11 วิธีแก้ ชักโครกกดไม่ลง จบปัญหาส้วมตัน เทคนิคทำตามได้ง่าย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันนี้เรามีเคล็ด(ไม่ลับ)มาฝากคุณพ่อบ้าน แม่บ้านกันกับ 11 วิธีแก้ ชักโครกกดไม่ลง จบปัญหาส้วมตัน ด้วยเทคนิคที่สามารถทำตามกันได้ง่าย ๆ ที่บ้าน แบบไม่ต้องง้อช่าง พร้อมแล้วเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

 

ชักโครกกดไม่ลง สาเหตุ

  • พฤติกรรมการใช้โถชักโครก หากใครชอบทิ้งกระดาษทิชชู่ ผ้าอนามัย รวมถึงเส้นผม เศษขยะ หรืออาหาร เป็นสาเหตุที่ทำให้ชักโครกกดไม่กด ส้วมตัน เพราะระบายน้ำออกได้ไม่ดี จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นอกจากของเสียจากร่างกายแล้ว ไม่ควรทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ในโถชักโครก
  • คุณภาพของโถชักโครก ชักโครกที่ดี และมีคุณภาพนั้น จะออกแบบมาเพื่อให้สิ่งปฏิกูลให้ไหลลงได้อย่างง่ายดาย ถูกสุขลักษณะ และไม่เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมระหว่างรอยต่ออีกด้วย จึงแนะนำควรเลือกชักโครกที่ผลิตจากวัสดุ เซรามิก เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน และทำความสะอาดง่าย
  • การติดตั้งชักโครก หากมีการติดตั้งที่ดี จะสามารถช่วยป้องกันปัญหาส้วมตัน ซึ่งท่อระบายอากาศที่ดี ควรติดตั้ง ท่ออากาศรูปตัว T จะทำให้ระบายน้ำ และระบายสิ่งปฏิกูลให้ไหลลงได้อย่างง่ายดาย

 

11 วิธีแก้ ชักโครกกดไม่ลง

1. ไม้แขวนเสื้อ

แต่ควรเลือกไม้แขวนเสื้อที่ยืดได้และมีพลาสติกหุ้มเพื่อป้องกันไม่ให้ขูดโถชักโครกเป็นรอยได้ เริ่มจากยืดไม้แขวนเสื้อออกให้เป็นเส้นลวดยาวปลายโค้งงอ จากนั้นใช้ส่วนที่โค้งดันลงไปในรูชักโครก เพื่อเขี่ยหรือดันสิ่งที่อุดตันอยู่ให้ไหลลงไปในท่อ จากนั้นลองกดชักโครกเพื่อทดสอบ

 

2. แปรงขัดห้องน้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เริ่มจากใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวหาได้ข้าง ๆ โถชักโครก นำฝั่งที่เป็นขนแปรงกดลงไปในรูชักโครกด้วยความเร็วและแรง จนสิ่งที่อุดตันชักโครกอยู่หลุดออก

 

3. แรงดันน้ำ

วิธีง่าย ๆ เพียงเตรียมน้ำประมาณ 10 – 15 ลิตร แล้วยกขึ้นสูง ๆ เพื่อให้การเทน้ำเกิดแรงดันปริมาณมาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีแก้ชักโครกกดไม่ลง

4. น้ำร้อน

วิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่ชักโครกไม่อุดตันมากหรือมีของแข็งติดท่อ การราดด้วยน้ำร้อน แต่ระวังไม่ใช้น้ำเดือดเพราะอาจทำให้ชักโครกแตกร้าวได้ โดยน้ำร้อนประมาณ 1 แกลลอน (10-12 ถ้วยตวง) เทใส่ชักโครกแล้วทิ้งเอาไว้ 2-3 นาที เพื่อรอให้น้ำร้อนเข้าไปสลายคราบไขมันที่เกาะตามผนังท่อระบาย แล้วลองกดน้ำทิ้งดูว่าชักโครกกลับใช้งานได้ตามปกติแล้วหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. น้ำยาล้างจาน

