ผลสำรวจของการสอนลูกเรื่องเงินในเอเชียที่จัดทำโดยอีสต์สปริง อินเวสต์เมนต์ส สำรวจคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง 10,000 คน จาก 9 ประเทศในเอเชีย เพื่อดูว่าคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองในภูมิภาคนี้สอนให้ลูกรู้เรื่องเงินอย่างไร ผลการสำรวจนี้เผยให้เห็นรูปแบบการสอนลูกเรื่องเงินห้าแบบที่แตกต่างกัน โดยวัดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้แม่ผู้ปกครอง การให้ความสำคัญเรื่องการสอนลูกเรื่องเงิน และระดับความรู้เรื่องการเงินของพ่อแม่ผู้ปกครอง
นักสำรวจ
นักสำรวจเชื่อว่าประสบการณ์จริงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการให้ลูกเรียนรู้เรื่องเงิน คนกลุ่มนี้มั่นใจว่าลูกจะเข้าใจในแบบของตนเอง และต้องการคำแนะนำเพียงเล็กน้อยในการจัดการเงิน
ครึ่งหนึ่งของนักสำรวจในแบบสำรวจ เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่ได้ให้คำแนะนำเรื่องเงินอย่างเข้มงวดตั้งแต่ลูกยังเล็ก ส่วนใหญ่แล้วนักสำรวจจะบอกว่า “ไม่มีอะไรมาแทนประสบการณ์จริงได้ ลูกต้องเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก แล้วจะเข้าใจเองว่าควรจัดการเงินอย่างไร”
คนกลุ่มนี้มีวิธีสอนเรื่องเงินอย่างไร
ผลก็คือ นักสำรวจคิดว่าการเข้าไปสอนลูกเรื่องจัดการเงินอย่างใกล้ชิด หรือคอยเข้าไปขัด เพื่อแนะแนวทางพฤติกรรมการเงินของลูก เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย นักสำรวจจำนวน 78% คิดว่าการสอนลูกเรื่องเงินเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองในผลสำรวจจำนวน 95% ตอบแบบเดียวกัน
นักสำรวจส่วนใหญ่ให้ลูกมีเงินค่าขนมติดตัวไว้ แต่ก็คอยสนับสนุนให้ลูกหาเงินด้วยการทำงานเสริมด้วย เพราะคนกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นว่าประสบการณ์สามารถใช้สอนลูกได้จริง พวกเขาต้องการช่วยให้ลูกเข้าใจว่าเงินไม่ได้หามาง่ายๆ ลูกจะได้เห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น
นักสำรวจต้องการให้ลูกเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เงินซื้อได้ ผ่านประสบการณ์และสิ่งที่ประสบพบเจอ ก็ใช่ บางครั้งอาจจะเจอประสบการณ์แย่ๆ แต่นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและเรียนรู้ชีวิตจริง พวกเขาต้องการให้ลูกออกเงินเอง ซื้อของให้ตัวเอง และรู้ว่าสิ่งของแต่ละอย่างราคาเท่าไหร่
พวกเขาเชื่อว่าเมื่อลูกโตขึ้น ความเข้าใจเรื่องการเงินก็จะโตตามไปด้วย เป็นผลมาจากปัญหามากมายที่เจอในชีวิตประจำวันและสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องเจอ นักสำรวจมีแนวโน้มที่จะสอนลูกเรื่องเงินแบบเดี่ยวๆ แทนที่จะสอนเป็นคู่ผู้ปกครอง ในตอนที่ให้คำแนะนำลูกเรื่องเงิน ที่จริง นักสำรวจจำนวน 13% บอกว่า “ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นหน้าที่ใครในการสอนลูกเรื่องเงิน” เทียบกับพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมดแค่ 4% ที่บอกแบบนั้น
เป้าหมายในการสอนลูกเรื่องเงินของคนกลุ่มนี้
