแม่มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือว่าติดเชื้อจากการสัมผัส หลังจากแม่คลอดน้องออกมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ถือเป็นอีกสิ่ง ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง เพราะอาจก่อให้เกิดการแท้งลูก การคลอดก่อนกำหนด หรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้ จึงควรดูแลตัวเองให้ปลอดเชื้อ ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังที่สุดค่ะ

ที่มา : bbc

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มาดู ภาพเชื้อโรคบนมือสุดสยอง เหตุผลว่า ทำไมต้องล้างมือ เพราะมันอี๋มาก

อยู่แต่ในบ้าน แต่ก็ติดโควิด ช็อค! อยู่บ้านมา 3 อาทิตย์ แต่ผลตรวจเจอเชื้อโควิด-19

เคล็ดลับเกี่ยวกับ วิธีการซักเสื้อผ้า ของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

PP.