น้ำยาล้างจาน หรือสามารถใช้ยาสระผม สบู่แทนได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับชักโครกที่ไม่อุดตันมาก โดยทำได้ง่าย ๆ เพียงบีบน้ำยาล้างจานปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 15 – 30 นาที หรืออีกวิธีคือบีบน้ำยาล้างจานแล้วเติมน้ำร้อนตามลงไปประมาณ 1 แกลลอน ปล่อยทิ้งไว้สัก 4-5 นาที เพื่อขจัดคราบสิ่งอุดตันสิ่งสกปรกต่าง ๆ จะค่อย ๆ สลายลงไป

 

6. ใช้เทปกาว

เมื่อน้ำภายในโถชักโครกยุบตัวลงไป นำเทปกาว หรือ พลาสติกแรปมาปิดปากโถชักโครกที่แห้งสนิท โดยปิดให้สนิทรูรั่วหรืออากาศเล็ดลอดออกมาได้ จากนั้นกดชักโครก จะทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาดันอากาศที่อยู่ใต้เทปกาวที่ติดไว้ให้นูนหรือปูดขึ้นมา ให้ใช้ฝ่ามือค่อยกดและดันเบา ๆ แรงดันอากาศจะช่วยผลักสิ่งที่อุดตันภายในท่อให้หลุดออกไป ทำซ้ำ ๆ แบบนี้อีก 1-2 ครั้ง ให้แน่ใจแล้วกดชักโครกเพื่อไล่สิ่งอุดตันตามไปอีกครั้ง จึงแกะเทปกาวออกได้

 

7. แมกนีเซียมซัลเฟต หรือ ดีเกลือฝรั่ง

หากใช้น้ำยาล้างจานแล้วยังไม่ได้ผล แนะนำให้ลองดีเกลือฝรั่ง (epsom salts) หรือสบู่แช่ตัว (bath bomb) เทใส่ในโถส้วม จะช่วยแก้ปัญหากดชักโครกไม่ลงได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. งูเหล็ก

งูเหล็ก หรือ เหล็กทะลวงท่อ เป็นอุปกรณ์ใช้แก้ปัญหาท่อตันโดยเฉพาะ ใช้ส่วนที่โค้งดันลงไปในรูชักโครก ค่อย ๆ หมุน เพื่อให้สิ่งที่อุดตันท่อหลุดออกไป จากนั้นกดชักโครกเพื่อไล่สิ่งสกปรกให้ออกไป

 

9. โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์

โซดาไฟ ไม่ใช่เบกกิ้งโซดา หากใครเคยใช้น้ำยาล้างจานแล้วยังไม่ได้ผลแนะนำให้ลองโซดาไฟค่ะ เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนที่รุนแรงกว่า แต่ต้องระมัดระวังในการใช้งานควรใส่ถุงมือ แว่นตาป้องกัน โดยนำน้ำปริมาณครึ่งถัง ใส่โซดาไฟลงไปประมาณครึ่งถุง ละลายให้เข้ากัน แล้วเทลงในโถชักโครก ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาที จากนั้นลองกดน้ำทิ้ง

 

10. สารฟอกขาว น้ำยาซักผ้าขาว

มีสรรพคุณคล้ายน้ำยาล้างจาน ช่วยทำความสะอาด ขจัดคราบสิ่งสกปรก โดยใส่น้ำยาซักผ้าขาวลงในโถชักโครกประมาณ 1 – 2 ฝา และปล่อยทิ้งไว้สักพัก แล้วราดน้ำลงไป

 

11. เบกกิ้งโซดาหรือน้ำส้มสายชู 

อัตราส่วนใส่เบกกิ้งโซดาลงไปในชักโครก 1 ถ้วยตวง ตามด้วยน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที จากนั้นใส่น้ำร้อนตามลงไป แล้วลองกดน้ำทิ้ง ชักโครกจะสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับเทคนิคเคล็ดลับงานบ้านดี ๆ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ทุกคนนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกัน และครั้งหน้าเราจะมีเคล็ดลับงานบ้านดีอะไรมาฝากกันอีกรอติดตามชมกันได้เลยค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

น้ำยาถูพื้น เลือกยังไงให้เหมาะกับพื้นบ้าน ?

15 วิธีไล่หนู กำจัดหนูในบ้านยังไงให้ไม่ต้องรู้สึกบาป!

10 อันดับน้ำยาถูพื้น น้ำยาถูพื้นยี่ห้อไหนดี เลือกยังไงให้เหมาะกับพื้นผิวบ้าน

ที่มาข้อมูล : 1 , 2

บทความโดย

Suchanya Dheerasunt