พ่อแม่ผู้ปกครองกลุ่มนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกจะเรียนรู้การจัดการเงินด้วยตนเอง และรู้ถึงความสำคัญของการไม่เป็นหนี้ พวกเขายังเชื่อมั่นแน่วแน่ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายนี้ คือปล่อยให้ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง
นักสำรวจก็เลยคอยสนับสนุนลูก แทนที่จะคอยชี้นำให้ลูกมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการเงินแบบใดแบบหนึ่ง มีแค่หนึ่งในสามของพ่อแม่ผู้ปกครองกลุ่มนี้ที่ให้กล่องออมเงินกับลูก (เทียบกับครึ่งหนึ่งของพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมด) และมีแค่หนึ่งในสามที่เปิดบัญชีออมเงินให้ลูก (เทียบกับครึ่งหนึ่งของพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมด)
แต่อย่างไรก็ตาม นักสำรวจส่วนใหญ่มีประกันชีวิตให้กับทั้งครอบครัว เพื่อเสริมความมั่นคงทางการเงิน แต่พวกเขามองว่าการลงทุนเสริมเพื่อลูกโดยเฉพาะ เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่
ความสำเร็จในการสอนลูกเรื่องเงิน
เนื่องจากสอนลูกแบบไม่เข้าไปยุ่ง นักสำรวจจำนวน 46% ตอบว่า “ไม่รู้” เมื่อถูกถามว่าทำหน้าที่สอนลูกเรื่องเงินได้ดีหรือเปล่า โดยเทียบกับ พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมดจำนวน 12% ที่ตอบแบบเดียวกัน และมีนักสำรวจอีก 42% บอกว่าทำสุดความสามารถ แต่ไม่แน่ใจว่ามันจะดีแค่ไหน
ที่จริงแล้ว 18% ของพ่อแม่ผู้ปกครองกลุ่มนี้บอกว่า “ไม่รู้จะวัดความสำเร็จในการสอนลูกเรื่องเงินยังไง” (เทียบกับพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมดแค่ 5% ที่ตอบแบบนี้) คนกลุ่มนี้ไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่จะใช้ตัดสินว่าลูกมีทักษะทางการเงิน ต่างกับพ่อแม่ผู้ปกครองแบบอื่นที่ดูความสำเร็จจากการที่ลูกรู้วิธีทำให้เงินงอกเงย (คิดเป็น 36% เมื่อเทียบกับ 21% ของนักสำรวจ) นักสำรวจส่วนใหญ่เชื่อว่าลูก “เติบโตอย่างปกติ” ด้วยการมีความเข้าใจด้านการจัดการเงินในชีวิตจริง เหมือนที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็น
คนกลุ่มนี้รู้เรื่องเงินมากแค่ไหน
นักสำรวจส่วนใหญ่ยอมรับว่าพวกเขาไม่ได้มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องเงิน พวกเข้าให้คะแนนความรู้ด้านการเงินของตัวเอง 4.88 จากคะแนนเต็มสิบ เมื่อเทียบกับพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหมดที่ให้คะแนนตัวเอง 7.17 เต็มสิบ
นักสำรวจไม่คิดว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินจะมีความสำคัญเท่าไรนัก และแทบไม่สนใจที่จะสอนเรื่องพวกนี้ให้ลูก พวกเขาไม่ขอคำแนะนำทางการเงินจากธนาคารหรือที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อเสริมความรู้ทางด้านการเงินให้ตนเอง หรือช่วยให้ลูกเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตด้วย เกือบหนึ่งในสี่ของนักสำรวจบอกว่า จะไม่ขอคำแนะนำทางการเงินจากใครอื่นเลย เทียบกับพ่อแม่ผู้ปกครอง 7% ที่ตอบแบบเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเป็นนักสำรวจที่สงสัยว่าพ่อแม่ผู้ปกครองคนอื่นสอนลูกเรื่องเงินยังไง ลองเข้าไปดูที่ #MoneyParenting เว็บไซต์ หรือกดรับข่าวสารจากเรา เพื่อให้ไม่พลาดข้อมูลข่าวสารล่าสุดของเรา