ผลวิจัยของ สวิตเซอร์แลนด์ เผย โควิดทำลายเส้นเลือด ทั่วร่างกาย
จากเดิม เรามักจะได้ยินว่า เชื้อไวรัส โควิด-19 (COVID-19) นั้น มีอันตราย ถ้าลงไวรัสลงปอด จะทำให้ปอดอักเสบ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ล่าสุด เชื้อไวรัสตัวนี้ ได้พัฒนาตัวเอง มันไม่ใช่แค่ปอดอีกต่อไปแล้ว งานวิจัยของสวิตเซอร์แลนด์เผย โควิดทำลายเส้นเลือด ทั่วร่างกายได้ด้วย!
ผลงานวิจัยล่าสุด ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เดอะ แลนเซ็ต (The Lancet) เปิดเผยว่า นักวิจัยใน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ค้นพบเรื่องใหม่ เกี่ยวกับเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) คือเชื้อไวรัสตัวนี้ สามารถตรงเข้าทำลายเส้นเลือด ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำงานล้มเหลวได้
แฟรงก์ รูชิตซ์กา (Frank Ruschitzka) ประธานแผนกโรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริก (University Hospital Zurich) ได้บอกไว้ว่า ไวรัสชนิดนี้ ไม่เพียงแค่ทำลายปอดเท่านั้น แต่ยังทำลายเส้นเลือดทั่วร่างกาย มันจึงเป็นไวรัส ที่อันตรายกว่าแค่ทำให้ปอดบวม
เชื้อไวรัส โควิด-19 (COVID-19) มันจะเข้าสู่ เอนโดธีเลียม (Endothelium) หรือเซลล์บุผนังหลอดเลือด ดังนั้นการป้องกันของคุณเองจึงลดลง และทำให้เกิดปัญหา ในระบบไหลเวียนของเลือด มันจะไปลดการไหลเวียนเลือด เพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในที่สุด ก็จะหยุดไม่ให้เลือดไหลเวียนได้
แฟรงก์ รูชิตซ์กา (Frank Ruschitzka) ยังได้เสริมอีกด้วยว่า จากสิ่งที่เขาพบ ผู้ป่วยมีปัญหาในทุกอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นในหัวใจ ไต ลำไส้ มันไปทุกที่ทั่วร่างกาย สิ่งนี้จึงอธิบายได้ว่า ทำไมผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถือเป็นโรคที่หลอดเลือดไม่ได้แข็งแรงอยู่แล้ว จึงมีความเสี่ยงต่อ โควิด-19 (COVID-19) มากกว่าคนทั่วไป
นอกจากนั้น การศึกษาชิ้นนี้ ยังพบว่า มีองค์ประกอบของไวรัส โควิด-19 (COVID-19) ภายในเซลล์บุผนังหลอดเลือด และมีเซลล์อักเสบในผู้ป่วย โควิด-19 (COVID-19)
ผลวิเคราะห์จากผู้ป่วย แฟรงก์ รูชิตซ์กา (Frank Ruschitzka) ได้ชันสูตรศพผู้ป่วย แล้วพบว่า ผนังหลอดเลือดของพวกเขานั้น เต็มไปด้วยไวรัส โควิด-19 (COVID-19) และการทำงานของเส้นเลือดในอวัยวะทั้งหมดของพวกเขาบกพร่อง
ยกตัวอย่าง จากเคสหนึ่ง คือ ผู้ป่วย โควิด-19 (COVID-19) อายุ 71 ปี ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูง เชื้อไวรัสได้พัฒนาตัวเอง โจมตีระบบอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ และทำให้เขาเสียชีวิตในที่สุด
จากการชันสูตร เขายังได้วิเคราะห์ไตของผู้เสียชีวิต ที่ปลูกถ่ายมา พบว่า มีโครงสร้างไวรัส อยู่ในเซลล์บุผนังหลอดเลือด นักวิจัยยังพบเซลล์อักเสบ ในหัวใจ ลำไส้เล็ก และปอด ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
ผู้ป่วยอายุ 58 ปี อีกคนหนึ่ง ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน พบว่ามีภาวะขาดเลือด หรือลดการไหลเวียนของเลือดในลำไส้เล็ก ซึ่งสามารถทำลายอวัยวะได้อย่างถาวร ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบของเซลล์บุผนังหลอดเลือด (Endothelium) ที่พบในปอด หัวใจ ไต และตับ
การค้นพบครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยคิดว่า นอกจากวัคซีน ที่จะช่วยต้านเชื้อไวรัส โควิด-19 (COVID-19) แล้ว การเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือด ก็น่าจะเป็นอีกแนวทางสำคัญ ในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ได้
ผู้ป่วยทุกคนที่มีความเสี่ยง และผู้สูงอายุ ควรได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม ในด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ยิ่งพวกเขาได้รับการรักษามากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะรอดชีวิตจากการติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ได้มากขึ้นเท่านั้น
จอห์น นิโคลส์ (John Nicholls) ศาสตราจารย์ด้านพยาธิวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ในขณะที่โครงสร้างจำนวนมากที่นักวิจัยสวิตเซอร์แลนด์ ได้ตรวจพบ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนนั้น อาจดูเหมือนคล้ายกับอนุภาคของไวรัส โควิด-19 (COVID-19) ก็จริง แต่ก็ควรใช้เทคนิคในห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสที่แท้จริงด้วย
ที่มา : scmp
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เด็กติดอีกราย! เด็ก 2 ขวบ ติดโควิดจากแม่ ที่กลับมาจากโรงพยาบาล
สุดทรมาน! หญิงสาวบอกเล่า ประสบการณ์เป็นโควิด หายใจลำบากมาก
คลอดลูก ในช่วงโควิด-19 คลอดลูกยังไงให้ปลอดภัยในช่วงไวรัสระบาด?